pearleus

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564

บางน้ำจืด…พร้อม จ่ายเอง ซื้อวัคซีนต้านโควิท นายกอ๋อย ฯ ชัดเจน ‘ผมมีตังค์’

    

ถึงตอนนี้การระบาดรอบใหม่ของไวรัสโคโรนา หรือโควิท – 19 ก็ยังคงรุกรามอย่างต่อเนื่อง สายพันธุ์เดิมยังเอาไม่ค่อยจะอยู่ สายพันธุ์ใหม่ก็พัฒนาตัวเองขึ้นมาเหมือนแกล้งกัน การระบาดครั้งนี้ใหญ่กว่าเดิมและกระจายไปทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทย ศูนย์กลางการระบาดถูกระบุว่าเกิดขึ้นในจังหวัดสมุทรสาคร ในตลาดกุ้งกลางเมืองมหาชัย ซึ่งแน่นอนว่าผลสุดท้ายเมืองประมงแห่งนี้ก็ต้องถูก ‘ล๊อกดาวน์’ เพราะป้องกันการแพร่กระจายไปในวงกว้าง
ในส่วนของจ.สมุทรสาครเองได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง สถานที่หลายแห่งต้องปิด ให้บริการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ในขณะนี้หลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างระดมสรรพกำลังในการบริหารจัดการอย่างเร่งด่วน มีการสร้างรพ.สนามขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วจังหวัด เพราะทำการกักตัวและบำบัดผู้ที่ติดเชื้อ
ต.บางน้ำจืด ก็ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ในจ.สมุทรสาคร ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดครั้งนี้ ซึ่งแม้จะไม่พบผู้ติดเชื้อมากเหมือน พื้นที่อื่น แต่สำหรับ ‘นายก อ๋อย’ หรือ ดร.สุบรรณ มานะวิทยาการ ในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด ก็เข้ามาดูแล และกำกับ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในพื้นที่ต.บางน้ำจืด ซึ่งมีมาตรการและแนวทางที่เข้มข้น ไม่ด้อยไปกว่าบรรดาพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงเลย ซึ่งหนึ่งในมาตรการเตรียมความพร้อมในการป้องกันที่ถือว่า เป็นความกล้าและฉีกกรอบในการแก้ปัญหาของนายกอบต.ท่านนี้ก็คือ เสนอให้ท้องถิ่นที่มีความพร้อมด้านการเงิน สามารถจัดซื้อวัคซีนมาฉีดให้กับคนในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อความรวดเร็วในการป้องกันไวรัสโควิท – 19 ทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลที่ต้องหากู้เงินจำนวนมากมาซื้อวัคซีนให้เพียงพอสำหรับคนทั้งประเทศ

อย่างที่ทราบกันดีว่าขณะนี้ประเทศไทยกำลังดำเนินการจัดซื้อวัคซีน แต่เมื่อดูจากไทม์ไลน์ หรือกำหนดเวลาการจัดซื้อและฉีดให้ประชาชนแล้ว อาจจะใช้เวลาถึงปีหน้ากว่าที่คนไทยจะได้รับวัคซีนครบทั้งประเทศ
ทีมชี้ชัดเจาะลึก ฯ ได้ติดต่อเข้าพูดคุยกับ นายก อ๋อย หรือ ดร.สุบรรณ มานะวิทยาการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด เพื่อสอบถามถึงแนวคิดที่จะให้ชาวต.บางน้ำจืด ได้รับวัคซีน โดยใช้ ‘เงินสะสม’ ที่อยู่ในบัญชีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืดที่ตนเองดูแลอยู่
‘ผมมีตังค์’ นี่คือประโยคแรกที่เรายิงคำถาม นายก อ๋อย ว่า อะไรเป็นมูลเหตุที่ลุกขึ้นมาประกาศความพร้อมที่จะใช้เงินของอบต.บางน้ำจืด ซื้อวัคซีนต้านโควิท เพื่อฉีดให้กับคนบางน้ำจืดทั้งตำบล ก่อนจะขยายความว่า ไม่ได้มีวาระอะไรแอบแฝง นอกเหนือจากความรวดเร็วและแบ่งเบาภาระของรัฐบาล
นายก อ๋อย เล่าให้เราฟังถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิท -19 ในต.บางน้ำจืดว่า ที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อในพื้นที่เพียง 2 ราย ซึ่งก็ได้รับการรักษาตามมาตรฐานที่โรงพยาบาลแล้ว ส่วนการป้องกันก็ทำเท่าที่ศักยภาพของหน่วยงานท้องถิ่นสามารถทำได้ อาทิ การนำรถพ่นน้ำฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรค ตามสถานที่ ๆ เป็นแหล่งชุมชนทั้งตลาด หอพัก วัด โรงเรียน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ ซึ่งบางครั้งก็ต้องควักเงินส่วนตัวเสียด้วยซ้ำ
“บางครั้งรถน้ำฉีดพ่นไม่ทั่วถึงหรือไม่ทันการ ผมก็จ่ายส่วนตัวซื้อรถพ่นยาและสารเคมีเอง เนื่องจากไม่อยากรบกวนงบประมาณของอบต.ที่ใช้จ่ายไปแล้วค่อนข้างมากแล้ว อีกอย่าง หน่วยงานที่ตรวจสอบก็ไม่อนุมัติให้จัดซื้อด้วย ” นายก อ๋อย กล่าว
อย่างไรก็ตามการดำเนินการข้างต้นก็เป็นเพียงการแก้ปัญหาชั่วคราว และไม่สามารถรับประกันการไม่แพร่ระบาดได้ ส่วนเรื่องการเยียวยานั้น นายก อ๋อย เห็นว่า เท่าไหร่ก็ไม่พอ ทั้งยังไม่ทั่วถึงและไม่เป็นธรรม แต่การป้องกันการแพร่ระบาดที่ยั่งยืน ก็คือ การฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิท ซึ่งขณะนี้ในภาครัฐบาลก็เร่งดำเนินการจัดหาจัดซื้อ แต่ก็ยังไม่ได้ในเร็ววัน
และเมื่อดูจากเงื่อนไขเวลาของการได้รับวัคซีน กว่าจะได้ครบทั่วประเทศ อาจจะต้องใช้เวลาจนถึงปลายปีหรือต้นปีหน้า
นายก อ๋อย เล่าให้เราฟังถึงแนวทางการใช้เงินสะสมของท้องถิ่นซื้อวัคซีนฉีดให้คนในพื้นที่ว่า สามารถทำได้อย่างทันที ซึ่งรวดเร็วและแบ่งเบาภาระรัฐบาลส่วนกลางด้วยซ้ำ ขอเพียงมีการออกกฎระเบียบขึ้นมาให้ชัดเจนว่า ท้องถิ่นสามารถกระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ทั้งนี้ในส่วนของต.บางน้ำจืดนั้น มีเงินสะสมมากขึ้น 350 กว่าล้านบาท ก็ถือว่าเพียงพอสำหรับฉีดคนในพื้นที่ทั้งหมด
“วัคซีน 1 คน ใช้ 2 โดรส คิดเป็นหัวละ 1000 บาท ถ้าฉีดคนบางน้ำจืดทั้งหมด จะใช้เงินประมาณ 200 กว่าล้าน ยังเหลืออีกตั้ง 100 กว่าล้าน ยังสามารถเอาไปช่วยเหลือท้องถิ่นอื่นอีกก็ได้” นายก อ๋อย ตอกตัวเลขคร่าว ๆ ให้เราเห็นภาพ
อย่างไรก็ตามนายก อ๋อยบอกว่า นี่เป็นเพียงไอเดียหรือแนวความคิด ซึ่งตนเองมั่นใจว่า จะสามารถแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิท ได้อย่างชะงัก ขอเพียงแค่ภาครัฐไฟเขียวและออกกฎระเบียบมาให้ชัด ไม่ใช่ว่าพอทำไปแล้ว ก็มีหน่วยงานตรวจสอบมาบอกทีหลังว่าผิดกฎหมาย
“ เรื่องโควิทเป็นวิกฤติชาตินะครับ เป็นกันทั่วโลก เราต้องบูรณาการร่วมกัน ไม่ใช่ผมทำก็จะมองว่าท้องถิ่นคอรัปชั่นอย่างเดียว เรื่องนี้ทำได้ เพียงให้มีช่องทาง มีระเบียบรองรับ ไม่ผิดกฎหมาย” นายก อ๋อย กล่าว
นายก อ๋อย ยังเสริมอีกว่า ถ้าจะมีการนำเงินสะสมไปใช้ซื้อวัคซีนแล้ว ถ้าไม่อยากให้เกิดการครหาเรื่องคอรัปชั่น ก็พร้อมที่จะมอบให้หน่วยอื่นที่รับผิดชอบรับไปดำเนินการเลย ท้องถิ่นให้เงินอย่างเดียว ตัดตอนกันไปเลย ส่วนท้องถิ่นไหนที่ไม่มีเงินหรือเงินน้อย ก็ให้รัฐบาลจ่ายแทน หรือจะโยกเงินส่วนที่เหลือจากซื้อวัคซีนจากของท้องถิ่นที่มีเงินมากอย่างต.บางน้ำจืด ก็สามารถทำได้ ซึ่งตนเองก็พร้อมที่จะแบ่งปันเสมอ เพราะอย่างไรเสีย เงินตรงนี้ก็เป็นงบประมาณแผ่นดินที่ทุกคน ทุกหน่วยงานมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะใช้อยู่แล้ว
และนี้ก็คือ ไอเดีย แนวคิด ที่แสดงถึงความใจกว้างของผู้นำท้องถิ่น อย่างนายก อ๋อย ที่มีวัยทัศน์ มีแนวคิดนอกกรอบ ความชัดเจนทั้งแนวทางและเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา ซึ่งไอเดียนี้จะได้รับการตอบรับหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจที่สูงขึ้น ว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ได้ก็คือ ประชาชนรอด ไม่รับข้อเสนอ ก็หาแนวทางกันตามที่เชื่อกันต่อไป
และนี้ก็ถือแนวคิดแก้โควิทของ นายก อ๋อย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด ที่กล้าคิด และพร้อมจะลงมือทำ เพื่อแก้ปัญหาใหญ่ของชาติ ซึ่งทีมงานชี้ชัดเจาะลึกคงไม่มีอะไรทิ้งท้ายที่จะบ่งบอกตัวตนของท่านดีไปกว่าประโยคแรกที่เจอกันครั้งแรกว่า ‘ผมมีตังค์’

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2564

191 บุกทลายโกดังถุงมือยางแพทย์เถื่อน ยึดกว่า 2 ล้านชิ้นไร้มาตรฐาน

 


                                    

 

                                   กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนว่ามีการลักลอบผลิตและซุกซ่อนถุงมือยางทางการแพทย์ที่ใช้แล้วนำกลับมาแพ็คเกจจำหน่ายใหม่ในพื้นที่ กทม. และ ปริมณทล จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการสืบสวนทราบว่าโกดังเลขที่ B ๗๐/๑ ลำลูกกา
จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่ซุกซ่อนและผลิตถุงมือทางการแพทย์ดังกล่าว จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานและขอหมายค้น
จนกระทั่งวันที่ 9 ม.ค.64 ได้ทำการตรวจค้นโกดังดังกล่าวพบของกลาง  ถุงมือยางแพทย์จำนวนประมาณ 2,064,000 ชิ้น กล่องบรรจุภัณฑ์ถุงมือยางจำนวนประมาณ 120,000 กล่อง, เครื่องซีลพลาสติก จำนวน 1 เครื่อง, เครื่องชั่งดิจิตอลจำนวน 2 เครื่อง จากพยานหลักฐานทำให้ทราบว่าโกดังดังกล่าวเป็นสถานที่ผลิตเก็บถุงมือยางทางการแพทย์ที่ใช้แล้วจริง ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ฐานไม่จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์และฐานผลิตซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อสืบสวนและ
ออกหมายเรียกผู้กระทำความผิดมารับทราบข้อกล่าวหาและสืบสวนหาแหล่งที่มาอีกครั้ง  และได้ทำการตรวจยึดของกลางตามรายการดังกล่าวข้างต้นไว้เป็นหลักฐาน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป





                           

 

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564

บุคลากรทางการแพทย์ รพ.พะเยา ยกทีมเข้าปฎิบัติงาน ศูนย์ห่วงใยคนสาคร สนามกีฬาจังหวัดสมุทรสาคร


 


             ทีมบุคลากรทางการแพทย์ รพ.พะเยา ที่มาปฏิบัติงาน ศูนย์ห่วงใยคนสาคร สนามกีฬาจังหวัดสมุทรสาคร เล่าถึงความในใจว่า พวกเรา คือ ทีม MERT เราต้องปฎิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงอยู่แล้ว และถามว่าสถานการณ์โควิด - 19 คือ ทุกที่เสี่ยงหมด

การปฏิบัติงานของพวกเรา ต้องคำนึงเสมอว่า เราต้องปลอดภัยเพราะพวกเราใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุด ทุกอย่าง ทุกขั้นตอน ต้องทำให้เป็นมาตรฐานตามที่กระทรวงมากที่สุด

เมื่อถามว่า หลายคนกลัวสมุทรสาคร แล้วทีมแพทย์ รพ.พะเยา ไม่กลัวหรือที่ลงมาที่นี่ พวกเค้าบอกว่า มันเสี่ยงทุกที่แหละ แต่การมาที่นี่เราได้ช่วยคนที่ติดเชื้อ เพื่อรักษาพวกเค้าให้หาย แล้วเราก็อธิบายคนทางบ้านให้เข้าใจว่า สมุทรสาคร ไม่ได้น่ากลัว

ทั้งนี้ทีมแพทย์ รพ.พะเยา ได้แก่ คุณจิรัญญา วงค์สวัสดิ์ เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

คุณผ่องพรรณ คำมี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ พญ.เอม สิรวราภรณ์ นายแพทย์ชำนาญการ สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และคุณทิพย์สุดา กล้าหาญ เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์

 

ข้อมูลจากสนง.ปชส.จ.สมุทรสาคร

เสธ.ทหาร / เสธ.ศปม. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมจ.สมุทรสาคร

 

เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2564  พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เสธทหาร นำคณะประกอบด้วย พล.ท.ชิดชนก นุชฉายา จก.ยก.ทหาร พล.ต. จักรพวษ์ จันทร์เพ็งเพ็ญ ผอ.สปก.ยก.ทหาร โดยมี นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์. รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง. รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ให้การรับรองและรายงานความคืบหน้าต่าง ๆ

             ทั้งนี้พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม ได้เข้ารับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิท 19  จากนั้นได้เดินทางไปดูจุดตรวจร่วมปั้ม ปตท. พุทธสาคร และจุดตรวจร่วมหน้าปั้มน้ำมัน PT พระราม 2 ด้วย






ผอ.รพ.บ้านแพ้ว ลงให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ศูนย์ห่วงใยคนสาคร วัฒนา แฟกตอรี่

 

เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 9 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมานพ.พรเทพ พงศ์ทวิกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ลงพื้นที่ศูนย์ห่วงใยคนสาคร วัฒนา แฟกตอรี่ ให้กำลังใจทีมบุคลากรโรงพยาบาลบ้านแพ้วและทีมงานทุกท่าน





 

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564

วัดพระปฐมเจดีย์ ตั้งโรงทานดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

 



พระเดชพระคุณพระพรหมเวที เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จัดตั้งโรงทานดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 เรื่มวันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2564 เวลา 11.30 น. ณ บริเวณซุ้มจริยธรรม องค์พระปฐมเจดีย์ วันละ 500 ชุด

บช.น. ลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา

 

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา ศุกร์ที่ 8 ม.ค.63 เวลา 10.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดย พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. พร้อมด้วย พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผบช.น., พล.ต.ต.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย รอง ผบช.น., พล.ต.ต.สหรัฐ ศักดิ์ศิลปชัย รอง ผบช.น. และ พล.ต.ต.สำราญ นวลมา รอง ผบช.น.  ร่วมลงนามถวายพระพร ณ วังศุโขทัย/















สตช. ก้าวไกลผุดโครงการ ‘นัดหมายแจ้งความล่วงหน้า ผ่านระบบออนไลน์’

 

วันพฤหัสบดีที่ 7 ม.ค.63 เวลา 13.00 น. พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้จัดโครงการ " มอบของขวัญปีใหม่   2564 ตำรวจไทยแด่ประชาชน " โดยได้เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ "นัดหมายแจ้งความล่วงหน้า ผ่านระบบออนไลน์ " เพื่อบริการประชาชนด้านอำนวยความยุติธรรม โดยมี พล.ต.อ.ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร รอง ผบ.ตร., พล.ต.อ.ปิยะ อุทาโย รอง ผบ.ตร. , พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตา ผบช.น.,  ร่วมพิธีเปิด โดยมีคณะ กต.ตร. บก.น. 1 และ บก.น.6 ร่วมมอบกระเช้าแสดงความยินดี ณ สถานีย่อยสยามสแควร์ (จตุรัส) สน.ปทุมวัน  

             ทั้งนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดทำโครงการ     นัดหมายแจ้งความล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการบริการประชาชน ให้มีความสะดวกรวดเร็ว           โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ผ่านทางเว็บไซต์ www.onlinebureausystem.com ซึ่งในการนัดหมายแจ้งความล่วงหน้าที่ สน.ปทุมวัน สน.บางรัก และ สน.ลุมพินี สามารถแจ้งความได้ทุกข้อหา และสามารถระบุเวลานัดหมายได้ ตั้งแต่ 09.00 น. - 19.00 น. โดยระบบหรือเจ้าหน้าที่จะติดต่อตอบรับภายใน 24 ชั่วโมง

 














บช.น. รวบผู้ต้องหา นำศพมาทิ้ง ย่านหนองแขม

 

                                    

                          เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 เวลาประมาณ 07.00น. พบศพชายนิรนาม ไม่สวมเสื้อผ้า 
มีเพียงผ้าห่มปกคลุมร่างกาย ภายในซอยหมู่บ้านบุษรา ซอยเพชรเกษม 81 (ถนนมาเจริญ) แขวงหนองค้างพลู
เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สืบสวนสอบสวนทราบว่านายสถาปน์พงศ์ฯ พร้อมพวกรวม 2 คน ร่วมกันนำศพขึ้นรถยนต์แล้วนำมาทิ้งในที่เกิดเหตุดังกล่าว จากการสอบถามทั้งสองให้การรับสารภาพว่า ผู้เสียชีวิตคือ นายชลิตฯ อายุ 33 ปี โดยทั้ง 3 คน ได้ร่วมกันเสพยาเสพติด(ยาไอซ์) ทำให้นายชลิตฯ หมดสติเสียชีวิต จากนั้นจึงทำการตรวจค้นบ้านเลขที่ 56/7 หมู่ 2  แขวง/เขต ทวีวัฒนา กรุงเทพฯ พบยาเสพติดให้โทษ (ยาไอซ์) จำนวน 87.38 กรัม, เครื่องชั่งดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง และถุงพลาสติกสีใส ขนาดเล็ก แบบซองยา จำนวน 20 ถุง โดยกล่าวหาว่า ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษ 1 (เมทแอมเฟตามีนหรือยาไอซ์) ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายโดยผิดกฎหมายจากนั้นจึงนำส่งพนักงานสอบสวน สน.ศาลาแดง ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป




                           

 

ชาวบ้านแซ่ซ้อง ‘สมยศ สหพรอุดมการ’ นักธุรกิจตู้เย็นชาวสค. ยกที่ดิน 7 ไร่ สร้างรพ.สนามสู้โควิท – 19

 

           สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 7 ม.ค.64 มีรายงานว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ สมยศ สหพรอุดมการ ซึ่งเป็นนักธุรกิจเกี่ยวกับตู้เย็น ตู้แช่ ชาว จ.สมุทรสาคร โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า ตนยินดีให้ใช้ที่ดินย่านพระรามสองขาเข้า พื้นที่ราว 7 ไร่ สำหรับสร้างโรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  

 ข้อความระบุว่า "ผมมีที่ดินอยู่พระรามสองขาเข้า ก.ม.43 7ไร่กว่าพร้อมบ้าน พร้อมที่จะให้สร้าง ร.พ.สนามให้ใช้ฟรีมีไฟฟ้า 3 สายพร้อม 092-645-4565"

 

ซึ่งหลังจากที่โพสต์ไปก็มีคนเข้ามากดไลค์จำนวนมากกว่า 3,800 คน และมีคนแชร์โพสต์ดังกล่าวไปจำนวนมากถึง 4,700 ครั้ง และมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็น แสดงความชื่นชมเป็นจำนวนมาก

ข้อมูลจากข่าวสดออนไลน์






ศรชล. จว. สค. ร่วมกับม.เทคโน ฯ พระจอมเกล้าพระนครเหนือมอบตู้ฆ่าเชื้อ COVID-19 ให้แก่จังหวัดสมุทรสาคร

 

             เมื่อวันที่  7 ม.ค.64 เวลา  14.50น.   น.อ. เอกภาพ สายโสภา รอง ผอ. ศรชล. จว. สมุทรสาคร และกำลังพล ศรชล.จว.สมุทรสาคร ร่วมกับ กองบัญชาการกองทัพไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์) มอบตู้ฆ่าเชื้อ COVID-19 ด้วยแสงUV (UV DISINFECTION OVEN ) ให้แก่จังหวัดสมุทรสาครและ โรงพยาบาลสมุทรสาคร จำนวน 5 ชุด(เครื่อง) มูลค่ารวม 60,000 บาท เพื่อใช้ในการสนับสนุนบุคคลากรทางการแพทย์ในการใช้ฆ่าเชื้อบนหน้ากาก N-95 ซึ่งหน้ากาก N-95 ที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV  จากตู้นี้ จะสามารถนำหน้ากาก N95 กลับมาใช้ได้ถึง 10 ครั้งโดยปราศจากเชื้อโควิด-19 รวมถึงการใช้ฆ่าเชื้อในเครื่องมือแพทย์อื่นๆ   โดยมี นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และ นายแพทย์ อนุกูล ไทยถานันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรสาคร เป็นผู้รับมอบ เพื่อนำใช้สนับสนุนในทางการแพทย์ สู้ภัยโควิด-19 ต่อไป  ณ ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร