รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้
ประสบกับความแห้งแล้ง น้ำไม่เพียงพอต่อการสนับสนุ
ขณะเดียวกันร.ต.สุพจน์ บุญประชุม นายก อบต.โพธิ์สัย รายงาน
ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ร้อยเอ็ด ว่าถ้าขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่งเสร็จแล้ว
มีน้ำเต็มอ่างต้องการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ด โดยการให้มีเรือสกู๊ตเตอร์บริการนักท่องเที่ยวต้องการให้นำเอาดินที่ขุดลอกขึ้นมา
ถมทำถนนรอบอ่าง และ ถมทำพื้นที่ปลูกพืชผักตามที่ต้องการ ให้ติดตั้งไฟฟ้าให้แสงสว่างรอบบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่งเพราะเท่าที่เป็นมา
ทำนบอ่างเก็บน้ำอยู่ในความมืดในเวลากลางคืน เท่าที่ผ่านมา
น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง ให้ชาวนาใน ต.โพธิ์สัย ได้ใช้น้ำเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในท้องที่
ต.ห้วยแอ่ง อ.เมือง จ.มหาสาคาม ในพื้นที่ ต.ผักแว่น อ.จังหาร และ ต.สีแก้ว
อ.เมืองร้อยเอ็ด ฯลฯ
ขณะที่นายอเนก ไชยคำภา ผอ.โครงการชลประทานร้อยเอ็ด กล่าวว่าการทำถนนรอบอ่างเก็บน้ำ จะทำให้เป็นตัวขวางกั้นไม่ให้น้ำไหลลงมาเติมในอ่างการขี่เรือนสกู๊ตเตอร์ในอ่างเก็บน้ำ
จะทำให้น้ำเป็นคลื่นเคลื่อนเข้ากระแทกทำนบและอาคารประตูระบายน้ำ
อาจเกิดอันตรายกับทำนบและอาคารประตูเปิดปิดน้ำส่วนการเอาดินที่ขุดลอกขึ้นมาไปทำเป็นแปลงปลูกพืชผัก
จะไปขอความร่วมมือผู้รับเหมาก่อสร้างให้
หลังจากนั้น ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ร้อยเอ็ด กล่าวกับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มพลังประชาชน ว่า....การแก้ปัญหาของอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง นั้น
ผอ.โครงการชลประทาน ได้ให้คำตอบแล้วในขณะนี้การแก้ปัญหาภัยแล้งผิดปกติของ จ.ร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการแล้ว
คือการขอให้ชุดทำฝนหลวงมาทำให้ จ.ร้อยเอ็ด มาหลายวันแล้ว
แต่มีอุปสรรคที่ต้องอาศัยความชื้นในอากาศ ทำให้ จ.ร้อยเอ็ด ได้ฝนเทียมน้อย ดังนั้น
จ.ร้อยเอ็ด จึงต้องช่วยกันประหยัดการใช้น้ำโดยเฉพาะในบ้านพักผู้วาราชการจังหวัดร้อยเอ็ด หยุดใช้น้ำประปาล้างรถ
รดผัก รดสนามหญ้า มาหลายวันแล้ว
ต่อไปจะเห็นรถของผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดขี่ไป
มาทำงาน ไม่ค่อยสะอาด และได้ขอร้อง แพตั้งเครื่องสูบน้ำของ อบต.หลายแห่ง
ลดการสูบน้ำจากลำน้ำชี เข้านาให้ชาวบ้านจากการสูบวันละ 20 ชั่วโมง ลดลงมาเหลือ วันละ 12 ชั่วโมงพร้อมกับขอร้องโรงงานอุตสาหกรรมให้ใช้น้ำจากลำน้ำชีลดการใช้น้ำลง โดยเฉพาะพี่น้องชาวนาขอให้พากันไปทำประกันความเสี ยหายของนาที่ปักดำแล้วกับ
ธ.ก.ส .ซึ่งค่าเบี้ยประกันทั้งหมด เป็นเงินไร่ละ 483 บาท แต่รัฐบาลออกให้จำนวน
300 บาทธ.ก.ส.ช่วยจ่าย
จำนวน 83 บาท
พี่น้องชาวนาต้องจ่ายเพียง 100 บาท เมื่อนาเสียหาย จะได้รับเงินชดเชยค่าเสียหายจาก ธ.ก.ส.เป็นเงินไร่ละ 1,111 บาทส่วนการแก้ปัญหาท้องที่ ที่อยู่ไกลจากแหล่งน้ำขนาดใหญ่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้แก้ปัญหา เอาน้ำจากใต้ดินขึ้นมาใช้บริโภคและอุปโภค โดยการเจาะบ่อบาดาลแล้ว จำนวน 70
บ่อ แต่ได้น้ำเค็มที่ อ.ปทุมรัตต์ และ อ.เกษตรวิสัย แห่งละ 1
บ่อส่วนนอกจากนั้น เป็นน้ำจืดทั้งหมดเพื่อป้องกันความเสียหายของนา
ควรรอฝนตกก่อน จึงหว่านกร้า ดำนา เพราะกรมอุตุนิยมวิทยา
บอกว่าประมาณ วันที่ 21 ก.ค.นี้ ฝนธรรมชาติจะตกส่วนการแก้ปัญหาน้ำประปา
อาจขาดแคลน เพราะน้ำในลำน้ำชีแห้งขอดนั้นขอให้อ่างเก็บน้ำ อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำน้ำปาว จ.กาฬสินธุ์จ่ายน้ำให้วันละ 2 ล้านลูกบาศก์เมตรแต่เนื่องจากน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 2
แห่ง น้ำเหลือน้อย เพราะ ต้องจ่ายให้พื้นที่ในโครงการของแต่ละอ่างเก็บน้ำจึงจ่ายให้ จ.ร้อยเอ็ด
ได้เพียงวันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร ถึงวันที่ 20 ก.ค.นี้เท่านั้นดร.สมศักดิ์จังตระกุล ผวจ.ร้อยเอ็ด
จึงขอให้กำลังใจประชาชนชาว อ.ศรีสมเด็จ ทุกคนให้ร่วมกันต่อสู้และแก้ปัญหาภัยแล้งให้ลุล่วงไปจนกว่า
น้ำฝนตามธรรมชาติจะตกลงมาแต่ในช่วงขณะนี้ ฝนที่เห็นตกนั้นเป็นฝนเทียมจากหน่วยบินทำฝนหลวง
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงปสกนิกรของพระองค์ทุกคน
ในขณะที่พระองค์ประชวรรวมทั้งความเป็นห่วงและปรารถณาดีของ พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ. อนุพงศ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และรัฐมนตรีทุกกระทรวงในรัฐบาลปัจจุบัน หลังจาก ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ร้อยเอ็ด
พร้อมคณะเดินทางกลับไปปฏิบัติราชการที่ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด / คนนอนนา
ขณะที่นายอเนก ไชยคำภา ผอ.โครงการชลประทานร้อยเอ็ด กล่าวว่าการทำถนนรอบอ่างเก็บน้ำ จะทำให้เป็นตัวขวางกั้นไม่ให้น้
หลังจากนั้น ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ร้อยเอ็ด กล่าวกับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มพลังประชาชน ว่า....การแก้ปัญหาของอ่างเก็
ต่อไปจะเห็นรถของผู้ว่าราชการจั
พี่น้องชาวนาต้องจ่ายเพียง 100 บาท เมื่อนาเสียหาย จะได้รับเงินชดเชยค่าเสียหายจาก ธ.ก.ส.เป็นเงินไร่ละ 1,111 บาทส่วนการแก้ปัญหาท้องที่ ที่อยู่ไกลจากแหล่งน้ำขนาดใหญ่
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น