pearleus

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

งาน “สมุทรสาครเกษตรแฟร์ 2559”

เมื่อ 31  มีนาคม  2559  นายแมนรัตน์  รัตนสุคนธ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  เป็นประธานพิธีเปิดงาน งาน สมุทรสาครเกษตรแฟร์ 2559” นายเศรณี  อนิลบล เกษตรจังหวัดสมุทรสาคร  กล่าวเปิดงาน โครงการตามแผนพัฒนาจังหวัดสมุทรสาคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โครงการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิต  การแปรรูปและการใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรกิจกรรม  การตลาดและการเชื่อมโยงเครือข่ายสินค้าเกษตร  งาน สมุทรสาครเกษตรแฟร์ 2559” ซึ่งจัดงานระหว่างวันที่  30 มีนาคม 3 เมษายน  2559 ณ ศูนย์การค้าพอร์โต้ ชิโน่  ในการจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ซึ่งสนับสนุนให้มีการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตด้านการเกษตร ตลอดจนการประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตร  โดยกิจกรรมในงานจะประกอบด้วยการจัดจำหน่ายสินค้าการเกษตรและแปรรูป  จำนวน 54 ร้านค้า จากตัวแทนเกษตรและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  ที่ทางอำเภอได้คัดเลือกให้มาจำหน่ายและการประกวดผลไม้  จำนวน 5 ประเภทคือ มะพร้าวน้ำหอม มะนาวแป้น ฝรั่งพันธ์กิมจู ฝรั่งพันธ์แป้นสีทอง มะม่วงน้ำดอกไม้สุก โดยผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร  ดังนี้ รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 เงินสด 3,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 เงินสด 2,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เงินสด 1,000 บาท และรางวัลชมเชย เงินสด 500 บาทสองรางวัล

                ในการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนเกษตรกร 























รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรมนำร่องพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ แห่งแรกที่จังหวัดภูเก็ต ย้ำ “พลังประชารัฐ” จะช่วยผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

          เมื่อ  31 มี.ค. 59  เวลา 10.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต Social Enterprise (SE ภูเก็ต) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับรายได้ของประเทศ ควบคู่กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยรัฐบาลได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (Public Private Steering Committee) ขึ้น มีคณะกรรมการบริหารและคณะทำงานร่วมรัฐ-เอกชน-ประชาชน (ประชารัฐ) 12 คณะ และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าทีมภาครัฐของคณะทำงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) และคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชน ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนกิจกรรมของคณะทำงานชุดดังกล่าวในวันนี้
          สำหรับกิจกรรมในวันนี้ เวลา 10.15 น. ได้มีพิธีลงนามการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐพื้นที่ โดย นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในนามคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัด คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน ลงนามร่วมกับ กลุ่ม/ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งถือการเปิดตัว   บริษัทประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต จำกัด (Social Enterprise : SE ภูเก็ต) อย่างเป็นทางการ โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน
          จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวเปิดกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ    ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (SE ภูเก็ต) และมอบนโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยกล่าวว่า จุดมุ่งหมาย    ในการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ คือ การเสริมสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนและชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความสุข ซึ่งภายหลังได้รับมอบภารกิจจากรัฐบาล คณะทำงานฯ ก็ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยมีกรอบการขับเคลื่อนงานภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์พระราชทาน “ระเบิดจากข้างใน” ที่ยึดปัญหาความต้องการของประชาชนเป็นตัวตั้ง เน้นการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ ด้านการเกษตร ด้านการแปรรูป SME/OTOP และด้านการท่องเที่ยวชุมชน โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีความเข้มแข็งและเกิดความยั่งยืน   ใน 5 ด้าน คือ 1.การเข้าถึงปัจจัยการผลิต 2.การบริหารจัดการ 3.การสร้างองค์ความรู้ 4.การตลาด และ 5.การสื่อสารสร้างการรับรู้
มีการดำเนินงาน
ในลักษณะหุ้นส่วนภาครัฐ เอกชน และประชาชน (ประชารัฐ) เน้นการขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมที่เป็น Action Agenda ใน 3 ประเด็นหลัก คือ ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนโดยยึดความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้ง พัฒนาคุณภาพคน เน้นสร้างองค์ความรู้ในระดับชุมชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เน้นสร้างขีด

ความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และมีช่องทาง (Platform) กำหนดพื้นที่ดำเนินการใน18 กลุ่มจังหวัดตามศักยภาพและความพร้อมของพื้นที่ โดยระยะที่ 1 จะดำเนินการ 5 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต เพชรบุรี อุดรธานีเชียงใหม่ และบุรีรัมย์
          สำหรับการเปิดกิจกรรมครั้งแรกที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความพร้อม โดยทีมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดภูเก็ต ได้ลงพื้นที่ไปพบปะพูดคุยกับประชาชนอย่างใกล้ชิด จนทำให้ทราบปัญหาและความต้องการของประชาชนฐานราก และนำปัญหาและความต้องการของประชาชนมาสรุป วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เช่น 1. ด้านการเกษตร ได้แก่ ศักยภาพและปัญหาของสับปะรดภูเก็ต ผักเกษตรอินทรีย์ นมแพะ และกุ้งมังกร (Lobster) 2. ด้านการแปรรูป SME/OTOP ได้แก่ ผ้าบาติก จากนั้นก็ได้นำข้อมูลทั้งหมดมาสู่การจัดทำโครงการร่วมกับชุมชนในลักษณะ Social Enterprise กำหนดโครงการ  ที่จะดำเนินการหลายโครงการสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาธุรกิจสับปะรด อย่างครบวงจรทั้งด้านปัจจัยการผลิต       โดยการระดมทุนจากภาคเอกชนผ่าน Social Enterprise ภูเก็ต การจัดหาพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณ การผลิต        ด้านบริหารจัดการ โดยพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดให้เข้มแข็ง จัดตั้งศูนย์พัฒนาธุรกิจสับปะรด ส่งเสริมการแปรรูปให้เป็นน้ำสับปะรด ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการดำเนินการจดGI และสิทธิบัตรของสับปะรดพันธุ์ภูเก็ต ด้านการตลาด Farmers’ Market โดยมีเซ็นทรัลรับซื้อผลผลิต และประสานการจัดซื้อกับกลุ่มโรงแรมในพื้นที่ หรือจำหน่ายในร้านค้าประชารัฐสุขใจช้อป” นอกจากนี้ ยังมีโครงการอื่นๆ ที่จะดำเนินการไปพร้อมๆ กัน เช่น การพัฒนาธุรกิจผักปลอดสารพิษ พัฒนาธุรกิจนมแพะ พัฒนาธุรกิจกุ้งมังกร (Lobster) และพัฒนาธุรกิจผ้าบาติก เป็นต้น

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดภูเก็ตจะเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของพี่น้องชาวภูเก็ตให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม สามารถระดมความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่มาร่วมกันพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถให้กับภาคประชาชน และร่วมกันสร้างสรรค์พลังแห่งความดี เพื่อให้จังหวัดภูเก็ตมีความเจริญเติบโตทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและสมดุล มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เหมาะสม และมีขีดความสามารถ     ในการแข่งขัน สามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางบริบทและสถานการณ์สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน และจะเป็นการจุดประกายให้จังหวัดอื่นๆ ได้เห็นว่า พลังประชารัฐ นั้นยิ่งใหญ่และมีความสำคัญมาก เป็นพลังแห่งความดีที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ทุ่มเทสรรพกำลัง และตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมทั้งผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างแท้จริง อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมของทั้งประเทศเกิดความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนตลอดไป





จังหวัดสมุทรสงครามจัดงานวันที่ระลึกมหาเจษฎาราชเจ้าและวันข้าราชการพลเรือน

เมื่อ 31 มี.ค. 59 นางสาวจิตรา พรหมชุติมา  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ได้นำข้าราชการทุกภาคส่วน และพ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสงคราม ถวายพานพุ่มดอกไม้สดหน้าพระบรมสาทิศลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงความจงรักภักดี แสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรม ต่อพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้น เนื่องในวัน คล้ายวัน พระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็น วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันเจษฎาบดินทร์ เป็นวันสำคัญของชาติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และเห็นชอบให้ให้ถวายพระราชสมัญญาว่า " พระมหาเจษฎาราชเจ้า แปลว่า " พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่

หลังจากเสร็จพิธีถวายราชสักการะวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ผู้ว่าราชการได้เป็นประธานในพิธีวันข้าราชการพลเรือน อัญเชิญพระบรมราโชวาทพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรธรรมคติ สมเด็จพระสังฆราช และสารจากนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน และได้มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อและผลงานเพื่อคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น ในจังหวัดสมุทรสงคราม ประจำปี 2558 จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย นายชูชีพ ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม และนางมยุรี เที่ยงสกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า





ปมท มอบโอวาทการเป็นขรก.ที่ดี

ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดงานการฝึกอบรมหลักสูตร การเป็นข้าราชการที่ดีรุ่นที่ 26
แนะข้าราชการมหาดไทยต้องรู้งาน รู้หน้าที่ จริงจัง จริงใจในการทำงาน
เพื่อประเทศชาติและประชาชน
          เมื่อ 30 มี.ค. 59 ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 5 อาคารสถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย นายกฤษฎา    บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมหลักสูตร การเป็นข้าราชการที่ดีรุ่นที่ 26 จัดขึ้นโดย สถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการของกระทรวงมหาดไทย และข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อให้ทราบถึงระเบียบแบบแผนของทางราชการและการเป็นข้าราชการที่ดี โดยมีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 119 คน ประกอบด้วย ข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมที่ดิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ระยะเวลาการอบรม จำนวน 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม - 8 เมษายน 2559
          โอกาสนี้ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มอบโอวาทให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม โดยกล่าวว่า การบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นคนมหาดไทยนั้น มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ด้วยบทบาทหน้าที่ที่ถูกถ่ายทอดและสะท้อนผ่านอุดมการณ์ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุขเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนให้ได้อยู่ดี มีสุข ข้าราชการบรรจุใหม่จึงเปรียบเสมือนต้นกล้าที่จะต้องได้รับความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และความสำคัญของการเป็น ข้าราชการที่มีหน้าที่ต่อแผ่นดิน ที่จะต้องก้าวเดินในเส้นทางที่ถูกต้องตั้งแต่จุดเริ่มต้นได้รับการปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะ อุดมการณ์ในการทำงาน การครองตนเป็นข้าราชการที่ดีมีคุณธรรมจริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และการทำงานโดยยึดกฎหมาย กฎ ระเบียบ ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสิ่งสำคัญ
          และสิ่งสำคัญที่ฝากให้ข้าราชการมหาดไทยได้นำไปปฏิบัติ คือ 1. ต้องรู้งาน รู้หน้าที่ของตนเอง คนมหาดไทยต้องรู้หลายเรื่อง เนื่องจากงานของมหาดไทยไม่เหมือนงานของกระทรวงอื่นๆ มีภารกิจที่เกี่ยวข้องมาก ดังนั้น จึงต้อง    มีความรู้ในงานต่างๆ หลายๆ ด้าน หากงานบางอย่างที่อาจรู้ไม่ลึกซึ้งก็ขอให้มีความตั้งใจ จริงจัง จริงใจในการทำงาน และหมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ก็จะสามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้งานนั้นสำเร็จได้ 2. เรื่องการครองตนให้เป็นที่ยอมรับนับถือ ในสังคมการทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งมิใช่การยอมรับ ในตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แต่ต้องยอมรับนับถือในตัวเราอย่างจริงใจ ด้วยความเป็นคนดี มีจิตใจโอบอ้อมอารี การทำงานราชการต้องไม่เอารัดเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน มีความอดทนทำงานในหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ ที่สำคัญคือต้องมีความจิตใจที่เข้มแข็งต่อความอยากได้ ความสะดวกสบายที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน จึงขอฝากให้ข้าราชการทุกคนได้นำไปคิดและฝึกฝนตนเองให้มีความเข้มแข็งทางจิตใจมีความมั่นคงในการทำความดี
          สุดท้าย เรื่องความรักความสามัคคี ไม่แบ่งฝัก แบ่งฝ่าย ขอให้ยึดงานราชการซึ่งเป็นงานสาธารณะเป็นที่ตั้งและหวังว่าทุกคนจะเป็นกำลังร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ปฏิบัติราชการด้วยจิตใจที่ยึดมั่นในความดีเพื่อทดแทนบุญคุณของแผ่นดินเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อประโยชน์ต่อราชการ และประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป
ครั้งที่ 71/2559                                                                                            วันที่ 30มี.ค.59

ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดงานการฝึกอบรมหลักสูตร การเป็นข้าราชการที่ดีรุ่นที่ 26
แนะข้าราชการมหาดไทยต้องรู้งาน รู้หน้าที่ จริงจัง จริงใจในการทำงาน
เพื่อประเทศชาติและประชาชน
          วันนี้ (30มี.ค.59) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 5 อาคารสถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย นายกฤษฎา    บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมหลักสูตร การเป็นข้าราชการที่ดีรุ่นที่ 26 จัดขึ้นโดย สถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการของกระทรวงมหาดไทย และข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อให้ทราบถึงระเบียบแบบแผนของทางราชการและการเป็นข้าราชการที่ดี โดยมีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 119 คน ประกอบด้วย ข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมที่ดิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ระยะเวลาการอบรม จำนวน 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม - 8 เมษายน 2559
          โอกาสนี้ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มอบโอวาทให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม โดยกล่าวว่า การบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นคนมหาดไทยนั้น มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ด้วยบทบาทหน้าที่ที่ถูกถ่ายทอดและสะท้อนผ่านอุดมการณ์ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุขเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนให้ได้อยู่ดี มีสุข ข้าราชการบรรจุใหม่จึงเปรียบเสมือนต้นกล้าที่จะต้องได้รับความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และความสำคัญของการเป็น ข้าราชการที่มีหน้าที่ต่อแผ่นดิน ที่จะต้องก้าวเดินในเส้นทางที่ถูกต้องตั้งแต่จุดเริ่มต้นได้รับการปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะ อุดมการณ์ในการทำงาน การครองตนเป็นข้าราชการที่ดีมีคุณธรรมจริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และการทำงานโดยยึดกฎหมาย กฎ ระเบียบ ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสิ่งสำคัญ
          และสิ่งสำคัญที่ฝากให้ข้าราชการมหาดไทยได้นำไปปฏิบัติ คือ 1. ต้องรู้งาน รู้หน้าที่ของตนเอง คนมหาดไทยต้องรู้หลายเรื่อง เนื่องจากงานของมหาดไทยไม่เหมือนงานของกระทรวงอื่นๆ มีภารกิจที่เกี่ยวข้องมาก ดังนั้น จึงต้อง    มีความรู้ในงานต่างๆ หลายๆ ด้าน หากงานบางอย่างที่อาจรู้ไม่ลึกซึ้งก็ขอให้มีความตั้งใจ จริงจัง จริงใจในการทำงาน และหมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ก็จะสามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้งานนั้นสำเร็จได้ 2. เรื่องการครองตนให้เป็นที่ยอมรับนับถือ ในสังคมการทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งมิใช่การยอมรับ ในตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แต่ต้องยอมรับนับถือในตัวเราอย่างจริงใจ ด้วยความเป็นคนดี มีจิตใจโอบอ้อมอารี การทำงานราชการต้องไม่เอารัดเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน มีความอดทนทำงานในหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ ที่สำคัญคือต้องมีความจิตใจที่เข้มแข็งต่อความอยากได้ ความสะดวกสบายที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน จึงขอฝากให้ข้าราชการทุกคนได้นำไปคิดและฝึกฝนตนเองให้มีความเข้มแข็งทางจิตใจมีความมั่นคงในการทำความดี
          สุดท้าย เรื่องความรักความสามัคคี ไม่แบ่งฝัก แบ่งฝ่าย ขอให้ยึดงานราชการซึ่งเป็นงานสาธารณะเป็นที่ตั้งและหวังว่าทุกคนจะเป็นกำลังร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ปฏิบัติราชการด้วยจิตใจที่ยึดมั่นในความดีเพื่อทดแทนบุญคุณของแผ่นดินเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อประโยชน์ต่อราชการ และประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดสมุทรสงคราม

เมื่อ 30 มี.ค.59 นายสุริยัณห์ จิรสัตว์สุนทร ปลัดจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดสมุทรสงคราม ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดฯ เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของส่วนราชการโดยมีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดฯ ในการจัดโครงการเพื่อป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ การเพิ่มความรู้และสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงการค้ามนุษย์ในระดับตำบล การตั้งจุดตรวจ สกัดกั้น การร่วมกันออกตรวจสภาพการจ้างงานและการทำงานในเรือประมงน่านน้ำสมุทรสงคราม การจัดระเบียบตลาดปลาแม่กลอง,การจัดระเบียบขอทานตามตลาดต่าง ๆในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ,การตรวจสอบร้านคาราโอเกะ สถานบริการ สถานบันเทิง เรือประมง แพปลา สะพานปลา ท่าจอดเรือ แต่ยังไม่พบการค้ามนุษย์แต่อย่างใด




สืบสวนบ้านแพ้ว จับเครือข่ายค้ายาเสพติด

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 59  เวลาประมาณ 11.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการสืบสวน ภายใต้การควบคุมของ พ.ต.อ.สาโรจน์ รอดมณี ผกก.สภ.บ้านแพ้ว สั่งการให้ พ.ต.ต.ไพฑูรย์ อินทร์มณี สว.สส.สภ.บ้านแพ้ว,ร.ต.อ.ปนรัฐ พรหมศิริ รอง สว.สส.ฯ,ร.ต.อ.วีรวัฒน์ สว่างรุ่งโรจน์ชัย รอง สว.สส.ฯ, พร้อมด้วยชุดสืบสวน + สายตรวจสวนส้ม ร่วมกันจับกุม พ.ร.บ.ยาเสพติด  2  ราย ผู้ต้องหา   2   คน ดังนี้
(1) จับกุม น.ส.พิมลภัส หรือพิม ไชยเชษฐ์ อายุ 16 ปี อยู่บ้านเลขที่ 371/1 ม.2 ต.บึงพระ อ.เมือง จว.พิษณุโลก ข้อหา ครอบครองกัญชา 9.09 กรัม
(2) จับกุม นายมาวิน หรือแดง ทองเต็ม อายุ 24 ปี อยู่บ้านเลขที่ 14/2 ม.7 ต.หลักสอง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ข้อหา มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (ยาบ้า) ไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายของกลางยาบ้า 50 เม็ด ดำเนินการสอบถามขยายผลไม่สามารถต่องานได้
จับกุมตัวที่ ม.2 ต.สวนส้ม อ.บ้านแพ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร
 นำส่ง พงส.สภ.บ้านแพ้ว ดำเนินคดีต่อไป.

  เงาพญาราหู รายงาน

รับอรุณเพลิงไหม้ MiNi coffee เทศบาล 8 เรียบ

เมื่อเวลา 06.20 น.วันที่ 30 มี.ค. 59 ร.ต.อ.ชัยวัฒน์ ตุนชัยภูมิ ร้อยเวร สภ.เมืองสมุทรสาคร รับแจ้งเกิดเพลิงไหม้ภายในร้านกาแฟ MiNi coffee ฝั่งตรงข้ามสำนักงานประกันสังคม ถ.นรราชอุทิศ หมู่ที่ 8 ต.ท่าทราย อ.เมืองสมุทรสาคร จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบก่อนเดินทางไปยังที่เกิดเหตุพบต้นเกิดเพลิงอยู่ภายในห้องกระจกที่เป็นเคาว์เตอร์บาร์สำหรับชงกาแฟลุกโชน ขณะเกิดเหตุ นายสุภาพ แซ่เฮ้ง นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร ได้มาอำนวยการนำรถดับเพลิงจำนวน 2 คัน พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่มาทำการน้ำมาฉีดสกัดเพลิงประมาณ 30 นาที จึงสงบ
 จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบว่าร้านกาแฟที่เกิดเหตุเพลิงไหม้มี น.ส.วันทา แก้วกล่อง เป็นเจ้าของ พอมาเห็นสภาพร้านถึงกับเข่าอ่อนและเมื่อตรวจพบว่าที่ประตูด้านหลังมีร่องรอยถูกงัด ส่วนทรัพย์สินภายในร้านเช่น เครื่องทำกาแฟ โต๊ะ ตู้ โซฟาร์แอร์และส่วนเข้าของภายในร้านถูกเพลิงไหม้ได้รับความเสียหายหมด ค่าเสียหายกว่าสองแสนบาท ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการสอบสวน.

  เงาพญาราหู รายงาน






วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามลงพื้นที่ตรวจเรือประมง ตรวจสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน ไม่พบผู้ทำผิดกฎหมาย

เมื่อ 29 มี.ค. 59 นางสาวจิตรา พรหมชุติมา  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมด้วยสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด,แรงงานจังหวัด,จัดหางานจังหวัด,ประชาสัมพันธ์จังหวัดฯประมงจังหวัด,พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด,ตำรวจภูธรจังหวัดซึ่งเป็นคณะทำงานศูนย์บริหารจัดการแรงงานภาคประมงจังหวัดสมุทรสงคราม ออกตรวจเรือประมงทะเลในพื้นที่น่านน้ำจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อตรวจสภาพการจ้าง,สภาพการทำงาน การคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเลและการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในกิจการประมงทะเลและกิจการที่เกี่ยวข้อง มิให้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า วันนี้มีการบูรณาการหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจเรือประมง เพื่อตรวจเยี่ยมสถานประกอบกิจการประมงทะเลและที่เกี่ยวเนื่อง จากการลงพื้นที่ตรวจผู้ประกอบการเรือประมง ทั้งเรือประมงพื้นบ้านและเรือประมงขนาดใหญ่ จากการตรวจยังไม่พบมีการทำผิดแต่อย่างใด ซึ่งเรือแต่ละเรือพร้อมมีเอกสารให้ตรวจสอบอย่างสะดวกเห็นได้ว่าเรือทุกลำปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และจังหวัดได้มีแผนการออกตรวจเป็นประจำ




ลดอุบัติเหตุทางถนนย้ำทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน รณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืน


 เมื่อ
24 มี.ค. 59 เวลา13.30 น. ที่ห้องประชุม 1 อาคาร 3 ชั้น5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่2/2559 เพื่อติดตามการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2559 พร้อมพิจารณาสนับสนุนเครื่องมือในการตรวจจับผู้กระทำความผิด การปรับปรุงแก้ไขฐานความผิดและบทลงโทษให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมถึงบูรณาการฐานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนให้เป็นระบบ เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุและการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือน้อยที่สุด และสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในสังคมไทยอย่างยั่งยืน
           พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เปิดเผยว่า อุบัติเหตุทางถนนนับเป็นปัญหาสำคัญที่สร้างความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยรัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นนโยบายสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในช่วงปกติและช่วงเทศกาลสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมา ศปถ.ได้เตรียมความพร้อมในการลดอุบัติเหตุทางถนน โดยกำหนดแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2559 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานช่วงเทศกาลดังกล่าว และเป็นที่ทราบแล้วว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ อาทิเช่น การขับรถเร็ว การเมาสุราแล้วขับรถ เป็นต้น ซึ่งได้มีการรณรงค์มาโดยตลอด พร้อมทั้งได้กำหนดมาตรการต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ในการป้องกันอุบัติเหติเพื่อลดความสูญเสียมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีมาตรการดำเนินการ ดังนั้น ขอให้ทุกหน่วยช่วยกันดำเนินการตามมาตรการต่างๆ อย่างจริงจังเพื่อให้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม สำหรับปัจจัยที่ต้องดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้  ได้แก่ 1.ในการป้องกันและลดความสูญเสีย โดยรณรงค์ประชาสัมพันธ์ตามมาตรการและขอให้ดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้เข้าใจและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การไม่ขับรถเร็ว การขับรถไม่ประมาท และการเมาสุราแล้วขับรถ และ 2.การใช้น้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขณะนี้เราประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ และมีปริมาณน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยเฉพาะช่วงเทศกาล ควรรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัด คุ้มค่า และถือปฏิบัติตามประเพณีอันดีงามที่ควรอนุรักษ์เชิงสร้างสรรค์ และเชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยในส่วนภูมิภาคให้ดำเนินการป้องกันปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด สงกรานต์ปลอดภัย ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สร้างวินัยจราจรและดำเนินการตาม 5 มาตรการหลัก ได้แก่ 1.มาตรการด้านการบริหารจัดการ ขับเคลื่อนการลดอุบัติเหตุโดยใช้กลไกในส่วนกลาง ภูมิภาค และระดับพื้นที่พร้อมส่งเสริมชุมชนร่วมลดอุบัติเหตุทางถนน 2.มาตรการด้านถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย ปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยงบนถนนและสภาพแวดล้อมริมทางให้ปลอดภัย และวางแผนอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน 3.มาตรการด้านยานพาหนะปลอดภัย ตรวจสอบยานพาหนะให้มีความปลอดภัย โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะ 4.มาตรการผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย บังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเข้มงวด และรณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนน 5.มาตรการด้านการตอบสนองหลังเกิดเหตุ เตรียมพร้อมทีมกู้ชีพกู้ภัยให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ จุดเกิดเหตุ อย่างรวดเร็ว
          นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้พิจารณาการสนับสนุนอุปกรณ์ตรวจจับผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร เพื่อให้กลไกการบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุ ทั้งการขับรถเร็วและเมาแล้วขับ รวมถึงผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 กรณีเมาสุราขณะขับรถให้มีการบัญญัติฐานความผิดและบทลงโทษครอบคลุมผู้ขับขี่รถจักรยาน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่นิยมใช้รถจักรยานเป็นยานพาหนะในการเดินทางมากขึ้น นอกจากนี้ ได้พิจารณาการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดพร้อมบูรณาการฐานข้อมูลให้ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อนำไปใช้ในการติดตามประเมินผลและวางแผนแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งจะช่วยยกระดับการสร้างความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทยให้มีมาตรฐานสากล และถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนวาระ ประเทศไทยปลอดภัย (Safety Thailand)

        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนการลดอุบัติเหตุทางถนนสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย ได้เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันรณรงค์และดำเนินการตามมาตรการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการลดปัจจัยเสี่ยงให้สอดคล้องกับสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ โดยเฉพาะการควบคุมการใช้ความเร็วในการขับรถ การเมาสุราแล้วขับ รวมถึง การแก้ไขจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ เพื่อสร้างความปลอดภัยจากการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตลอดจนการคุมเข้มพฤติกรรมเสี่ยงจากการเล่นน้ำที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และส่งเสริมการเล่นน้ำตามประเพณีเพื่อความสวยงามและปลอดภัย