ลักษณะการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ
ที่มา: กรมวิชาการเกษตร, 2554
ลักษณะการเข้าทำลาย
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายดอกกล้วยไม้
โดยใช้ปากเขี่ยเนื้อเยื่อให้ช้ำแล้วดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช บริเวณที่ถูกทำลายเกิดรอยด่าง
ทำลายกล้วยไม้เกือบตลอดปี แต่พบน้อยในช่วงฤดูฝน
รูปร่างลักษณะ
ไข่ เพลี้ยไฟกล้วยไม้จะวางไข่ฟองเดี่ยวๆ
สอดไว้ใต้เนื้อเยื่อพืช ไข่มีสีขาวใส รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ขนาดเล็กมากประมาณ 0.1 - 0.2 มิลลิเมตร ระยะไข่ 4 - 8 วัน
ตัวอ่อน แบ่งเป็น 3 ระยะ
คือ
ระยะที่ ๑ ลำตัวมีลักษณะขาวใส
ผอมเรียวเล็ก ขนาดลำตัวยาว 0.2 - 0.3 มิลลิเมตร
ปลายท้องค่อนข้างแหลม เคลื่อนไหวตลอดเวลา และเริ่มทำลายพืชทันที
ระยะที่ ๒ ลำตัวมีสีเหลืองเข้มขึ้น
บริเวณปลายส่วนท้องไม่แหลมเหมือนระยะที่ 1 ลำตัวยาว 0.3 - 0.4
มิลลิเมตร เคลื่อนไหวรวดเร็ว และว่องไวมาก
ระยะที่ ๓ ลำตัวมีสีเหลืองเข้ม ขนาด ๐.๕ –
๐.๗ มิลลิเมตร เป็นระยะก่อนเข้าดักแด้ การเคลื่อนไหวช้าลง แต่ยังคงทำลายพืชได้
ตัวอ่อนระยะนี้ ใช้เวลา ๖ – ๑๐ วัน จึงเข้าสู่ระยะดักแด้
ดักแด้ มีสีเหลืองเข้ม ขนาด 0.7 - 0.8 มิลลิเมตร
แผ่นปีกทั้งสองเจริญมากขึ้นและยาวเกือบถึงปลายท้อง
หนวดจะวกกลับชี้ไปทางด้านหลังเหนือส่วนหัว ระยะนี้เพลี้ยไฟจะไม่เคลื่อนไหว
ไม่กินอาหาร และเข้าดักแด้ในดิน ดักแด้มีอายุ 3 - 4 วัน
ตัวเต็มวัย มีสีเหลืองเข้ม ขนาดลำตัวยาว 0.8 - 1.0 มิลลิเมตร
ปีกมีสีเหลืองปนน้ำตาลอ่อน ยาวคลุมมิดส่วนท้อง มีขนยาวสีเทารอบปีก ในระยะนี้
เพลี้ยไฟจะเคลื่อนไหวรวดเร็วและว่องไว ตัวเต็มวัยมีอายุ 16 - 24 วัน ที่อุณหภูมิ 20 - 30 องศาเซลเซียส วงจรชีวิตจากไข่ถึงตัวเต็มวัย 14 - 23 วัน
การควบคุมและการป้องกัน
๑. สุ่มสำรวจช่อดอกกล้วยไม้ ช่อที่มีดอกบานประมาณ ๔ ดอก
โดยสุ่ม ๔๐ ช่อดอกต่อไร่ (หันหลังดอกไปทางทิศมีแสง) เมื่อพบเพลี้ยไฟ ๓ – ๔
ตัวต่อช่อดอก ให้ทำการป้องกันกำจัด หากอยู่ในช่วงดอกตูมให้สุ่มสำรวจ ที่ดอกตูมด้วย
๒. ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ดังนี้
-
อิมิดาโคลพริด (คอร์ฟิดอร์
๑๐๐ เอสแอล) อัตรา ๑๐ – ๒๐ มิลลิลิตร/น้ำ ๒๐ ลิตร
-
อะเซทามิพริด
(โมแลน ๒๐ % เอสพี) อัตรา ๑๐ – ๒๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
-
อะบาเม็กติก
(แจคเก็ต, เวอร์ทิเม็ค ๑ – ๘ % อีซี) อัตรา
๑๐ - ๒๐ มิลลิลิตร/น้ำ ๒๐ ลิตร
-
ฟิโปรนิล
(แอสเซ้นด์ ๕ % เอสพี) อัตรา ๒๐ มิลลิลิตร ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
-
ไซเพอร์เมทริน/โฟซาโลน
(พาร์ซอน ๒๘.๗๕ % อีซี) อัตรา ๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
หมายเหตุ
เพื่อป้องกันการสร้างความต้านทานสารป้องกันกำจัดแมลงในเพลี้ยไฟ
ควรพ่นสารสลับกัน แต่ไม่ควรพ่นติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง
โดยพ่น 5 - 7 วันต่อครั้ง ในฤดูร้อน และ 7 - 10 วันต่อครั้ง ในฤดูฝน และควรพ่นป้องกันกำจัดแมลงที่พื้นดินในโรงเรือนด้วย
เนื่องจากตัวอ่อนเพลี้ยไฟมักฝังตัวและเข้าดักแด้ในดิน
บั่วกล้วยไม้
ตัวหนอน
ลักษณะการทำลายที่ดอก
|
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น