pearleus

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2560

*ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล

เมื่อ 2 ม.ค.'ปีใหม่ ๒๕๖๐'ได้ลงบทความพิเศษทางวิชาการหอสมุดดำรงราชานุภาพหน้าเฟสบุ๊ค ไว้หน้าอ่านมาก จึงนำมาลงให้ท่านๆได้อ่านกัน*ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล
  ข้าพเจ้าจำได้เมื่อครั้งยังเป็นเด็กนักเรียนตั้งแต่บ้านเมืองไทยมีความร่มเย็นเป็นสุข ผู้คนมีความรักสมัครสมาน เราทุกคนในสังคมจะมีความรักความเกรงใจต่อกันและกัน ไม่เคยแบ่งแยกหรือแตกแยก แม้ผู้ใหญ่ทั้งหลายก็จะมีความเมตตากรุณาแก่ลูกหลานทั้งสิ้น ทำอะไรผิดหรือไม่เหมาะไม่ควร ท่านจะเมตตาอบรมสั่งสอน ไม่ถือโทษโกรธใคร และในฐานะเด็กก็ต่างล้วนมีความเคารพและเกรงอกเกรงใจผู้ใหญ่กันอย่างมาก จำได้ว่ามีศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นเคยกล่าวกับข้าพเจ้า เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษา ณ กรุงโตเกียว ว่าแลเห็นชาวญี่ปุ่นเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตนกันมากมาย แต่ท่านมองว่าชาวไทยมีมากกว่าเสียด้วยซ้ำ เอกลักษณ์ของชนชาติไทยช่างมีความงดงาม ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน ข้าพเจ้าฟังแล้วมีความภาคภูมิใจ แม้วันเวลาดังกล่าวจะผ่านพ้นไปแล้วเนิ่นนาน

ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า การที่ประเทศชาติและบรรพบุรุษไทยสามารถดำรงรักษาแผ่นดินนี้มาได้ ก็ด้วยเอกลักษณ์แห่งความดีงามของชนชาติไทยที่มีความหมายต่อลูกหลานเหลนไทยมาช้านานมาก จนกระทั่งกลับกลายเป็นประเพณีนิยมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ อันไม่เคยถูกลืม และไม่มีวันล้าสมัยไปจากใครผู้ใด นอกจากลูกหลานไทยจะจดจำและปฏิบัติให้ได้เฉกเช่นท่าน เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาติบ้านเมือง

ธรรมเนียมการไหว้ การแสดงความเคารพ ความสุภาพอ่อนน้อม การเดินผ่านผู้อาวุโส ครูอาจารย์ แล้วย่อตัวหรือก้มต้ว การพูดจาด้วยน้ำเสียงที่มีความไพเราะ เช่นการใช้อักขระของภาษาที่ถือเป็นวิชาการทางศิลปศาสตร์ชั้นเยี่ยม หรือแม้แต่การพูดภาษาต่างประเทศด้วยความระมัดระวัง ถูกต้องตามหลักภาษาในทุกกระบวนวิธีการใช้ แต่ความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก ก็ด้วยความใส่ใจของเราคนไทย ที่จะคำนึงถึงความถูกต้อง คือ ความไม่ผิดพลาดเป็นสำคัญ คนไทยจะมีเอกลักษณ์สำคัญประจำชาติอีกประการหนึ่ง ได้แก่ เมื่อใช้ภาษาต่างประเทศ ต่างล้วนพูดและเขียนด้วยความตั้งใจและไพเราะ แต่เมื่อใช้ภาษาไทยก็จะเป็นเช่นนั้น จะไม่พูดในลักษณะผสมปนเปอย่างฟุ่มเฟือย หรือพูดไทยคำฝรั่งคำ ที่จะทำให้หลักการใช้ภาษาผิดแผกไปจากหลักการใช้ภาษาที่ถูกต้อง และกลายเป็นการทำลายล้างศิลปะของการใช้ภาษาที่มีวัฒนธรรมสืบสานมาหลายชั่วคน

ชนชาติไทยถือเป็นชาติที่รักความสงบ ความรู้รักสามัคคี ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงควรที่ทุกผู้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะลูกหลานเยาวชน ครูอาจารย์ จะได้ร่วมกันประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่สังคม ที่กลับกลายเป็นกำลังใจที่จะเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ทั้งหลาย ว่าลูกหลานต่างล้วนประพฤติปฏิบัติได้เป็นอย่างดีและมีความสมัครสมาน เพื่อที่ความห่วงใยทั้งหลายจะได้สูญสิ้นไปได้มาก พร้อมๆ กับการเร่งรัดพัฒนาความเจริญเติบใหญ่ทั้งทางกายภาพ ความรอบรู้ทางวิชาการ กับอีกวิจารณญาณอันถือเป็นวุฒิภาวะและความรับผิดชอบอันมีความพร้อมที่ลูกหลานเยาวชนพึงมี ในการนี้ สังคมทางการศึกษาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งส่งเสริมและสร้างเสริมบูรณภาพของชาติทั้งในเรื่องเอกลักษณ์ของชาติว่าด้วยความสามัคคี และจริยธรรมของชนชาติไทยให้กลับคืนสู่ความเป็นประเทศที่มีหลักคุณธรรมในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน ให้ทดแทนสิ่งที่สังคมไทยได้ถูกทำลายล้างในเรื่องดังกล่าวไปเมื่อกว่าสิบปีก่อนอย่างน่าเสียดาย อันสืบเนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว และความไม่จริงใจของผู้มีอำนาจหน้าที่ทางการบริหาร

ในทางกลับกัน ประชาชนชาวไทยมีโชคอันใหญ่หลวงที่มีองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวทางจิตใจ แนวทางการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน พัฒนาการทางการศึกษาการเรียนรู้ของมนุษยชาติ ปรัชญาการครองตน และครองงาน ให้ได้แคล้วคลาดปลอดภัย มีความสุขความเจริญมาโดยตลอดเวลาอันยาวนานมาก

จึงถือเป็นวาระสำคัญของคนในชาติ ครูอาจารย์ ลูกหลานเยาวชน จะได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวฉลองพระมหากรุณาธิคุณ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ด้วยการสืบสานพระราชปณิธาน เดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ร่วมกันเสริมสร้างโรงเรียนคุณธรรม ที่จะกลับกลายเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศไทยคุณธรรม ที่เราทุกคนรักและหวงแหน สมดั่งพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านสืบไป.

*บทความพิเศษทางวิชาการ หอสมุดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดย หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานพิพิธภัณฑ์วังวรดิศและหอสมุดสมเด็จฯ กรมพระยาด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น