pearleus

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ชี้ชัดเจาะลึกจัดให้ วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม



เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2564   นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานวางพวงมาลา หน้าพระ บรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พร้อมนำกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดช่องลม ต.ท่าฉลอม อ.เมืองสมุทรสาคร โดยมี  นางเตือนจิตต์ รักร้อย นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสมุทรสาคร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมพิธีวางพวงมาลา สำหรับในปีนี้นั้นทางจังหวัดสมุทรสาครได้จัดให้แต่ละหน่วยงานมาหน่วยงานละ 1 คนเป็นตัวแทนวางพวงมาลาหน้าพระบรมรูป เนื่องจากสถานการณ์ไวรัส covid และเพื่อเป็นการเว้นระยะห่างไม่ให้อัดจนเกินไป....สำหรับความเป็นมาของวันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีวันนี้เป็นวันที่คนไทยรู้จักกันดีคือ “วันเลิกทาส” ตั้งแต่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 และห้ามมีการซื้อขายทาสอีกในประเทศไทย วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน และสิ่งที่โดดเด่นคือ การประกาศเลิกทาส เป็นการหยุดวงจรการเป็นทาส เพราะเมื่อสมัยก่อนหากพ่อแม่เป็นทาส ลูกที่เกิดมาก็ต้องเป็นทาสต่อไปเรื่อยๆ ทางราชการจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีเป็นหนึ่งในวันระลึกถึงความสำคัญของเหตุการณ์ในชาติ โดยเรียกว่า “วันปิยมหาราช

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เปิดพิมพ์นำฤกษ์พระสมเด็จทองพันชั่งหลวงพ่อโตวัดหลักสี่ราษฎร์

ฟ้าสะท้าน ดินสะเทือน พิธีเปิดพิมพ์นำฤกษ์พระสมเด็จทองพันชั่งหลวงพ่อโตวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรอ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เมื่อวันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม 25564 พระมงคลพัฒนาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอบ้านแพ้วเจ้าอาวาสวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรจัดพิธี ฟ้าสะท้านดินสะเทือน เปิดพิมพ์นำฤกษ์พระสมเด็จทองพันชั่งหลวงพ่อโตวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรอ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร พร้อมด้วยนายณรงค์รักร้อยผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายสุรศักดิ์ ผลยังส่งรองผู้ว่าราชการสมุทรสาคร นายบรรพต จันทวงศ์ นายอำเภอกระทุ่มแบน นายพิรุณโรจน์ นาคดนตรี นายอำเภอบ้านแพ้ว นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร นางขวัญดาวสุมนัส นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหลักห้า พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมงานพิธีเปิดพิมพ์นำฤกษ์พระสมเด็จทองพันชั่งหลวงพ่อโตวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรอำเภอบ้านแพ้วจังหวัดสมุทรสาคร มี พระภิกษุสงฆ์ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ โดยมี สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนีเจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดไตรมิตร วิทยาราม ประธาน พิธีเปิดพิมพ์ฝ่ายสงฆ์ ผลใหญ่วัดไตรมิตรวิทยาราม นายสุธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานฝ่ายฆราวาสมีประชาชนตำบลใกล้เคียงร่วมงานอย่างล้นหลาม 

ณ วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรอ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร 




ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร​ เปิดงาน"Mahachai Coconut Festival 2021" (มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว)

นายณรงค์​ รักร้อย​ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร​ เป็นประธาน

เปิดงาน"Mahachai Coconut Festival 2021" (มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว) 



วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ภ.จว.สมุทรสาคร จัดงานวันตำรวจ

 



ภ.จว.สมุทรสาครจัดวานวันตำรวจ

 

















เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564 

ภ.จว.สมุทรสาครจัดงานวันตำรวจ ประจำปี 2564 โดยมีพล.ต.ต.อภิชาติ วรรณภักดิ์

ผบก. ภ.จว.สมุทรสาครทำพิธีสักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาลพระภูมิเจ้าที่ ณ หน้าที่ทำการ ภ.จว. พร้อมกับ ทำพิธีสงฆ์ นิมนต์พระจำนวน 10 รูปเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าราชการตำรวจภาคจังหวัดสมุทรสาคร โดยมี

รองผู้บังคับการ ผู้กำกับ และข้าราชการตำรวจและ กต.ตร.เข้าร่วมพิธี

...วันตำรวจเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมพ.ศ 2458 โดยเป็นวันประกาศร่วมกรมพลตระเวนกับกรมตำรวจภูธรเป็นกลุ่มเดียวกันเรียกว่ากรมตำรวจซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้ถือเอาวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันตำรวจ

ทั้งนี้ความเดิมวันที่ 13 ตุลาคมนั้นเป็นวันตำรวจไทยเพื่อร่วม แสดงความเคารพเทิดทูนในหลวงรัชกาลที่ 9 ดังนั้น พล.ต.อ จักรทิพย์

ชัยจินดาอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)จึงมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงวันตำรวจไทยเป็นวันที่ 17 ตุลาคมนับจากนี้ไปโดยถือเอาฤกษ์ในวันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2541 มากำหนดเป็นวันตำรวจแทน

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564

สมุทรสาครแสดงศักยภาพเปิดโครงการตลาดอาหารทะเลต้นแบบ

 สมุทรสาครแสดงศักยภาพเปิดโครงการตลาดอาหารทะเลต้นแบบสร้างภูมิต้านโควิดกเพื่อเศรษฐกิ สมุทรสาครตลาดทะเลไทย/ตลาดกุ้ง..สร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อผู้ขาย



กรุงรัตนโกสินทร์ผ่านร้อนผ่านหนาวกว่า 239 ปี




 กรุงรัตนโกสินทร์ผ่านร้อนผ่านหนาวกว่า 239 ปี ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลปัจจุบันมรดกชาติที่ทุกพระองค์ฝากไว้เพื่อปวงประชา กำลังผลิตดอกออกผลเป็นวัฒนธรรมเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติมาจนถึงทุกวันนี้

ขอบคุณภาพ/วีดีโอกรมประชาสัมพันธ์

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564

สมุทรสาคร จ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบเหตุไฟไหม้ตลาดร้อยปี บ้านแพ้ว







       เมื่อเวลา 13.30น.ของวันที่ 11 ตุลาคม 2564 นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้เป็นประธานในการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยตลาดร้อยปี บ้านแพ้ว ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมเทพกาญจนา ชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอบ้านแพ้ว โดยมีนายวัฒนา สาครหัวหน้าปัองกันภัยจังหวัดสมุทรสาครกล่าวรายงาน           เหตุการณ์อัคคีภัยตลาดร้อยปีได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 เวลา 19.55 น. ทำให้บ้านเรือนได้รับความเสียหายและมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบหลายครัวเรือน ซึ่งคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดสมุทรสาคร (ก.ช.ภ.จ.) ได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 ข้อ 5.1 ด้านการดำรงชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,493,900 บาท ตามรายละเอียด ดังนี้  1. ช่วยเหลือกรณีที่อยู่อาศัยประจำของผู้ประสบภัยพิบัติ จำนวน 19 หลัง เป็นเงิน 1,436,900 บาท   2. ช่วยเหลือร้านค้า/แผงลอย กรณีค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ และหรือเงินทุนสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติที่เป็นอาชีพหลัก จำนวน 5 ราย เป็นเงิน 57,000 บาท ประกอบด้วยประกอบด้วย  1) ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพเบื้องต้น กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังเท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละ 3,800 บาท จำนวน 18 ครอบครัว เป็นเงิน 68,400 บาท   2) ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ ซึ่งผู้ประสบภัยพิบัติเป็นเจ้าของที่ได้รับความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริง เสียหายทั้งหลังและบางส่วน จำนวน 19 หลัง หลังละ 49,500 บาท เป็นเงิน 940,500 บาท  3) ค่าเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 69 ราย รายละ 1,100 บาท เป็นเงิน 75,900 บาท   4) ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ และหรือเงินทุนสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติที่เป็นอาชีพหลัก  - กรณีบ้านพัก/ที่อยู่อาศัยประจำ ประกอบอาชีพหลักค้าขาย จำนวน 19 ครอบครัว ครอบครัวละ 11,400 บาท เป็นเงิน 216,600 บาท  - กรณีร้านค้า/แผงลอย จำนวน 5 ครอบครัว ครอบครัวละ 11,400 บาท เป็นเงิน 57,000 บาท  5) ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร จำนวน 19 ครอบครัว ครอบครัวละ 3,500 บาท เป็นเงิน 66,500 บาท   6) ค่าเครื่องนอน จำนวน 69 ราย คนละ 1,000 บาท เป็นเงิน 69,000 บาท    หลังจากได้มอบเงินช่วยเหลือแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครยังได้เข้าไปดูสภาพพื้นที่ที่ไฟไหม้ และได้พูดคุยเพื่อวางแนวทางซึ่งเรื่องแรกคือได้เน้นย้ำให้ทางนายอำเภอ ทางท้องถิ่น ต้องตรวจสอบสภาพสายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และฝากให้ชาวบ้านได้ช่วยกันสอดส่อง เป็นหูเป็นตา หากพบไฟฟ้าลัดวงจร มีกระแสไฟรั่ว ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ ต้องมีความพร้อมในการรับมือกับเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งตนเองนั้นไม่อยากให้เกิดเหตุขึ้นเพราะจะสร้างความเสียหายไม่น้อย       ส่วนแผนการบูรณะปรับปรุงนั้น ต้องมีการประชุมหารือเรื่องการจัดระเบียบควบคู่กันไป เพราะตลาดบ้านแพ้วนั้นมีทั้งพื้นที่ที่เป็นของเอกชน และพื้นที่ที่ลุกล้ำเข้าเขตชลประทาน ซึ่งการจะปรับปรุงนั้นจะต้องจัดระเบียบให้อยู่ตามกฎเกณฑ์ไปด้วยกันในครั้งนี้ ซึ่งจะเริ่มจากจุดที่ประสบเหตุก่อน ส่วนพื้นที่ที่ไม่ได้โดนไฟไหม้ ก็ต้องมีการหารือ พูดคุยกับเจ้าของร้านทุกหลังในเรื่องการจัดระเบียบไปด้วย ซึ่งต้องค่อยๆทำไปเรื่อยๆ เพื่อให้ตลาดร้อยปีบ้านแพ้วได้ฟื้นฟูอีกครั้งหลังไฟไหม้ และอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่ถูกต้อง 

เจ้าอาวาสวัดป้อม เชิญชวนทำบุญที่วัดได้ตามปกติ









  เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ที่วัดป้อมวิเชียรโชติการาม พระอารามหลวง นายชุมพล จันทร์จรัสวัฒนา นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร พร้อมด้วยรองนายกเทศมนตรีฯ สมาชิกสภาเทศบาลฯ และ หัวหน้าส่วนราชการ ได้นำเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมประมาณ 20 คน ลงพื้นที่ไปยังศูนย์พักคอยคนสาครวัดป้อมวิเชียรโชติการาม เพื่อดำเนินการทำความสะอาดและฉีดพ่นฆ่าเชื้อโควิดทุกซอกทุกมุมในพื้นที่ศูนย์พักคอยคนสาคร ที่ก่อนหน้านี้ได้มีผู้ป่วยโควิดเข้ามารักษา ณ สถานที่แห่งนี้ ซึ่งปัจจุบันที่ศูนย์พักคอยวัดป้อมฯ ไม่มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแล้ว เพราะผู้ป่วยชุดสุดท้ายได้ออกไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 เนื่องจากสมุทรสาคร ยอดผู้ป่วยโควิดลดลง และที่ศูนย์พักคอยวัดป้อม เหลือผู้ป่วยอยู่เพียงไม่กี่คน จึงได้นำผู้ป่วยที่เหลือย้ายไปรวมอยู่ที่ศูนย์พักคอยคนสาครวัดช่องลม ด้านนายชุมพล จันทร์จรัสวัฒนา นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร ได้เปิดเผยว่า ตั้งแต่ที่เทศบาลนครสมุทรสาคร ได้จัดตั้งศูนย์พักคอยคนสาครที่วัดป้อมวิเชียรโชติการาม มาเป็นระยะเวลาเกือบ 3 เดือน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากท่านพระราชปริยัติคุณ เจ้าอาวาสวิเชียรโชติการาม พระอารามหลวง ให้ใช้สถานที่ในการจัดตั้งศูนย์ฯ ภาพรวมเป็นไปอย่างเรียบร้อย และขอขอบคุณหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดป้อมฯ ที่เมตตาให้ใช้พื้นที่วัด ในการรักษาผู้ป่วยโควิดในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งถือว่าท่านมีความเมตตาในการช่วยเหลือชีวิตประชาชนเป็นอย่างมาก  ทั้งนี้การพักศูนย์พักคอยคนสาครวัดป้อมฯ เพื่อเป็นการคืนพื้นที่ให้กับทางวัดป้อมวิเชียรโชติการาม ได้ประกอบศาสนกิจต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาทำบุญภายในวัดป้อมได้ตามปกติ ซึ่งภายในวัดป้อมฯ จะไม่มีผู้ป่วยโควิดอยู่ภายในวัดแล้ว และภายในวัดได้ปลอดจากโควิด ซึ่งนี่เป็นการพักศูนย์แต่ยังไม่ได้เป็นการปิดแบบถาวร เพราะถ้าหากในอนาคต ยังพบว่ามีผู้ป่วยโควิดเพิ่มสูงขึ้น อาจมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่วัดป้อม ในการจัดตั้งศูนย์พักคอยอีกครั้ง ก็จะกลับมาขอความเมตตาจากท่านต่อไป พระราชปริยัติคุณ เจ้าอาวาสวิเชียรโชติการาม พระอารามหลวง ได้กล่าวว่า การจัดตั้งศูนย์พักคอยคนสาครที่วัดป้อมวิเชียรโชติการามที่ผ่านมา ท่านมีความยินดีที่จะให้ทางเทศบาลนครสมุทรสาครใช้สถานที่อย่างไม่ต้องลังเลใจ เพราะคิดเป็นอันดับแรกว่าชีวิตคนมีความสำคัญ เพราะถ้าพวกเค้าไม่มีสถานที่ในการรักษา อาจจะเสียชีวิตหรือไปแพร่เชื้อต่อไปอีกเรื่อยๆ และถ้าหากอนาคต เทศบาลนครสมุทรสาคร มีความจำเป็นจะต้องใช้สถานที่ของวัดในการจัดตั้งศูนย์พักคอยอีก ท่านก็มีความยินดี    อย่างไรก็ตาม ท่านเจ้าอาวาสวัดป้อมวิเชียรโชติการาม พระอารามหลวง ก็ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ได้เข้าวัดทำบุญที่วัดป้อมฯได้ตามปกติแล้ว ซึ่งในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. ทางวัดก็จะมีการจัดงานกฐินพระราชทานอีกด้วย โดยจะจัดงานภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19

จังหวัดสมุทรสาคร จัดพิธีมอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทานแก่เกษตรกร

 










เมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 5 ตุลาคม 2564 นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้เป็นประธาน ในพิธีรับมอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งพระราชทานแก่เกษตรกร เป็นพระราชดำริที่กรมปศุสัตว์ได้สนองพระราชดำริในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน เสียหาย หรือได้รับผลกระทบจากภาวะภัยพิบัติต่าง ๆ โดยเฉพาะภัยจากน้ำท่วม น้ำหลาก ซึ่งกระทบต่อการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโค กระบือ และแพะตลอดจนสัตว์เลี้ยงที่เกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพ เป็นทรัพย์สินของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบให้พ้นจากความเสียหาย ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ได้จัดเตรียมหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน เพื่อนำไปช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และจะดำเนินการให้ความช่วยเหลือจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ และตลอดในช่วงฤดูฝน ซึ่งในระหว่างวันที่ 23-30 กันยายน 2564 จังหวัดสมุทรสาคร เกิดฝนตกหนักใน

หลายพื้นที่ ประกอบกับปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นและบางพื้นที่มีน้ำท่วม

ส่งให้พืชอาหารสัตว์ที่ใช้ในการเลี้ยงโค-กระบือในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้วเกิดความเสียหาย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรสาคร จึงลงพื้นที่สำรวจความเดือดร้อนของเกษตรกรเลี้ยงโค-กระบือในพื้นที่ หมู่ 5หมู่ 7 ตำบลโรงเข้ และ หมู่ 5 , หมู่ 6 ตำบลหลักสอง จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า เกษตรกรในพื้นที่ประสบปัญหาเดือดร้อนขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 24 ราย มีโค-กระบือได้รับผลกระทบรวมทั้งสิ้น 279 ตัว


สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรสาครจึงได้ขอรับหญ้าพระราชทาน จำนวน 5,000กิโลกรัม จากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เพชรบุรี เพื่อนำมามอบให้เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน โดยได้รับความอนุเคราะห์ในการขนหญ้าอาหารสัตว์พระราชทานจากกรมทหารสื่อสารที่1ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน  นอกจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครยังได้มอบถุงยังชัชีพให้กับเกษตรกรอีก 5 รายด้วย

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564

รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท ลงตรวจโครงการก่อสร้างสะพานข้าม น.ท่าจีนเชื่อมตลาดกระท่มแบน - ท่าไม้










      เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564  นายไกรวัลย์ โรจนนุกูล รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายแก่นวิทย์ วงค์ชูศิริ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทสมุทรสาคร นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายบรรพต จันทรวงค์ นายอำเภอกระทุ่มแบน และนายองอาจ เขียวงามดี ผู้แทนเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ได้ร่วมกันลงพื้นที่โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ณ บริเวณวัดดอนไก่ดี เขตเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน    นายแก่นวิทย์ วงค์ชูศิริ เปิดเผยว่า โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีนเชื่อมระหว่างเขตเทศบาลเมืองกระทุ่มแบนและตำบลท่าไม้แห่งใหม่นี้เพื่ออำนวยความสะดวกของประชาชนทั้งสองฝั่งในการเดินทางไปยังสถานที่สำคัญเช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ การท่องเที่ยว และการขนส่งพืชผลทางเกษตรซึ่งมีกล้วยไม้ดอกที่มีแหล่งปลูกใหญ่ที่ตำบลบางยางและตำบลไกล้เคียง     กรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการสำรวจความเหมาะสมแล้ว เห็นว่ามีความเป็นไปได้สำหรับการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีนเชื่อมสองฝั่งตำบล จึงได้ของบประมาณเพื่อดำเนินการก่อสร้างปีงบประมาณ 2565 ในวงเงิน 55 ล้านบาท ผูกพัน 2 ปี ลักษณะสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กยาวประมาณ 155 เมตร มีขนาดความกว้าง 8 เมตร สูงตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงที่คณะเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ ณ บริเวณโครงการไกล้วัดดอนไก่ดี ได้มีชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างจำนวน 8 ครัวเรือนมาร้องเรียนขอให้พิจารณาทบทวนโครงการไม่ให้เกิดผลกระทบกับชาวบ้าน ซึ่งกรมทางหลวงชนบทได้รับไปพิจารณาแก้ไขต่อไป     ทั้งนี้ หากมีการก่อสร้างต่อไปก็จะมีการประกวดราคาหาผู้รับจ้างและหลังการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยจะเปิดใช้ได้ในปี 2566

รอง ผบช.ภ.7 ตรวจเยี่ยม สภ.บางโทรัด






พล.ต.ต.พิสิฐ ตันประเสริฐ  รอง ผบช.ภ.7(ปส) ตรวจเยี่ยม สภ.บางโทรัด โดยมี พ.ต.อ.สรรค์พิสิฐ  แย้มเกษร รอง ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร,พ.ต.อ.วรพล  ยิ่งเจริญ รอง ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร พร้อมด้วย พ.ต.อ.ศุภชัย ศรสุคนแก้ว ผกก.สภ.บางโทรัด,พ.ต.ท.อุรุพงษ์   ดีพิจารณ์ รอง ผกก.ป.สภ.บางโทรัด,พ.ต.ท.นคร  กานานนท์ รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.บางโทรัดและข้าราชการตำรวจในสังกัด รอรับการตรวจเยี่ยม ได้กำชับการปฏิบัติงานให้ปฏิบัติตามนโยบาย ผบ.ตร.และ ผบช.ภ.7 อย่างเคร่งครัด ดังนี้ 1.กำชับให้ดำเนินการการปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง การทำลายเครือข่ายและการยึดทรัพย์ 2.แสวงหาความร่วมมือจากภาคประชาชนในพื้นที่ ปฏิบัติการเชิงรุก ให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อสร้างชุมชนเข็มแข็งปลอดยาเสพติด 3.ให้ สภ.วางแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้คืนกลับสู่สังคม  4.ให้ สภ.ดำเนินโครงการ “No place for drug” และรายงานผลให้ทราบ 5.ให้จัดทำระบบข้อมูล สืบสวนติดตาม จับกุมบุคคลตามหมายจับ ให้เป็นปัจจุบัน แล้วสรุปรายงานผลให้ทราบ 6.เน้นย้ำเรื่องการสกัดกั้นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด เพื่อจับกุมและขยายผล 7.การตั้งด่านปัสสาวะและด่านตรวจยาเสพติด ให้ขออนุมัติ รอง ผบช.ภ.7 ปส. ก่อนทุกกรณี และให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม สุจริต ห้ามเรียกรับผลประโยชน์โดยเด็ดขาด