เมื่อ
12 มี.ค. 60 นายกฤษฎา บุญราช
ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการด่วนไปยังผู้ว่ าราชการจังหวัด นายอำเภอ
กำนันและผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่นทุกจังหวัดทั่วประเทศ
เพื่อให้ทุกจังหวัด เร่งดำเนินการตามแนวทางบริหารจั ดการน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้ อนของประชาชนในช่วงฤดูแล้ง
ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มเข้าสู่ช่ วงฤดูแล้งและหน่วยงานพยากรณ์ สภาพอากาศได้คาดการณ์ว่าฤดูแล้ งปีนี้อาจมีระยะเวลาสั้นกว่าปี ก่อนๆ
โดยฝนจะเริ่มตกในเดือนพฤษภาคม และอาจเกิดฝนทิ้งช่วงสลับกั นไปจนถึงเดือนมิถุนายน
ก่อนจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่ วงปลายเดือนกรกฎาคม ซึ่งอาจทำให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ ต่างๆ
ไม่เพียงพอต่อความต้ องการของประชาชน
ดังนั้น
จึงให้ทุกจังหวัดเตรียมการป้ องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ในพื้นที่
ดังนี้
1. จัดตั้ง
"คณะทำงานสำรวจข้อมูลแหล่งน้ำ และปริมาณการใช้น้ำ"
ในระดับพื้นที่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ โดยแยกข้อมูลเป็นน้ำสำหรับอุ ปโภค-บริโภค
และน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งคณะทำงาน ประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือปลัดจังหวัด เป็นประธาน นายอำเภอหรือผู้แทนหน่วยงานสั งกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในจังหวัดที่รั บผิดชอบเกี่ยวกับน้ำ
การชลประทานในพื้นที่ ผู้แทนการประปาส่วนภูมิภาคจั งหวัด ผู้แทนสำนักงานป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนประชาชนหรือกลุ่มผู้ ใช้น้ำ
เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์ ประเมินหรือคาดการณ์ปริ มาณการใช้น้ำแต่ละประเภทว่ าจะเพียงพอถึงช่วงเวลาใด
เพื่อเตรียมการให้ความช่วยเหลื อประชาชนตามมาตรการต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือปั ญหาในพื้นที่
2.
น้อมนำแนวทางตามพระราชดำริในเรื่ องการบริหารจัดการน้ำและความรู้ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตลอดจนหลักการมีส่วนร่ วมของประชาชนมาใช้ในการบริหารจั ดการน้ำ
โดยให้พิจารณาดั ดแปลงสภาพธรรมชาติของพื้นที่ เช่น ลำเหมืองเดิม
ทางน้ำไหลในฤดูฝน ที่ราบลุ่มเชิงเขา แล้วนำมาทำเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ อาทิ
เหมืองฝายชะลอน้ำ หลุมขนมครกหรือแก้มลิง คลองไส้ไก่ ฯลฯ
โดยประสานงานสำนักงานศูนย์ศึ กษาการพัฒนาอันเนื่ องมาจากพระราชดำริทั้ง 6
แห่งซึ่งอยู่ในพื้นที่ภูมิภาค สำนักงานโครงการอันเนื่ องมาจากพระราชดำริประเภทการพั ฒนาแหล่งน้ำหรือการเกษตรหรื อการรักษาป่าในพื้นที่ซึ่งส่ วนใหญ่อยู่ในความรับผิ ดชอบของหน่วยงานสังกั ดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือหน่ วยงานสังกัดกระทรวงทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานมูลนิธิปิดทองหลังพระสื บสานแนวพระราชดำริ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
และองค์กรภาคประชาสังคม
ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ รวมทั้งเชิญชวนผู้นำหมู่บ้าน ชุมชน หรือปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการบริหารจั ดการน้ำมาร่วมกันจั ดทำโครงการแหล่งเก็บกักน้ำ ประจำหมู่บ้าน
ชุมชน โดยให้จังหวัด อำเภอหรือองค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่นเชิญชวนประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมทำโครงการ
หรือ เสียสละแรงงานเข้าร่วมก่อสร้ างแหล่งน้ำต่างๆในพื้นที่
ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ รวมทั้งเชิญชวนผู้นำหมู่บ้าน ชุมชน หรือปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้
3.
นำสถานการณ์การขาดแคลนน้ำหรื อประสบการณ์ปัญหาการใช้น้ำในปี ก่อนๆ
ที่ผ่านมามาปรับปรุงแก้ไขจั ดทำเป็นแผนบริหารการใช้น้ำในฤดู แล้ง
โดยจัดตั้งผู้รับผิดชอบพื้นที่ ที่เคยมี หรืออาจมีความขัดแย้งในการใช้น้ำ และหาวิธีแบ่งปันน้ำที่ทุกฝ่ ายยอมรับกติกา
หรือวิธีกักเก็บน้ำในช่วงที่ จะมีฝนตกในพื้นที่ และสร้าง ปรับปรุง
ซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ำประจำหมู่ บ้านตำบลให้ใช้การได้ตามปกติหรื อการชักน้ำหรือนำน้ำจากแหล่งน้ำ ใกล้เคียงมาใช้ในพื้นที่
จัดหาภาชนะเก็บน้ำหรือไซโลน้ำ เพิ่มเติม เป็นต้น
และให้เร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การใช้น้ำอย่างประหยัด
หรือรณรงค์โครงการปลูกพืชใช้น้ำ น้อยโดยให้พิจารณากลุ่ มเกษตรกรที่เคยเข้าร่ วมโครงการมาแล้วอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้มีการขยายผลหรือเครือข่ ายออกไปให้มากขึ้น
รวมทั้งวางแผนแจกจ่ายน้ำ ของการประปาส่วนภูมิภาคหรือหน่ วยงานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่นให้ครอบคลุมพื้นที่ ขาดแคลนน้ำ
และใช้ศักยภาพของโครงการน้ำดื่ มที่ใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ
ประชารัฐประเภทต่างๆ มาช่วยบรรเทาความเดือดร้ อนของประชาชน ฯลฯ
ด้านงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ
ให้จังหวัดพิจารณาขอใช้ งบประมาณด้านป้องกันภัยตามระเบี ยบของกรมป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัย
ซึ่งต้องพิจารณาเงื่อนไขการใช้ จ่ายงบประมาณให้รอบคอบ
หรือใช้งบประมาณแก้ไขปัญหาจั งหวัด ๆ ละ 2
ล้านบาทตามแผนพัฒนาจังหวัด งบประมาณเหลือจ่ ายจากโครงการแผนพัฒนาจังหวัดกลุ่ มจังหวัดปี
2560 งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่นในพื้นที่
รวมทั้งงบประมาณของส่วนราชการต่ างๆ ในพื้นที่ หรืองบประมาณดูแลสังคมสิ่งแวดล้ อม
(CSR) ของภาคเอกชนหรือประชารัฐด้วยก็ ได้
ทั้งนี้
ปลัดกระทรวงมหาดไทยยังได้กำชั บให้ทุกจังหวัดเร่งบูรณาการทุ กหน่วยงานเพื่อป้องกั นและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้ นกับพี่น้องประชาชนในช่วงฤดูแล้ งนี้
และหากจังหวัดมีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ที่จะสามารถเป็นตัวอย่างให้แก่ พื้นที่อื่นๆ
หรือมีปัญหาอุปสรรคในการดำเนิ นงานให้เร่งรายงานให้ กระทรวงมหาดไทยทราบโดยด่วน
เพื่อจะได้พิจารณาหาแนวทางแก้ ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนต่ อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น