pearleus

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

การปลูกพืชระยะสั้นที่ใช้น้ำน้อยหลังฤดูการเก็บเกี่ยว


จังหวัดสุรินทร์จัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชอายุสั้นหลังนา นายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์มีพื้นที่ทำนาส่วนใหญ่ต้องอาศัยน้ำฝน และทำนาปีละครั้ง  จากนั้นจะทิ้งนาให้ว่างเปล่าโดยไม่ใช้ประโยชน์  ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการทำนาเพียงอย่างเดียว  จังหวัดสุรินทร์จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว  เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีแหล่งอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน  และมีรายได้เพิ่มขึ้น และเนื่องจากแนวโน้มความต้องการถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  และถั่วลิสง เพิ่มขึ้น  และผลผลิตมีไม่เพียงพอ ดังนั้นจังหวัดสุรินทร์จึงจัดกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการปลูกพืชอายุสั้นหลังนา ในวันที่ 8 มีนาคม 2560  ที่บ้านกาเจาะ ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้รับทราบข้อมูลและใช้ประโยชน์จากพื้นที่นาหลังฤดูการทำนาปี ปลูกพืชผัก พืชไร่อายุสั้น โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วไว้บริโภคในครัวเรือน โดยมีเกษตรกรจากตำบลตรึม ตำบลผักไหม ตำบลยาง ตำบลขวาวใหญ่ อำเภอศีขรภูมิ ร่วมกิจกรรมรวม 300 คน โดยแบ่งเป็นสถานีที่ให้ความรู้ จำนวน 4 สถานี ได้แก่ 
สถานีที่ 1 ศูนย์บริการจัดการศัตรูพืช ดิน และปุ๋ย 
สถานีที่ 2 การผลิตพืชผักปลอดภัย
สถานีที่ 3 การผลิตพืชตระกูลถั่ว
สถานีที่ 4 การแปรรูปและถนอมอาหาร 
ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้ดำรงชีวิตผ่านวิกฤตให้ได้   โดยได้จัดทำโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการปลูกพืชอายุสั้นหลังนา และบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร  โดยเร่งรัดการผลิตและขยายพื้นที่ปลูกพืชไร่  พืชผักที่มีลู่ทางการตลาดที่ดีโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว   มีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสม  เพื่อให้ได้ผลผลิตบริโภคและจำหน่าย  เป็นการสร้างรายได้  ช่วยให้เกษตรกรดำรงชีพอยู่ได้แบบพอเพียง และมั่นคง ช่วยลดการเผาตอซังข้าว  เป็นการลดมลภาวะทางอากาศ  ที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม  
ส่วนต้นพืชหลังเก็บเกี่ยวแล้วไถกลบ  เมื่อถึงฤดูทำนาปกติ  ให้ประโยชน์เป็นปุ๋ยพืชสด  ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการบำรุงต้นข้าว  เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน  สามารถปรับความอุดมสมบูรณ์ของดิน  ช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้
นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วยังตรึงไนโตรเจนในดิน เมื่อปลูกข้าวที่เป็นพืชหลัก จะมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาบำรุง ทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก  











0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น