pearleus

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ธนชาตรังสรรค์ปฏิทินประวัติศาสตร์พร้อมฉายภาพยนตร์

เมื่อ  27  ธันวาคม  2559ธนชาตรังสรรค์ปฏิทินประวัติศาสตร์พร้อมฉายภาพยนตร์ได้ด้วยแอปพลิเคชัน AR Code
ชุด ๙ ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา ผลงานภาพเขียนและประพันธ์บทอาเศียรวาทโดยศิลปินแห่งชาติ
น้อมรำลึกถึงรัชกาลที่ ๙ และเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ ๑๐

กลุ่มธนชาตรังสรรค์ปฏิทินฉายภาพยนตร์ได้ ประจำปี ๒๕๖๐ ชุด ‘๙ ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา  น้อมรำลึกแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ล้ำสมัยด้วยเทคโนโลยี AR Code       ให้รับชมภาพยนตร์พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ ๙ ผ่านแอปพลิเคชัน Layar        โดยได้รับเกียรติจากศิลปินแห่งชาติ “เปี๊ยก โปสเตอร์” ร่วมเขียนภาพพระบรมสาทิสลักษณ์อันล้ำค่า และ      “อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์” ประพันธ์บทอาเศียรวาท

นายวิชา กุลกอบเกียรติ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารและบริหารแบรนด์ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปฏิทินกลุ่มธนชาตประจำปี ๒๕๖๐ ชุด ‘๙ ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา’ จัดทำขึ้นเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ ผู้ทรงคุณอันประเสริฐต่อพสกนิกราวไทย ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย ยังความวัฒนาสถาพร และความมั่นคงเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง  และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ         บดินทร   เทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่กลุ่มธนชาตจะได้ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ทรงคุณค่า น่าจดจำ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงออกถึงความจงรักภักดีตราบนิจนิรันดร์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ปฏิทินชุดนี้มีความพิเศษในการนำเสนอภาพยนตร์ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยในรูปแบบมัลติมีเดีย AR Code เพียงแค่สแกนภาพบนปฏิทินด้วยสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต โดยใช้แอพลิเคชัน Layar ก็จะสามารถรับชมภาพยนตร์   พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผ่านภาพวาดพระบรมสาทิสลักษณ์สีน้ำมันอันวิจิตรของ อ.สมบูรณ์สุข นิยมศิริ (เปี๊ยก โปสเตอร์) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปี ๒๕๕๘ และการประพันธ์บทอาเศียรวาทอันล้ำค่าโดย อ.เนาวรัตน์      พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี ๒๕๓๖ และกวีรางวัลซีไรต์ ประจำปี ๒๕๒๓ พร้อมการประพันธ์คำอธิบายภาพโดย นายอธิชนัน สิงหตระกูล เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาศิลปวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๕๗ จึงนับเป็นการผสมผสานอย่างลงตัวของความงดงามด้านวิจิตรศิลป์ วรรณศิลป์ ในรูปแบบของปฏิทินที่งดงามและมีคุณค่าทางจิตใจ ส่งต่อคุณค่าผ่านกาลเวลาด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อเทิดทูนดำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์    อันเป็นที่เคารพยิ่ง”

อ.สมบูรณ์สุข นิยมศิริ (เปี๊ยก โปสเตอร์) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์) ประจำปี ๒๕๕๘ เผยความรู้สึกที่ได้บรรจงเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ในปฏิทิน ชุดนี้ว่า “ถือเป็นสิริมงคลของชีวิตอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการรังสรรค์ผลงานภาพเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โดยได้ร่วมกับลูกศิษย์บรรจงเขียนภาพด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และตลอดการเขียนภาพจะมีความสุขและอิ่มใจอย่างมาก”
“เชื่อว่าปฏิทินธนชาตประจำปี ๒๕๖๐ ชุด ‘๙ ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา’ จะเป็นหนึ่งในบันทึกประวัติศาสตร์ ที่จารึกเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในทุกช่วงพระชนมพรรษา และเพื่อเฉลิมฉลองการขึ้นทรงราชย์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งจะเป็นปฏิทินที่มีคุณค่าทั้งทางกาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีคุณค่าทางจิตใจกับมหาชนชาวสยามไปตลอดกาลนายวิชา กล่าวปิดท้าย

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับบรรณาธิการ

            การรับชมภาพยนตร์ด้วยเทคโนโลยี AR หรือ Augmented Reality คือเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง ช่วยให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจในการรับชมข้อมูลทั้งภาพและเสียงมากยิ่งขึ้น และยังเป็นเทคโนโลยีที่กำลังพลิกโฉมหน้าให้กับสื่อยุคใหม่ให้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้งานได้อย่างเต็มความรู้สึกมากขึ้นในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟมีเดีย (Interactive Media) โดยแท้จริง ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถใช้งานได้บนสมาร์ทโฟนทั้งระบบ iOS หรือ Android เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Layar จากนั้นสแกนไปที่ภาพในปฏิทินจะปรากฏภาพยนตร์ขึ้น

***********************************************************************













                      

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น