เมื่อ 10 มี.ค. 60 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 1 อาคาร 3 ชั้น 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองผู้บัญชาการกองบั ญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภั ยแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมกองบั ญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภั ยแห่งชาติ ติดตามการบูรณาการป้องกันและแก้ ไขปัญหาสาธารณภัย โดยเฉพาะไฟป่าและหมอกควันในพื้ นที่ภาคเหนือ สถานการณ์ภัยแล้ง และการช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ ประสบอุทกภัยในภาคใต้ โดยมีการประชุมผ่านระบบ Video Conference ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่ วประเทศ รวมทั้งถ่ายทอดการประชุมผ่ านไปยังอำเภอต่างๆ เพื่อติดตามสถานการณ์สาธารณภั ยในพื้นที่อย่างใกล้ชิด รวมทั้งซักซ้อมสร้างความเข้ าใจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องในการบูรณาการการปฏิบัติ การเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้ องกันและแก้ไขปัญหาให้เป็ นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมี ประสิทธิภาพ พร้อมติดตามสถานการณ์และการเตรี ยมความพร้อมของจังหวัดและหน่ วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้ อง
นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองผู้บัญชาการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า การประชุมในวันนี้ ตนได้รับมอบหมายจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการกองบัญชาการป้ องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่ งชาติ มีความห่วงใยสถานการณ์ไฟป่ าและหมอกควันที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด โดยการประชุมวันนี้ได้มีการติ ดตามสถานการณ์สาธารณภัยในช่วงที่ ผ่านมา และการดำเนินงานของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ใน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่ าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ 2.การเตรียมพร้อมรับมื อสถานการณ์ภัยแล้งซึ่งขณะนี้เริ่ มเข้าสู่ภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในด้านน้ำอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการเกษตร เป็นต้น และ 3.การติดตามการช่วยเหลือเยี ยวยาและฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุ ทกภัยภาคใต้ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายเข้ าสู่ภาวะปกติแล้ว
สำหรับปัญหาไฟป่าและหมอกควั นในพื้นที่ภาคเหนือที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยได้มีการสั่ งการให้จังหวัดเตรียมความพร้ อมในดำเนินการป้องกันและแก้ไขปั ญหา โดยบูรณาการการทำงานผ่านกลไก “ประชารัฐ” และวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปั ญหาไฟป่าและหมอกควัน ให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภั ยในพื้นที่ เน้นการแบ่งหน้าที่และพื้นที่รั บผิดชอบ โดยให้มีการจัดตั้งกองบั ญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภั ยจังหวัดและอำเภอ จัดเจ้าหน้าที่ติดตามข้อมูลคุ ณภาพอากาศ และประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิ ด รวมถึงจัดชุดลาดตระเวนเฝ้าระวั งและระงับเหตุไฟป่า พร้อมระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครภาคประชาชนจั ดทำแนวกันไฟในพื้นที่เสี่ยง ตลอดจนคุมเข้มไม่ให้มี การเผาในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรม ชุมชน หมู่บ้าน และพื้นที่ริมทาง และรณรงค์ให้เกษตรกรใช้วิธี ไถกลบเศษวัสดุ ทางการเกษตรแทนการเผา หรือใช้สารอินทรีย์ย่อยสลายตอซั ง ควบคู่กับการจัดทำข้อตกลงของชุ มชนประกาศเขตห้ามเผาในพื้นที่ หมู่บ้านหรือพื้นที่บุกรุกทำไร่ เลื่อนลอยอย่างเด็ดขาด มีการระดมวัสดุอุปกรณ์ฉีดพ่ นละอองน้ำเพิ่มความชื้นและลดปริ มาณฝุ่นละอองหมอกควันในอากาศ รวมทั้งเร่งสร้างความตระหนักถึ งปัญหาโดยให้พี่น้องประชาชนเข้ ามามีส่วนร่วม ตลอดจนประชาสัมพันธ์ถึ งผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวผ่านสื่ อต่างๆ ในพื้นที่ในทุกช่องทาง
โอกาสนี้ ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ มอบแนวทางการปฏิบัติในการป้องกั นและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยได้เน้นย้ำ 2 วิธีการปฏิบัติ ได้แก่ 1.การควบคุมพื้นที่ และกลุ่มคนที่จะเข้าไปในพื้นที่ โดยเน้นการกำกับดูแลป้องกันเพื่ อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นซ้ำอีก และให้มีการประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมือในการป้องกันเพื่ อไม่ให้มีการเผาในพื้นที่ 2.การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริ งจัง และใช้มาตรการด้านสังคม เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่ วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปั ญหา โดยเน้นย้ำให้ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และเครือข่ายอาสาสมัคร ร่วมรณรงค์ประชาพันธ์สร้ างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการห้ ามเผาป่าในพื้นที่ควบคุม รวมถึงผลกระทบจากปัญหาหมอกควั นที่เกิดการการเผาป่าและพื้นที่ การเกษตร เพื่อสร้างจิตสำนึกร่วมกั นในการป้องกันปัญหาดังกล่าว
สำหรับการเตรียมพร้อมรับมือกั บสถานการณ์ภัยแล้ง ขณะนี้จากการติดตามสถานการณ์น้ำ พบว่าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บางแห่ งมีปริมาณน้ำจำกัดและจำเป็นต้ องจัดสรรน้ำไว้เพื่อการอุ ปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ ทำให้หลายพื้นที่มีความเสี่ยงต่ อการขาดแคลนน้ำในภาคการเกษตร โดยได้กำชับให้จังหวัดเตรียมพร้ อมในการป้องกันแก้ไขปัญหาและช่ วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งให้ ครอบคลุมทุกมิติไว้ล่วงหน้า และเน้นย้ำให้ทุกจังหวั ดสำรวจและจัดทำบัญชีข้อมูลแหล่ งน้ำ และปริมาณน้ำในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการบริ หารจัดการ และแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยให้บูรณาการการแก้ปัญหาร่ วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ ครอบคลุมในทุกหน่วยงาน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือฟื้ นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายเข้ าสู่ภาวะปกติแล้วทุกจังหวั ดและอยู่ในกระบวนการฟื้นฟู โดยในการบริหารจัดการและให้ ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่ผ่านมาได้น้ อมนำพระราชกระแสรับสั่งของสมเด็ จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เป็นแนวทางแก้ไขปั ญหาและบรรเทาความเดือดร้ อนของประชาชนในพื้นที่ประสบภั ยอย่างต่อเนื่อง และได้กำชับให้จังหวัดเร่งช่ วยเหลือผู้ประสบภัยให้ครอบคลุ มในทุกด้าน โดยยึดการปฏิบัติตามระเบี ยบกระทรวงการคลังฯ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัย บ้านเรือนที่ได้รับความเสี ยหายต้องได้รับการช่วยเหลือหรื อซ่อมแซมแล้วเสร็จครบทุกหลั งโดยเร็ว ด้านการเกษตร จังหวัดต้องจ่ายเงินเยียวยา แก่เกษตรกรตามระเบี ยบกระทรวงการคลังฯ ให้ครบถ้วนทุ กรายภายในระยะเวลาที่กำหนด ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ เร่งซ่อมแซมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินชี วิตได้ตามปกติโดยเร็ว และในกรณีที่จังหวัดให้การช่ วยเหลือผู้ประสบภัยไม่แล้วเสร็ จภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือวงเงินทดรองราชการของจังหวั ดไม่เพียงพอ ให้ ประสานขอขยายระยะเวลาและวงเงิ นงบประมาณผ่านกรมป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น