pearleus

วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มคุณค่า"บัณฑิตแรงงาน" ก.แรงงานแนะพื้นที่ชายแดนใต้ทำงานเชิงรุก

กระทรวงแรงงานจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมภูมิปัญญา เพิ่มคุณค่า พัฒนาพลังบัณฑิตแรงงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 14-16 มี.ค. 60 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบ ด้วย แรงงานจงหวัดปัตตานี  นราธิวาส ผู้กำกับดูแลบัณฑิตแรงงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ร่วมด้วยบัณฑิตแรงงานจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา จำนวน 380 คนดียิ่งขึ้น
 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 มี.ค.60 นายวิชัย คงรัตนชาติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน "การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมภูมิปัญญา เพิ่มคุณค่า พัฒนาพลังบัณฑิตแรงงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ณ โรงแรมเดอะ รีเจนท์ บีช รีสอร์ท ชะอำ  เพชรบุรี ได้กล่าวว่า บัณฑิตแรงงานมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของกระทรวงแรงงาน ซึ่งได้เข้าไปสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างความมั่นคงในการทำงานให้เกิดขึ้นกับประชาชนในตำบล หมู่บ้าน อีกทั้งการที่บัณฑิตแรงงานได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานสำรวจ และจัดเก็บข้อมูลด้านแรงงานในพื้นที่ ถือเป็นการช่วยส่งเสริมการปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการตามแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสถานการณ์แรงงานของของประชาชนในพื้นที่ ทั้งด้านการให้บริการ พัฒนา และการแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงภารกิจนอกเหนือจากภารกิจหลักของกระทรวงแรงงานที่สนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ โดยบัณฑิตแรงงานถือเป็นสื่อกลางที่จะนำบริการ และสิทธิประโยชน์ที่
ประชาชนควรจะได้รับไปสู่ประชาชนในระดับพื้นที่ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นข้อต่อที่เชื่อมโยง ที่จะช่วยลดหรือบรรเทาสถานการณ์ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างเจ้าหน้าที่ภาครัฐกับประชาชน ซึ่งการทำงานในพื้นที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงบริการ กระบวนการ และสร้างคุณค่าให้ตอบสนองความต้องการ รวมถึงทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
           พร้อมฝากบัณฑิตแรงงานให้นำความรู้ไปเผยแพร่แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ด้วยการส่งต่อข้อมูลข่าวสารตามข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้อง พร้อมทำงานเชิงรุก เปลี่ยนกรอบ มีมิติใหม่ในการคิดนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ด้านบัณฑิตแรงงานเผยประสบการณ์การทำงานในพื้นที่เช่น น.ส.เบ็ญจมาศ
ประดุจพล บัณฑิตแรงงาน จังหวัดสงขลา ทำงานมา 6  ปี เปิดเผยว่า การเข้ามาทำงานเป็นบัณฑิตแรงงาน เนื่องจากได้ทำงานจิตอาสามาก่อน และคิดว่าการได้เข้ามาทำงานจะทำให้ขอบเขตความสามารถมากขึ้น และเมื่อลงพื้นที่ก็ช่วยเหลือชาวบ้านได้มากขึ้นในหลายด้าน อีกทั้งชาวบ้านในพื้นที่มีปัญหาหลากหลายเนื่องจากไม่เปิดใจให้ แต่ก็ใช้ระยะเวลาหนึ่งในการเข้าไปสัมผัสเพื่อให้ไว้วางใจเชื่อใจและยอมเปิดใจให้ก็จะสามารถเข้าไปแก้ปัญหาให้ได้ การทำงานที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันประโยชน์ที่ได้คือ ได้ใจจากชาวบ้านและรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ได้เป็นสื่อกลางจากกระทรวงนำไปถ่ายทอดให้กับชาวบ้านได้มีความรู้ความสามารถมากขึ้น และเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ จากที่เมื่อก่อนไม่รู้ว่าใช้ช่องทางไหนเข้าหาหน่วยงานของรัฐต่างๆ แต่เมื่อเข้าไปตรงนั้นเขาสามารถสื่อผ่านไปยังเบื้องบนและข่าวสารช่วยเหลือต่างๆ จากเบื้องบน
ลงไปหาชาวบ้านได้อย่างเต็มที่และถูกต้องด้วย  น.ส.อัญญา มะเซ็ง บัณฑิตแรงงาน จ.ยะลา ทำงานมา 1  ปี กล่าวว่า บัณฑิตแรงงานสอนให้มีความรู้หลายๆ อย่าง และประทับใจที่ได้บริการประชาชนด้านการฝึก
อาชีพ เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่เป็นแรงงานนอกระบบไม่มีงานทำหรือมีงานหลักแต่รายได้ยังไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัว จึงได้นำอาชีพเข้าไปฝึกชาวบ้านให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งบัณฑิตแรงงานมีโครงการสำนึกรักบ้านเกิด โดยบัณฑิตแรงงานของแต่ละอำเภอร่วมมือกันและไปพัฒนาอำเภอที่มีความเดือดร้อน ซึ่งเสียงตอบรับจากประชาชนที่กลับมาคือ โชคดีที่มีบัณฑิตแรงงานที่ลงมาช่วยประสานระหว่างประชาชนกับ
กระทรวงแรงงาน เนื่องชาวบ้านไม่รู้จะติดต่อและเข้าหาหน่วยงานได้อย่างไร ทั้งด้านประกันสังคม จัดหางาน พัฒนาฝีมือแรงงาน และสวัสดิการแรงงานนายไพโรจน์ อารง บัณฑิตแรงงาน จ.นราธิวาส ทำงานมา 10  ปี กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านในพื้นที่ที่อยากมีอาชีพ และต้องการหางานก็จะมาหาบัณฑิตแรงงานที่
ศูนย์แรงงานอำเภอ การมีบัณฑิตแรงงานประจำตำบลก็เปรียบเสมือนสำนักงานย่อยของแรงงานอำเภอ เนื่องจากเชื่อว่าบัณฑิตแรงงานเป็นคนในพื้นที่ย่อมรู้ดีกว่าคนนอกพื้นที่และทำงานด้วยความจริงใจ อีกทั้งโครงการต่างๆ ที่ทำก็เป็นความต้องการของชาวบ้านจริงๆ เข้าไปหาชาวบ้านทุกหมู่ โดยบูรณาการบัณฑิตแรงงานจังหวัดนราธิวาสเข้าไปช่วยเหลือในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งทำให้ได้ใจและตรงใจชาวบ้านในพื้นที่ และต้องขอขอบคุณกระทรวงแรงงานที่มีโครงการดีๆ อย่างนี้มา 10  ปี และหวังอย่างยิ่งว่า

โครงการนี้จะมีตลอดไป นายธีวินท์ ยะโกะ บัณฑิตแรงงาน จ.ปัตตานี  ทำงานมา 10  ปีเช่นกัน เปิด
เผยว่า เริ่มแรกที่ทำงานต้องเข้าไปทำความรู้จักกับผู้นำชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ทราบว่าเข้ามาในนามของผู้แทนกระทรวงแรงงาน นำภารกิจต่างๆ มาบอกแก่ทางชุมชนทราบ อีกทั้งยังเป็นลูกหลานของคนในพื้นที่ รู้ดีว่าพื้นที่แต่ละแห่งมีความเป็นอยู่อย่างไร ประชาชนพี่น้องมีอาชีพ มีรายได้อย่างไร ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นๆ และเมื่อเป็นที่ยอมรับชาวบ้านก็จะเข้ามาหา โครงการบัณฑิตแรงงานถือเป็นโครงการที่ดีทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและรวดเร็ว ทั้งการจัดหางาน การฝึกอาชีพ ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีอาชีพที่ดีขึ้น ซึ่งต้องขอขอบคุณที่ได้เริ่มโครงการนี้ขึ้นมา ซึ่งทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กับ 4 อำเภอของจ.สงขลา ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และได้รู้จักกระทรวงแรงงานมากขึ้น และขอฝากถึงความมั่นคงของการปฏิบัติงานที่ต้องต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการประสานงาน ดูแลที่ยั่งยืน และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมากกว่านี้ สันติสุขจะกลับในจังหวัดชายแดนภาคใต้











*****************

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น