เมื่อ 13 ก.ย. 59 เวลา 00:15 น. นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการด่วนที่สุดถึงผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกแห่ง ให้เตรียมแผนปฏิบัติการ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย และดินโคลนถล่ม จากเหตุร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือง ซึ่งจะทำให้มีฝนตกหนักตั้งแต่ 13 กันยายน 59 เป็นต้นไป
ดังนั้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ที่อาจสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนได้ กระทรวงมหาดไทย จึงได้สั่งการด่วนที่สุดไปยังทุกจังหวัด ให้ดำเนินการทบทวนการจัดทำแผนปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ดินถล่ม โดยให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ให้จังหวัดกำหนดพื้นที่ปฎิบัติการให้ชัดเจน โดยให้แบ่งพื้นที่ประสบภัยหรือคาดว่าจะประสบภัยให้ชัดเจนว่าอยู่บริเวณไหน และประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ว่าจะลุกลามหรือขยายพื้นที่ต่อเนื่องไปบริเวณใดบ้าง
2. กำหนดวิธีการช่วยเหลือหรือบรรเทาภัยให้เหมาะสมสอดคล้องกับพื้นที่เกิดเหตุ เช่น พื้นราบเชิงเขาต้องเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือกรณีดินโคลนถล่มหรือพื้นที่ราบลุ่มริมแม่นำ้ต้องเตรียมเรือเป็นต้น
3.กำหนดหน่วยหรือผู้รับผิดชอบแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน ว่าพื้นที่ไหนหน่วยใดเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับหน่วยราชการภูมิภาคและส่วนกลางหรือภาคเอกชนเป็นต้น
4.เตรียมการช่วยเหลือ หรือเยียวยาให้พร้อมตลอด 24 ชม. และให้ตรงกับพื้นที่และประเภทของภัยที่เกิดขึ้นหรือจัดลำดับความสำคัญของการช่วยเหลือเช่นเตรียมน้ำเครื่องดื่ม อาหาร เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ที่จำเป็นของผู้ประสบภัย
5. ให้กำหนดตัว ผู้มีอำนาจบัญชาการหรือมีอำนาจตัดสินใจให้ชัดเจน เพื่อความรวดเร็วในการสั่งการ และอำนวยการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
6.จัดตั้งผู้รับผิดชอบในการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ชี้แจงในเรื่องต่างๆเพื่อป้องกันความสับสนในข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ต่างๆ
7. ให้รายงานแผนเตรียมความพร้อมในการปฎิบัติตามหัวข้อข้างต้นให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับรายงานในส่วนกลางทราบ และเห็นภาพของการปฎิบัติของหน่วยในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ส่วนกลางสามารถสั่งการหรือสนับสนุนหน่วยปฎิบัติในพื้นที่ได้ถูกต้องเหมาะกับสถานการณ์ในพื้นที่
ดังนั้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกั
1. ให้จังหวัดกำหนดพื้นที่ปฎิบัติ
2. กำหนดวิธีการช่วยเหลือหรื
3.กำหนดหน่วยหรือผู้รับผิ
4.เตรียมการช่วยเหลือ หรือเยียวยาให้พร้อมตลอด 24 ชม. และให้ตรงกับพื้นที่
5. ให้กำหนดตัว ผู้มีอำนาจบัญชาการหรือมี
6.จัดตั้งผู้รับผิดชอบในการสื่
7. ให้รายงานแผนเตรียมความพร้
นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้ เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอในฐานะหัวหน้าส่วนราชการภูมิภาคลงพื้นที่ดูแลประชาชนและตรวจพื้นที่เกิดเหตุด้วยตนเองเป็นประจำ ต่อเนื่อง เพื่อจะได้ประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง รวดเร็ว ทันท่วงที
ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ใดประสบอุทกภัยดินถล่มและภัยพิบัติอื่น ๆ สามารถแจ้งสายด่วนนิรภัย 1784 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น