pearleus

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

‘เฮียช้า’ เชิญเที่ยวงานมหกรรมอาหารและของดี จ.สมุทรสาคร


ชมรมร้านอาหารจังหวัดสมุทรสาคร  ขอเชิญเที่ยวงาน มหกรรมอาหารและของดีจังหวัดสมุทรสาคร ครั้งที่ 2” ระหว่าง 28 พ.ย.-2 ธ.ค. นี้ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ทุกวัน ณ บริเวณตลาดทะเลไทย.เมือง จ.สมุทรสาคร

            นายสมพงษ์ จิระพรพงศ์  หรือเฮียช้า ประธานชมรมร้านอาหารจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางชมรมร้านอาหาร ได้ร่วมกับจังหวัดสมุทรสาคร  เพื่อจัดงาน มหกรรมอาหารและของดีจังหวัดสมุทรสาคร ครั้งที่ 2” ระหว่าง 28 พ.ย.-2 ธ.ค. นี้ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ทุกวัน โดยปีนี้เปลี่ยนมาจัดที่ บริเวณตลาดทะเลไทย.เมือง จ.สมุทรสาคร
            ทั้งนี้ภายในงานมีการจัดร้านอาหารต่างๆ ทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอาหารทะเลที่ขึ้นชื่อของ จ.สมุทรสาคร การแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังโดยมีรายละเอียดดังนี้
28 พ.ย.61 วงสีเผือก
29 พ.ย.61  มหาหิงค์ กับ วงFc แบนด์  
30  พ.ย.61  วงพัทลุง กับวงเพชรเกษม
1 พ.ย.61. วงอามชุติมา กับ วงเพชรเกษม
2 พ.ย.61. วงมอซอ กับ วงเพชรเกษม


ทั้งนี้จะมีการจัดลานเบียร์ สวนสนุก การออกร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรของดี เด่น ดัง ที่ขึ้นชื่อของ จ.สมุทรสาคร  รวมถึงสินค้าโอทอป   และการจัดคาราวานสินค้า ให้ประชาชนฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2562 อีกด้วย
สำหรับผู้ที่จะจองร้านค้า ติดต่อที่เบอร์ 081 – 8193342 และ 098 – 2737800





วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บช.น.รวบรถบรรทุก ขนยาไอซ์ – เค และยาบ้ากว่า 10 ล้านเม็ด


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ต.ค.61 เวลา 15.00 น. พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รอง ผบ.ตร. , พล.ต.ท.สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น ผบช.สตม.รรท.ผบช.น. , พล.ต.ต.ดาวลอย เหมือนเดช รรท.รอง ผบช.น. และ พล.ต.ต.อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ ผบก.สส.บช.น. แถลงข่าว บก.สส.บช.น. และ กก.สส.บก.น.8  จับกุมยาบ้าจำนวน 10,330,000 เม็ด , ยาไอซ์ 100 กก. , ยาเค 100 กก. พร้อมรถยนต์บรรทุก 10 ล้อที่ใช้ในการขนส่ง 1 คัน โดยจับกุมได้บริเวณริมถนนสายเอเซีย (ขาเข้า) อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันเสาร์ที่ 27 ต.ค.61 เวลา 21.00 น.และได้มีเจ้าหน้าที่จากกองพิสูจน์หลักฐานมาตรวจสอบยาเสพติดด้วย ณ ลานอเนกประสงค์ บช.น./














วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561

รมว.พม.ร่วมประชุมAMMWพร้อมกล่าวถ้อยแถลงขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพ-คุ้มครองเด็ก/ผู้หญิงที่เวียดนาม

รมว.พม. กล่าวถ้อยแถลงพร้อมขับเคลื่อนงานพัฒนาศักยภาพสตรีในทุกระดับ เพื่อคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้หญิงและเด็กหญิง ในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี (AMMW) ครั้งที่ 3 ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 61 ณ โรงแรมเชอราตัน ฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย พร้อมด้วย นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และคณะ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี ครั้งที่ 3 (ASEAN Ministerial Meeting on Women – AMMW) พร้อมกล่าวถ้อยแถลงการณ์การดำเนินงานของประเทศไทย ในหัวข้อ “การคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้หญิงและเด็กหญิง” (Exchange of views on the theme social protection for women and girls) การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 ตุลาคม 2561
โดยมี นายเหงียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ มีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้นำจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ โดยได้มีโอกาสเดินทางไปยังสภาแห่งชาติเวียดนาม เพื่อคารวะ นางเหงียนถิ กึม เงิน ประธานสภาแห่งชาติเวียดนาม(Vietnamese President of Parliament) และรับฟังการนำเสนอเกี่ยวกับบทบาทสตรีทางการเมืองของเวียดนาม ซึ่งมีสัดส่วนการดำรงตำแหน่งในสภาของสตรี ถึง 30%
พลเอก อนันตพร กล่าวว่า สถานภาพของผู้หญิงในประเทศไทยมีพัฒนาดีขึ้นเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อัตราการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา และการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ โดยในปี 2560 ผู้หญิงมีบทบาทในตำแหน่งผู้บริหารในภาคเอกชนถึงร้อยละ 42
อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงยังประสบปัญหาในเรื่องต่างๆ เช่น ความรุนแรงในครอบครัวการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ดังนั้น การส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการคุ้มครองทางสังคมเป็นเรื่องที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ขับเคลื่อนในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ด้วยการผลักดันกฎหมาย รวมทั้งพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ซึ่งคุ้มครองสิทธิทั้งผู้หญิง และผู้ชาย รวมถึงผู้ที่แสดงออกแตกต่างจากเพศกำเนิด ภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าวมีคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศรับผิดชอบในการพิจารณาข้อร้องเรียน และการเยียวยาผู้ถูกเลือกปฏิบัติด้วยความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
โดยมีการจัดตั้งกองทุนความเท่าเทียมระหว่างเพศขึ้น อีกทั้ง ในประเด็นเกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง มีศูนย์ช่วยเหลือสังคม ซึ่งให้ความช่วยเหลือในเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก และการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ รวมทั้งคนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศที่และประสบปัญหาสังคม สามารถขอรับความช่วยเหลือผ่านสายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
นอกจากผู้หญิงและเด็กหญิงแล้ว ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความรุนแรงในทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส จึงมีการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาความรุนแรงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี และทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทุกระดับ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ชายและเด็กชายเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเสริมพลังผู้หญิง คู่สมรสที่ต่างเชื้อชาติที่อาจมีปัญหาทางสังคมจากการปรับตัวเป็นกลุ่มใหม่ที่สามารถขอรับความช่วยเหลือและคำปรึกษาจากศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวทั้ง 8 แห่ง

พลเอก อนันตพร กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจสำหรับผู้หญิงประเทศไทยได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีขึ้นตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งกองทุนดังกล่าวช่วยให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงแหล่งทุน โดยผู้หญิงชนบทได้รับประโยชน์จากกองทุนนี้เป็นลำดับแรก พบว่า มีผู้หญิง 915,150 คน ได้รับการสนับสนุนทางการเงินเพื่อฝึกทักษะอาชีพ และผู้หญิง 639,099 คน ได้เข้าถึงแหล่งเงินกู้เพื่อก่อตั้งธุรกิจของตน และในปีนี้ รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน ภายใต้วงเงินรวมกว่า 78,000 ล้านบาท แก่ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industry Transformation Center : ITC)  23 แห่ง และศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs 270 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้งพี่เลี้ยงบ่มเพาะ SMEs สู่ตลาดโลก (Big brother) ซึ่งเป็นการให้ธุรกิจขนาดใหญ่ช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งผู้หญิงที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs จะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้ด้วย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีแนวคิดจะเพิ่มสิทธิวันลาคลอดบุตรให้ลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์ จาก 90 วัน เป็น 98 วัน ซึ่งสอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และพยายามผลักดันให้ภาคเอกชนส่งเสริมการลาของพ่อ-แม่ เพื่อเลี้ยงดูบุตร และประเทศไทยได้ริเริ่มการให้เงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิด เมื่อปี 2558 โดยให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวยากจนที่มีเด็กแรกเกิดถึง 3 ปี เดือนละ 600 บาท ซึ่งมาตรการนี้ได้รับการยอมรับว่า เป็นความพยายามในการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสจากการถูกกีดกัน และสนับสนุนให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในช่วงแรกของชีวิต นับเป็นการลงทุนระยะยาวที่จะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต นอกจากนี้ ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ ปี 2548 ส่งผลให้รัฐบาลได้ริเริ่มการดูแลผู้สูงอายุ โดยอาสาสมัครใน 44 ชุมชน ซึ่งอาสาสมัครเหล่านี้สามารถได้รับการดูแลตอบแทนตามเวลาที่สะสมไว้ในอนาคต ทำให้ผู้สูงอายุสตรีจะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้เป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากการมีอายุขัยที่ยืนยาวกว่า

“ประเทศไทยให้ความสำคัญและจะผลักดันมาตรการคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้หญิงและเด็กหญิง และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศอื่น ๆ ตลอดจนความร่วมมือในคณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน และหุ้นส่วนใหม่จากทุกระดับ เพื่อให้การหารือร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี ครั้งที่ 3 ไปสู่ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น” พลเอก อนันตพร กล่าวในตอนท้าย


วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

นั่งสามล้อชมจุดเครื่องบินแลนดิ้ง ไปดูการทำ"ส้มควาย"ที่บ้านหัวควน


กิจกรรมสื่อมวลชนเยี่ยมชมหมู่บ้าน OTOP  เพื่อการท่องเที่ยว... โดยกรมการพัฒนาการชุมชน ในเส้นทางที่6 อันดามัน"สตูล ตรัง กระบี่ ภูเก็ต"  สัมผัสบรรยากาศท่องเที่ยววิถีชุมชน  วันที่ 26 ต.ค.61 ร่วมกิจกรรม หมู่บ้านไม้ขาว  อำเภอถลาง จ.ภูเก็ต  นั่งสามล้อไปจุดชมเครื่องบินแลนดิ้ง ชมผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน กิจกรรมสปาทราย ชมการสาธิตวิธีจับจั๊กจั่นทะเล ชมการสาธิตการทำขนมปังบี่ไท่บัก ร่วมกิจกรรม ณ หมู่บ้านหัวควน รับชมวิดีทัศน์จากผู้นำชุมชน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5  ร่วมกิจกรรมแปรรูปส้มควาย ชมการสาธิตการทำขนมพื้นบ้าน ขนมท่อนใต้ ขนมต้มยอดมะพร้าว การทำปาเต๊ะ 
 ทำผ้ามัดย้อม หัตกรรมพื้นบ้าน สาธิตการทำปลาดุกร้า



 ประวัติของหมู่บ้านไม้ขาว เล่าว่าเมื่อประมาณ 1,000 กว่าปีก่อน ชาวบ้านเรือนที่อยู่ที่ตีนเขาเรียกว่า บ้านในซึ่งมีบ้านเรือนมากพอสมควร (ใกล้กับบ้านบ่อสอม ในปัจจุบัน) สมัยนั้นยังไม่มีการปลูกยางพาราและการปลูกสับปะรดแดง ต่อมาชาวบ้านเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น จึงเชื่อกันว่าสาเหตุที่เจ็บไข้นั้นเพราะเงาของภูเขามาบังทับบ้านเรือน จึงพากันย้ายมาอยู่บริเวณชายทะเลฝั่งตะวันตกของทะเลอันดามัน เรียกว่าบ้านหัวนอน และ บ้านใต้ตีน พื้นที่มีลักษณะเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีคนจีนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว 5-6 ครัวเรือน หลังจากนั้นมีการขยายบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น และในป่าทึบดังกล่าวนี้เองมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง  มีลักษณะสีขาวโพลนทั้งต้น ชาวบ้านจึงตั้งซื้อหมู่บ้านนี้ หมู่บ้านไม้ขาว  เมื่อครั้งที่ยังไม่มีสะพานสารสิน เมื่อเรือวิ่งข้ามฝั่งเข้ามาจะมองเห็นต้นไม้สีขาวโดดเด่นมาก 
                   หมู่บ้านหัวควน ต.กมลา อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต  อีกหมู่บ้าน OTOP Village เพื่อการท่องเที่ยว อีกแห่งหนึ่งที่มีกลิ่นไอของความเป็นพื้นที่บริสุทธิ์ เนื่องจากเส้นทางที่เดินทางมายังหมู่บ้านเป็นที่เชื่อมโยงระหว่างบ้านบางคูกับบ้านหัวควน จะต้องขึ้นเนินสูงมีลักษณะเป็นควน คำว่าควนในภาษาปักษ์ใต้หมายถึงเนิน ชันมาก จึงเรียกว่า บ้านหัวควน  มีต้นยางใหญ่ อยู่ตรงจุดหัวควน จึงเรียกว่า ควนต้นยาง  คนกลุ่มแรกที่เข้ามา คือ โต๊ะกอหมาด เป็นชาวไทยมุสลิม เดิมอาศัยที่เกาะปีนัง ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ที่ภูเก็ต ทิศเหนือติดหมู่ 5 บ้านเกาะแก้ว ทิศใต้ติดบ้านบางคู ทิศตะวันออกจดทะเลอันดามัน ทิศตะวันตกติดภูเขาเจ๊ะตา ภูมิประเทศเป็นสวนยาง
                ในปัจจุบันกลายเป็นถนนหนทางและที่พักอาศัย  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวน นับถือนับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีหน่วยงานบำรุงทางแขวงการทางภูเก็ต โรงเรียนมุสลิมวิทยา  มีพื้นที่ใกล้เคียง ทิศเหนือมีภูเก็ตแฟนตาซี ทิศตะวันออกและใต้เป็นควนเขากมลา ทิศตะวันตกติดบ้านบางหวาน ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนา เนินเขา สวนทุเรียนและสวนยางพารา









                กิจกรรมเด่น ชมการทำ   ส้มควาย ซึ่งเป็นผลไม้รสเปรี้ยว ตระกูลเดียวกับ   ส้มแขก เป็นพืชสมุนไพร พบได้แพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้  โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากชาวบ้านนิยมปลูกส้มควายเป็นไม้ผลประจำบ้าน  ต้นส้มควายภูเก็ต มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือขนาดผลใหญ่เนื้อมาก ชาวบ้านนิยมนำมาปรุงอาหารสารพัดเมนู ทั้ง แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ  ต้มปลา
               ภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยโบราณ นำส้มควายมาตากแห้ง และบดเป็นผงก่อนนำมาผสมกับน้ำร้อน เพื่อแช่เท้า ลดอาการปวดเมื่อย อาการเท้าบวม และช่วยระงับกลิ่นเท้าได้เป็นอย่างดี  ยุคปัจจุบัน ผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า  “ ส้มควาย   เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยในการระบาย และมีกรดผลไม้ ประเภทสาร AHA ช่วยบำรุงผิวพรรณให้กระจ่างใส  จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภค อุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง เพราะส้มควายเป็นพืชสมุนไพรที่ไม่มีสารตกค้างในร่างกาย
               เชคอิน แชะ ชม ชิม ช้อป แชร์..ไป.แล้วจะ..รัก..สมความตั้งใจจริงๆ

**************

พช.ควงสื่อเยือนบ้านพรุจูด-บ่อหินฟาร์มสเตย์ แวะบ้านหนังไหนแหล่งเที่ยวบริสุทธิ์






ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24-26 ตุลาคม 2561 ตามเส้นทางที่ 6   อันดามัน"สตูล ตรัง กระบี่ ภูเก็ต"โดยอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให้นางปราณี รัตนประยูร  รกท.หน.ผต นำคณะสื่อมวลชนสัญจร ในวันที่ 25 ต.ค.61 ร่วมกิจกรรม ที่หมู่บ้านพรุจูด จ.ตรัง ชมบ่อหินฟาร์สเตย์ ชมการแสดงระบำกลองยาว ร่วมรับฟังการบรรยายของผู้นำชุมชนถึงความเป็นมาของหมู่บ้าน ชมการเลี้ยงปลาในกระชัง ลงเรือชมวิถีประมงพื้นบ้าน ชมบ่อน้ำพุร้อนเค็ม เกาะหลอหลอ ชมการสาธิตการปลูกหญ้าทะเลที่อ่าวบุญคง และชมหาดเก็บตะวัน ร่วมรับประทานอาหารกลางวันพื้นถิ่นพร้อมชมการแสดงลิเกป่า ณ หมู่บ้านพรุจูด จ.ตรัง  เสร็จแล้วเดินทางไปยัง หมู่บ้านไหนหนัง จ.กระบี่ ร่วมกิจกรรมที่นี่ ล่องเรือชมหมู่เขากาโรส 1 ชั่วโมง เยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจผึ้งโพรง ชมและช้อปสินค้าแปรรูป เยี่ยมกลุ่มไร่นาสวนผสมและบุฟเฟ่ผลไม้ ชมผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน  เดินทางเข้าพักที่โรงแรมดีวารีไม้ขาวบีช ภูเก็ต

หมู่บ้านพรุจูด  เป็นชื่อหมู่บ้านของตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จ.ตรัง เดิมพื้นที่เป็นลักษณะลุ่มๆดอน ๆ ไม่เรียบ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าพรุ ดินมีลักษณะเป็นเลนน้ำทะเลท่วมถึง  และมี"ต้นจูด"ขึ้นหนาแน่นมาก  "จูด"เป็นพันธุ์ไม้จำพวก "กก" (Sedge) ลักษณะลำต้นกลมสีเขียวอ่อน สูงประมาณ 1-2 เมตร ออกดอกเป็นกระจุกแน่นคล้ายดอกกระเทียมที่ข้างลำต้นใกล้ยอดกระจุกหนึ่ง และมีช่อดอกปลายลำต้นอีกหนึ่งช่อ ใบเล็กประกอบช่อด้วย ชอบขึ้นในพื้นที่น้ำขัง เรียกโพระหรือพรุ 

ต้นกระจูด นำไปผึ่งแดดให้แห้งสนิท  นำมาผลิตเป็นจักสาน  ทำเสื่อปูรองนั่งเรียกว่า 'เสื่อกระจูด' หรือ 'สาดกระจูด'  นิยมสานลวดลาย มาตรฐาน คือ ลายขัดสอง หรือลายขัดสาม  จนพัฒนาดัดแปลงลวดลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจันทร์ ลายก้านต่อดอก ลายโคม ลายแก้วเนื่อง ลายแก้วบ้านดอน ลายตัวหนังสือ และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์มากมายในปัจจุบัน 

ชื่อหมู่บ้าน"พรุจูด" เป็นการรวมคำว่า"พรุ"กับ"จูด"  ที่นี่มี “แพพรุจูด” แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจ.ตรัง กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ เนื้อที่เกือบ 100 ไร่ ใช้ไม้ไผ่ยาวๆ ค้ำล่องไปตามธรรมชาติที่สวยงาม นักท่องเที่ยวร่วมรับประทานอาหารมื้อเที่ยงพื้นถิ่นที่นี่แล้วเดินทางต่อไปยังจ.กระบี่ ร่วมทำกิจกรรมที่หมู่บ้านไหนหนัง ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก อีกแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามของธรรมชาติ  ลักษณะภูมิทัศน์ที่ทุกคนต้องประทับใจ  มีทั้งป่าชายเลน แม่น้ำ คลอง เวิ้งอ่าว เทือกเขาหินปูน และร่องรอยประวัติศาสตร์ หลากหลายทัศนียภาพ  สวยงามผสมผสานกันอย่างลงตัว บ้านไหนหนัง แบ่งเส้นทางท่องเที่ยวเป็น  2 เส้นทาง ได้แก่ การท่องเที่ยวชมธรรมชาติทางทะเล การพายเรือคายัค ชมป่าโกงกาง และชมภาพเขียนสีเขากาโรส ส่วนท่องเที่ยวทางบก ได้แก่ การเยี่ยมชมกลุ่มอาชีพ ที่มีหลากหลาย ผลิตภัณฑ์ OTOP โดดเด่น ได้แก่ น้ำผึ้งจากผึ้งโพรง สบู่น้ำผึ้ง แชมพูน้ำผึ้ง  น้ำพริกปลากรอบ ขนม
กะหรี่ปั๊บ กะปิ ข้าวสารปลอดสารพิษ ปลาส้ม สเปรย์ตะไคร้หอม โรตีกรอบ

สำหรับกลุ่มองค์กรภายในหมู่บ้านที่สำคัญได้แก่เครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนบ้านไหนหนัง กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านไหนหนัง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งบ้านไหนหนัง กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนบ้านไหนหนัง กลุ่มไร่นาสวนผสม กลุ่มเย็บปักถักร้อย กองทุนหมู่บ้านไหนหนัง ธนาคารขยะธนาคารต้นไม้ ธนาคารปูม้า เป็นต้น

นักท่องเที่ยวจะนั่งเรือหัวโทงชมความสวยงามของเขากาโรสที่มีความยาวถึง 7-8 กิโลเมตร พายเรือคายัคผ่านช่องลอดเขาที่ข้างในถูกโอบล้อม ไปด้วยภูเขา ชมประติมากรรมทางธรรมชาติ "ภูเขาหน้าผี หุบผา ปีศาจ"ถ่ายภาพชิคๆคูลๆบนถ้ำหน้าต่างมนุษย์โบราณ เล่นน้ำฟินๆบนหาดอ่าวมะขาม พายเรือคายัคเข้าลากูนเลใน



อธิบดีพช.นำสื่อมวลชนสัญจร..สัมผัส OTOP Village 4 จังหวัดอันดามันสตูล-ตรัง-กระบี่-ภูเก็ต..ไปแล้วจะรัก..


อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน"นิสิต จันทร์สมวงศ์"นำทีมสื่อลงพื้นที่เยือนชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว  ในเส้นทางที่
6 อันดามัน"สตูล ตรัง กระบี่ ภูเก็ต" พร้อมเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมเดินทาง  สัมผัสบรรยากาศท่องเที่ยววิถีชุมชน  เรื่องราวดีดีจากหมู่บ้าน OTOP ปากบารา&บ่อเจ็ดลูก เสน่ห์พื้นถิ่นสมกับความเป็นอุทยานธรณีโลก เยือนบ้านพรุจูด-บ่อหินฟาร์มสเตย์แวะบ้านหนังไหนแหล่งเที่ยวบริสุทธิ์ นั่งสามล้อชมจุดเครื่องบินแลนดิ้ง ไปดูการทำ"ส้มควาย"ที่บ้านหัวควน เชคอิน แชะ ชม ชิม ช้อป แชร์..ไป.แล้วจะ..รัก..





                ทั้งนี้เป็นไปตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ เน้นการ
สร้างโอกาส อาชีพและการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาเส้น
ทางการท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและ
ประเพณีดั้งเดิมของชุมชน สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้สร้างความเข้ม
แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน  
นอกจากเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปเกิดการรับรู้ รับทราบ เข้าใจ มีทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อมั่นไว้วางใจในด้านภาพลักษณ์ของกรมการพัฒนาชุมชนและภาพลักษณ์การดำเนินงานโครงการฯจนนำไปสู่การเชื่อมโยงเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนหรือเกิดความร่วมมือกับองค์กรในการพัฒนาต่อยอดแล้ว ยังสนับสนุนและตอบโจทย์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับพื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ  สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับคนในชุมชน เสริมความแกร่งให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง

นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายจากกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้จัดทำโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ตามเขตพัฒนาการท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยใช้อัตลักษณ์ของท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าและคุณค่า ภายใต้การบูรณาการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนนั้นที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง สามารถส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการตื่นตัวและเกิดการรวมพลังในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรของชุมชนให้มีคุณค่า ช่วยสร้างงานและสร้างรายได้ โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการต่อยอดโครงการฯ ด้วยการจัดกิจกรรมสื่อมวลชนเยี่ยมชมหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว (Press Tour) เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ชุมชนเพื่อการเผยแพร่ไปยังสื่อต่างๆดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังหมู่บ้านโอทอปเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งได้นำร่องเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณา ชุด OTOP Village..ไปแล้วจะรัก  สื่อแนวคิด เที่ยว-หา-เรื่องโดยมี เต๋อ-ฉันทวิชช์ ธนะเสวีเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ไปแล้ว
           


     โดยเส้นทางที่ 6  ระหว่างวันที่  24-26 ตุลาคม 2561  เป็นเส้นทาง อันดามัน"สตูล ตรัง กระบี่ ภูเก็ต"
วันที่ 24 ต.ค. ตั้งต้นกันที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา หนึ่งในพื้นที่อุทยานธรณีโลก ลงพื้นที่เยี่ยมชุมชนปากบารา ,บ่อเจ็ดลูก ต.ปากน้ำ อำเภอละงู  จ.สตูล  สำหรับหมู่เกาะเภตรา มีพื้นที่ 494.38 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมที่ดินป่าเกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่  และหมู่เกาะใกล้เคียงนับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 49 ของประเทศไทย ชมสะพานข้ามเวลา เชคอิน ณ จุดชมวิวปากบารา ที่ตั้งของท่าเรือท่องเที่ยว ชมกลุ่มหัตถศิลป์พื้นบ้านปากบารา ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวและสินค้าโอทอป  เยือนแหลมเต๊ะปันชมวิถีชาวประมงบ้านปากบารา ชมวิถีชีวิตดั้งเดิมสัมผัสวิถีการขุดหอย ทักทายปูทหาร ซึ่งที่นี่มีทั้งอาหารทะเลสดและแปรรูป ยังมีรังนกเกรดดี   มีอาหารพื้นเมือง เช่น แกงตูมิ ยำปลาหลังเขียว ปลายัดไส้ ฯ มีวัฒนธรรมพื้นถิ่น เช่น การร่ายรำการีกีปัส ระบำชาชัก 
                ไปยังอ่าวโต๊ะบ๊ะ เกาะเขาใหญ่  ที่มีจุดชมวิวที่สวยที่สุด ชมแหล่งฟอสซิลได้ท้องทะเลในยุคออโดวิเชียนเมื่อสี่ร้อยล้านปี พร้อมกับรับประทานอาหารเที่ยงพื้นถิ่น อิ่มท้องแล้วค่อยล่องเรือคายัคถ้ำลอดพบรัก ,ถ้ำโล๊ะพางของโจรสลัด ระหว่างทางชมความงามของจันผาพันปี ชมประติมากรรมธรรมชาติสรรค์สร้างความมหัศจรรย์ของหินคล้ายปราสาทที่มียอดแหลมนับพัน หนึ่งในนั้นคือ ปราสาทหินพันยอด ที่ต้องพายเรือคายัคลอดผ่านช่องแคบเข้าไป ชมผาใช้หนี้ หินตาหินยายและสันหลังมังกร
                 เยี่ยมบ้านบ่อเจ็ดลูก หรือที่ภาษามาลายูเรียกว่า ลากาตูโยะมีตำนานเล่าว่าบุคคลกลุ่มแรกที่เข้าไปอาศัยอยู่เป็นพวกชาวเลหรือชาวน้ำที่อพยพมาจากเกาะซึ่งอยู่ห่างไกลออกจากฝั่งไปมาก เมื่ออพยพมาอยู่นั้น พวกเขาได้ขุดบ่อน้ำบ่อแล้วบ่อเล่าก็ไม่มีน้ำจนถึงบ่อที่ 7 ถึงจะมีน้ำออกมา ใช้เป็นน้ำดื่มน้ำใช้ โดยหลักฐานยังมีปรากฏถึงทุกวันนี้ จึงได้ชื่อว่า บ้านบ่อเจ็ดลูก

*********************