pearleus

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

จังหวัดสมุทรสาครจัดประชุมสมัชชาสตรีและสมัชชาครอบครัว

IMG_1994 IMG_1988 การประชุมสมัชชาสตรีและสมัชชาครอบครัว เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงาน ด้านสตรีและครอบครัว และระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่การกำหนดแนวทาง การแก้ไข ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพสตรีและสถาบันครอบครัว และขับเคลื่อนสู่ระดับจังหวัด

วันนี้ 2 เมษายน 2557 เวลา 09.15 น. ณ ภัตตาคารนิวรสทิพย์ จังหวัดสมุทรสาคร ว่าที่ร้อยตำรวจโทอาทิตย์ บุญญะโสภัต ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมสมัชชาสตรีและสมัชชาครอบครัว จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทาง ในการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัว เพื่อระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และรวบรวมเป็นข้อเสนอของสมัชชาสตรีและครอบครัวระดับจังหวัดนำไปสู่การกำหนดแนวทางการแก้ไข ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพสตรีและสถาบันครอบครัวอันจะนำไปสู่ การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ ในระดับชาติ มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 80 คน ประกอบด้วย กลุ่ม/องค์กรสตรี กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ตัวแทนศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน สมาชิกสภาเด็กและเยาวชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน สื่อมวลชน อาสาสมัครด้านการพัฒนาสังคม องค์กร/สภาชุมชน

กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การนำเสนอสถานการณ์ สถิติและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสมัชชาสตรีและสมัชชาครอบครัว โดย นางอนุสรณ์ อินทร์กำแพง อดีตพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรสาคร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึงเกี่ยวกับประเด็นสมัชชาสตรีและสมัชชาครอบครัว รวม 6 ประเด็น และการสรุปข้อเสนอสตรีและสมัชชาครอบครัวจังหวัดสมุทรสาคร ประจำปี 2557

จังหวัดสมุทรสาคร เปิดโครงการสืบชะตาทะเลอ่าวไทยตอนบนสมุทรสาคร ครั้งที่ 3

IMG_0578  จังหวัดสมุทรสาครจัดพิธีสืบชะตาทะเลอ่าวไทยตอนบนสมุทรสาคร ครั้งที่ 3 เพื่อฟื้นฟูและคืนความสมดุลสู่ธรรมชาติ รวมทั้งสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนโดยเฉพาะชาวประมงได้เห็นถึงความสำคัญของแหล่งทรัพยากรทางทะเลIMG_0579

วันที่ 8 เมษายน 2557 เวลา 10.00 น. ว่าที่ร้อยตำรวจโทอาทิตย์ บุญญะโสภัต ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครเป็นประธานเปิดโครงการสืบชะตาทะเลอ่าวไทยตอนบนสมุทรสาคร ครั้งที่ 3 ณ บริเวณลานริมเขื่อน ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จัดโดยสมาคมการประมงสมุทรสาครร่วมกับจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเลและประมงชายฝั่งที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ รวมทั้งมีการปลูกจิตสำนึก ให้ทุกคนในจังหวัดสมุทรสาครได้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของทรัพยากรทางทะเล เนื่องจากปัจจุบันอ่าวไทยตอนบนได้รับผลกระทบจากการประกอบการหลากหลายชนิด ซึ่งทำให้ระบบนิเวศ เกิดความเสื่อมโทรม ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว โดยกิจกรรมในโครงการสืบชะตาทะเลอ่าวไทยตอนบนสมุทรสาคร ครั้งที่ 3 ประกอบด้วย

           1. การปล่อยพันธุ์กุ้งทะเล จำนวน 1 ล้านตัว สนับสนุนโดยประมงจังหวัดสมุทรสาครและศูนย์วิจัย และพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร

          2. การจมปะการังเรือประมง จำนวน 4 ลำ และกิจกรรมร่วมบริจาคเพื่อซื้อเรือประมงเก่าทิ้งเป็นปะการังนอกจากนี้ยังมีการสมทบทุนจัดสร้างปะการังเทียมกับจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้เป็นที่อยู่และขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ

        3. สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และไหว้ฮ้อเฮียตี๋ พิธีกรรมทางศาสนาเพื่อเป็นการสร้างบุญกุศล เพื่อช่วยปกป้องคุ้มครองชาวประมงให้มีความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนและมั่นคงตลอดไป

จังหวัดสมุทรสาครลงพื้นที่ตรวจแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในกิจการ ล้ง

IMG_9411 จังหวัดสมุทรสาครบูรณาการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจตรวจสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน การค้ามนุษย์ และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในสถานประกอบการล้ง และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง

วันที่ 9 เมษายน 2557 เวลา 09.00 น. สำนักสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงแรงงาน ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสมุทรสาคร ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร ประมงจังหวัดสมุทรสาคร อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร สถานีตำรวจน้ำ 4 กองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน การค้ามนุษย์ และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในสถานประกอบการล้ง และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง ที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 3 แห่ง คือ ล้งนายเนตร สาสนอ่ำ ล้งนายวิทูรย์ ธำรงกิจเจริญ และล้งอุ๊ย เน้นการตรวจเรื่องใบอนุญาตทำงาน หนังสือพาสปอร์ต การใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และแรงงานต่างด้าว ย้ายนายจ้างผิดกฎหมายแรงงาน โดยเฉพาะแรงงาน ที่มีใบอนุญาตทำงานในเรือประมงแต่มาทำงานในสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมผลการตรวจสอบพบแรงงานต่างด้าวชาวพม่าย้ายนายจ้างผิดกฎหมายแรงงาน จำนวน 7 ราย และผู้ประกอบการจ่ายค่าแรงแรงงานต่างด้าวชาวพม่าต่ำกว่ากฎหมายกำหนด โดยจ่ายที่ 220 บาทต่อวัน จำนวน 3 ราย

IMG_9487 ทั้งนี้การลงพื้นที่ตรวจสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน การค้ามนุษย์ เพื่อป้องปรามผู้ประกอบกิจการให้ปฏิบัติ ต่อแรงงานให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของแรงงาน ซึ่งความผิดต่างๆที่ตรวจพบเจ้าหน้าที่จะดำเนินคดีต่อลูกจ้างและนายจ้างผู้กระทำความผิดตามกฎหมายต่อไป

สมุทรสาครเปิดงาน “วันผู้สูงอายุแห่งชาติและวันแห่งครอบครัว จังหวัดสมุทรสาคร ประจำปี 2557”

IMG_0584 จังหวัดสมุทรสาครจัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติและวันแห่งครอบครัว จังหวัดสมุทรสาคร ประจำปี ๒๕๕๗ เพื่อยกย่องเชิดชูและระลึกถึงคุณความดีของผู้สูงอายุ และกระตุ้นให้ประชาชนทุกคนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญ ของสถาบันครอบครัว

วันที่ 9 เมษายน 2557 เวลา 09.00 น. ณ ลานหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "วันผู้สูงอายุแห่งชาติและวันแห่งครอบครัว จังหวัดสมุทรสาคร ประจำปี 2557” จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร หอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดสมุทรสาคร ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคมเพราะผู้สูงอายุมักจะเป็นที่พึ่งทางใจ ของบุตรหลาน เป็นที่เคารพนับถือของบุคคลในวงศาคณาญาติ ตลอดจนเป็นคลังปัญญาที่สามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับคนรุ่นหลังได้อนุรักษ์และสืบทอด ผู้สูงอายุจึงควรที่จะได้รับการยกย่องจากสังคมในฐานะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความคิดอ่านสุขุมรอบคอบ เป็นผู้ที่เคยทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมเมื่อครั้งที่อยู่ในวัยทำงาน และเป็นวัยที่ต้องการ การเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ดังนั้นจะต้องให้การยกย่องเชิดชูเกียรติ แสดงความกตัญญู และให้โอกาสแก่ผู้สูงอายุ เป็นคนสำคัญของครอบครัวและสังคม ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจในชีวิต อันจะนำมาซึ่งสุขภาพที่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจ การที่ทางราชการได้กำหนดวันผู้สูงอายุและวันแห่งครอบครัวขึ้นมาเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดความรักความผูกพันระหว่างสมาชิกในครอบครัวและสังคม ตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุและความสำคัญของสถาบันครอบครัว การทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ซึ่งจะส่งผลให้สังคมไทย เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็ง และสามารถช่วยลดปัญหาต่างๆของสังคมได้

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การมอบโล่ครอบครัวร่มเย็น การมอบเกียรติบัตรแก่หน่วยงาน และบุคคลที่สนับสนุนการจัดงาน การมอบของขวัญแก่ผู้สูงอายุที่มาร่วมงาน พิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การแสดงผลงานคลังปัญญาผู้สูงอายุดีเด่น การประกวดการแต่งกายสวยงามของผู้สูงอายุประเภทกลุ่ม นิทรรศการ และการให้บริการ ของหน่วยงานต่างๆ โดยมีผู้ร่วมงานทั้งสิ้น 1,000 คน

ขอเชิญเที่ยวงาน สมุทรสาคร EXPO 2014

ครึ่งหน้า นสพ. 37x25 cm.jpg-1 ขอเชิญเที่ยวงาน สมุทรสาคร EXPO 2014

29 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2557

ณ ตลาดทะเลไทย จังหวัดสมุทรสาคร

เรือบรรทุกกากน้ำมันจมลงบริเวณปากอ่าวมหาชัย

1 เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ของวันที่ 8 เมษายน 2557 ว่าที่ร้อยตำรวจโทอาทิตย์ บุญญะโสภัต ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้ลงเรือตรวจการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเล เพื่อออกไปตรวจติดตามสถานการณ์เรือบรรทุกกากน้ำมันจมลงบริเวณปากอ่าวมหาชัย ห่างจากชายฝั่งทะเลตรงปากคลองประมงพื้นที่หมู่ที่ 8 ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ไปประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร ซึ่งเมื่อเรือตรวจการณ์ไปถึง ก็พบว่า มีเรือของกรมเจ้าท่าโดยนายสุรชัย บุรพานนทชัย ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสมุทรสาคร กำลังให้เจ้าหน้าที่ฉีดพ่นสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) ลงบนพื้นผิวทะเลที่มีคราบน้ำมันลอยอยู่อย่างประปราย ซึ่งสารนี้จะช่วยทำให้คราบน้ำมันที่จับเป็นก้อนสีดำนั้น เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ และจะถูกย่อยสลายไปโดยแสงแดด นอกจากนี้ห่างออกไปประมาณ 20 เมตร มีเรือบรรทุกน้ำมันเก่า(กากน้ำมัน) ลอยอยู่ 1 ลำ กำลังพยายามกู้เรือบรรทุกน้ำมันเก่า(กากน้ำมัน) ที่จมอยู่ใต้ท้องทะเลลึกประมาณ 6.5 เมตร และมีการนำลูกยางมาล้อมรอบไว้เพื่อกั้นไม่ให้คราบน้ำมันกระจายลอยออกไปบริเวณด้านนอก

Image1 Image2 โดยในเบื้องต้นนายสุรชัย บุรพานนทชัย ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสมุทรสาคร ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรือบรรทุกกากน้ำมันที่จมลงและยังไม่สามารถกู้ขึ้นมาได้ว่า เรือลำดังกล่าวเป็นเรือของคนไทย มีความยาวประมาณ 16 เมตร กว้าง 4.5 เมตร และความลึกของเรือ 1.8 เมตร บรรทุกกากน้ำมันมาประมาณ 3 – 6 หมื่นลิตร โดยกากน้ำมันเหล่านี้ทางเรือลำที่เกิดเหตุได้รับมาจากเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ จากนั้นก็กำลังมุ่งหน้าเข้ามาเพื่อจะเทียบท่าที่จังหวัดสมุทรสาคร แล้วก็จะนำกากน้ำมันทั้งหมดถ่ายเทไปขึ้นรถบรรทุก จากนั้นจะนำไปส่งให้กับบริษัทรีไซเคิล ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ หรือไม่ก็จังหวัดสระบุรี เพื่อทำการรีไซเคิลและนำกลับไปใช้ใหม่ โดยจากการสอบถามลูกเรือที่มีอยู่ 5 คนนั้น บอกเพียงแค่ว่าสาเหตุที่เรือจมลงก็เพราะมีน้ำเข้าห้องเครื่อง แต่จะเข้ามาจากทางใดหรือจุดที่น้ำเข้าอย่างแน่ชัดนั้นยังไม่มีใครยอมให้ข้อมูล แต่หลังจากที่ลูกเรือเห็นว่าเรือกำลังจะจมลงก็ได้ทำการปิดวาล์วน้ำมันก่อน จากนั้นก็คาดว่าน่าจะมีการประสานไปยังบนฝั่งเพื่อแจ้งให้ทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และมีเรือจากบนฝั่งมาช่วยเหลือลูกเรือทั้ง 5 คนได้อย่างปลอดภัย ส่วนวิธีการที่จะกู้เรือบรรทุกกากน้ำมันที่จมอยู่ใต้ทะเลลึกประมาณ 6.5 เมตรขึ้นมานั้น ก็คือ ใช้ถังน้ำมันเปล่าใส่เข้าไปในห้องเครื่อง เพื่อให้ถังน้ำมันเปล่าเข้าไปแทนที่น้ำ ซึ่งก็จะทำเรือก็จะเบาและยกตัวลอยขึ้นมาได้เอง ขณะที่ในส่วนของปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลออกมานั้น ยังไม่สามารถที่จะประเมินได้ คงต้องรอให้กู้เรือขึ้นมาได้ก่อน ซึ่งก็คาดว่าจะสามารถกู้เรือได้เสร็จสิ้นภายในวันนี้อย่างแน่นอน

ด้านว่าที่ร้อยตำรวจโทอาทิตย์ บุญญะโสภัต ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครเปิดเผยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ว่า จากการประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในท้องทะเลตรงบริเวณจุดที่เรือจมลงนั้น ไม่รุนแรงมากนักและทางกรมเจ้าท่า ก็ได้มีการนำสารลดแรงตึงผิวมาฉีดพ่นกำจัดได้จนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ บริเวณชายฝั่งทะเลตรงปากคลองประมง เนื่องจากเมื่อช่วงเช้ามืดมีลมพัดเข้าหาฝั่งทำให้คราบน้ำมันลอยเข้าไปตรงชายฝั่งทะเล ที่ชาวบ้านมีการทำประมงชายฝั่งกันเป็นจำนวนมาก เช่น ฟาร์มหอยแมลงภู่ หอยสองฝา และเลี้ยงปูทะเลในกระชัง เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ก็ได้สั่งการให้ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่หมู่ที่ 8 ต.พันท้ายนรสิงห์ และพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบ ทำการสำรวจรายชื่อชาวประมงและความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีทั้งทางอาญา และทางแพ่ง กับทางเจ้าของเรือต่อไป ส่วนในแง่ของการป้องกันเหตุระดับจังหวัดนั้น ก็จะได้มีการเรียกประชุมคณะกรรมการฯ ที่มีการแต่งตั้งไว้แล้ว มาหารือเพื่อวางมาตรการที่เข้มข้นยิ่งขึ้นในการเฝ้าระวังเหตุและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในลักษณะเช่นนี้ต่อไป

ขณะที่ พ.ต.ท.ทวีป เงินดี สารวัตรเวร สภ.โคกขามนั้น ก็บอกว่า หลังจากนี้จะได้สอบปากคำลูกเรือทั้ง 5 คน และติดตามตัวเจ้าของเรือมาสอบปากคำเพื่อแจ้งความดำเนินคดี และรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับชาวประมงชายฝั่งต่อไป ส่วนข้อหานั้น จะต้องขอเวลารวบรวมหลักฐานให้ชัดเจนก่อน ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบเอกสารการขออนุญาตเดินเรือจากกรมเจ้าท่า รายละเอียดของเรือ ประเภทของสินค้าที่ขออนุญาตบรรทุก ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงชาวบ้านในพื้นที่ และหลักฐานอื่นๆ ประกอบ จึงจะแจ้งข้อหาที่ชัดเจนได้

ส่วนทางด้านของชาวบ้านก็บอกว่า ตอนนี้ผลกระทบที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ คราบน้ำมันสีดำเป็นก้อนๆ และมีลักษณะเหนียวหนืดที่ลอยเข้ามาบริเวณชายฝั่งทะเลนั้น ได้มาจับติดอยู่ริมฝั่งและยังจับติดกับสัตว์ทะเลที่เลี้ยงไว้ด้วย เช่น ปูทะเล ทำให้ไม่สามารถที่จะนำไปบริโภคหรือขายได้.......ต่อมาวันที่ 9 เมษายน 2557 เวลาประมาณ 10.30 น. นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายวินิตย์ ปิยะเมธาง รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร นายสุรชัย บุรพานนทชัย ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสมุทรสาคร และคณะอีกเกือบ 20 คน ก็ได้ลงเรือของกรมทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง ไปตรวจติดตามการกู้เรือบรรทุกกากน้ำมันที่จมลงบริเวณปากอ่าวมหาชัย ตั้งแต่เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 7 เมษายน 2557 ซึ่งขณะนี้ก็ผ่านมานานเกือบจะ 48 ชั้วโมงแล้ว แต่การกู้เรือก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจากการตรวจดูในครั้งนี้ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า วิธีการที่ทางเจ้าของเรือและผู้ควบคุมเรือใช้เพื่อนำเรือขึ้นมาจากใต้ท้องทะเล คือ เอาถังน้ำมันใส่เข้าไปในห้องว่างของเรือ เพื่อให้ถังเข้าไปแทนที่น้ำนั้นไม่น่าที่จะใช้ได้ผล

สำหรับสภาพทั่วไปในวันนี้ พบว่าที่บริเวณปากคลองประมง หมู่ที่ 8 ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นจุดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเมื่อวานนั้น ในวันนี้กลับพบเพียงคราบน้ำมันบางๆ ลอยอยู่เพียงเล็กน้อย และมีคราบน้ำมันข้นหนืดสีดำติดอยู่ตามเสาที่ปักไว้ในคลองเท่านั้น แต่เมื่อห่างจากชายฝั่งออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นจุดที่ใกล้เคียงกับฟาร์มเลี้ยงหอยแมลงภู่นั้น ก็มีคราบน้ำมันสีขาวขุ่นบ้าง สีน้ำตาลอ่อนบ้าง ลักษณะคล้ายกับแผ่นฟิล์มบางๆ ลอยอยู่กระจายตัวอยู่เป็นวงกว้างรัศมีประมาณ 10 เมตร และจุดที่พบคราบน้ำมันหนาแน่นลอยอยู่อีกจุดหนึ่งคือ บริเวณที่เรือบรรทุกกากน้ำมันจมอยู่ ซึ่งจะมีคราบน้ำมันสีดำและสีน้ำตาลเข้มลอยเป็นแพ รัศมีประมาณ 5 เมตร ตรงจุดนี้พบว่ามีปลาเล็กๆ ลอยตายอยู่บ้างแล้วแต่ก็ยังไม่มากนัก

ด้านนายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลังจากที่ลงเรือตรวจติดตามสถานการณ์ประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อขึ้นฝั่งก็ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า จากการที่ได้ไปดูการกู้เรือบรรทุกกากน้ำมันในวันนี้ก็พบว่าการทำงานของบริษัทเอกชนที่มากู้เรือโดยการว่าจ้างจากเจ้าของเรือที่จมลงไปนั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้สั่งการไปยังรองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ให้ขอความร่วมมือกับทาง อบจ.สมุทรสาครและกรมเจ้าท่า ดำเนินการหาวิธีการอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ หรือให้ทำการว่าจ้างบริษัทอื่นมากู้เรือขึ้นให้ได้ภายในวันนี้ เนื่องจากเกรงว่าหากปล่อยไว้นานนั้นวาล์วน้ำมันที่ปิดอยู่จะเปิดออก หรือเรือเกิดรอยแตกขึ้นอีกอันเนื่องมาจากแรงน้ำที่เข้ามากระทบกระเทือน ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ ก็จะทำให้น้ำมันไหลออกมามากขึ้นและทำให้สถานการณ์กลายเป็นความรุนแรงมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ส่วนคราบน้ำมันที่เห็นลอยอยู่บริเวณรอบๆ เรือที่จมอยู่นั้นก็มาจากการรั่วซึมของน้ำมันภายในเรือที่ยังคงมีออกมาตลอดเวลานั่นเอง ดังนั้นจึงต้องให้ทางจังหวัดเร่งกู้ซากเรือให้เร็วที่สุดนั่นเอง ส่วนปัญหาของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเรือบรรทุกกากน้ำมันที่จมลงนี้ ก็ได้มอบหมายให้ทางผู้นำท้องถิ่นเร่งสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น และให้ทางจังหวัดส่งเรื่องให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้ามาดูแล แต่ส่วนผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ก็คือ เจ้าของเรือบรรทุกกากน้ำมันนั่นเองส่วนเรื่องผลกระทบอื่นๆ ก็ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบอย่างเร่งด่วนที่สุด เช่น กรมควบคุมมลพิษตรวจดูสารพิษที่ตกค้างในทะเล และกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็เข้าฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ด้านนายธนกร ไพรรักษา รองประธานกลุ่มเกษตรกรทำประมงพันท้ายนรสิงห์ และตัวแทนชาวบ้านอีกเกือบ 20 คน ก็บอกว่า ขณะนี้ทางชาวบ้านเริ่มได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เรือบรรทุกกากน้ำมันจมลงที่บริเวณปากอ่าวมหาชัยแล้ว เช่น ชาวบ้านที่ทำประมงชายฝั่งไม่สามารถออกไปทำประมงได้เหมือนเดิม เพราะไม่มีปลาเข้ามาในบริเวณชายฝั่งทำให้ไม่สามารถจับปลาไปขายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงหอยแครงก็ไม่สามารถระบายน้ำเข้าน้ำออกได้ ถ้าเป็นเช่นนี้อีกเพียงแค่ราวๆ 10 วันเท่านั้น หอยแครงที่เลี้ยงไว้ก็จะตายลงค่าเสียหายไม่ต่ำกว่าแปลงละล้านบาทอย่างแน่นอน ขณะที่ฟาร์มเลี้ยงหอยแมลงภู่คงต้องใช้เวลาดูอีก 2 – 3 วันว่าจะเกิดผลกระทบด้วยหรือไม่ นอกจากนี้สิ่งที่เป็นผลตามมาอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การรับซื้ออาหารทะเลนั้นมีพ่อค้าแม่ค้าบางราย งดรับซื้ออาหารทะเลจากชาวประมงแถบนี้แล้ว เพราะเกรงอันตรายจากน้ำมันนั่นเอง ซึ่งชาวบ้านก็หวั่นว่าจะกระทบไปถึงการจำหน่ายอาหารทะเลในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้ด้วย ดังนั้นทางชาวบ้านเองก็จะเร่งหารือกันและหาทางออกปัญหาในเรื่องนี้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็คาดว่าน่าจะมีการพูดคุยกันหลังจากที่เรือบรรทุกกากน้ำมันจมลงครบ 3 วันแล้ว เพราะจะทำให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ส่วนสัตว์น้ำนั้นก็คงจะต้องขอให้กรมควบคุมมลพิษนำไปตรวจสอบว่าได้รับผลกระทบจากสารน้ำมันนี้หรือไม่ เพื่อยืนยันความปลอดภัยให้ผู้บริโภคยังคงมีความเชื่อมั่นในการรับประทานอาหารทะเล หรือซื้อกุ้ง หอย ปู ปลา อาหารทะเลของจังหวัดสมุทรสาครไปรับประทาน

ส่งเสริมลิเกอ่างทอง ถก"คุณพระช่วย"หนุน

b1 ลิเก เป็นการแสดงที่มีมาช้านานในจังหวัดอ่างทอง โดยเล่นเรื่องจักรๆวงศ์ๆ  เช่น บัวแก้ว-บัวทอง ไชยเชษฐ์ จันทโครพ พระทินวงศ์ ไกรทอง แต่ปัจจุบันนิยมแต่งเรื่องที่ใช้แสดงใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ลิเกที่มีชื่อเสียงของอ่างทอง เช่น ก้าน ระเวงจิตร์ , จำรูญ ศิษย์คุณ ป.,พงษ์ศักดิ์ สวนศรี, บุญเลิศ นาจพินิจ , ไชยา มิตรชัย และสุรินทร์ ปิ่นเพชร เป็นต้น
     ถ้าจะพูดถึงลิเก คนก็มักจะนึกถึงอ่างทองเป็นจังหวัดแรก ซึ่งการแสดงลิเกโดยทั่วไปนั้นจะใช้ศิลปะพื้นบ้านบอกเล่าเรื่องราวผ่านการร้อง การฟ้อนรำ การเต้นประกอบเสียงเพลง ทุกวันนี้ศิลปะการแสดงลิเกยังคงได้รับความนิยมจาก “แม่ยก” ซึ่งถ้าจะให้ทันสมัยก็ต้องเรียกว่า “แฟนคลับ”
   

เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดอ่างทองจึงได้ร่วมกับสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอ่างทอง อำเภอไชโย วัดไชโยวรวิหาร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุพรรณบุรี กำหนดจัดงานงาน “มหกรรมลิเกอ่างทอง 2557 (วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น)” ขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 เมษายน 2557 ที่วัดไชโยวรวิหาร อ.ไชโย จ.อ่างทอง โดยได้รับจัดสรรงบประมาณจากยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง)
     นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ร่วมกับพระสิทธิพัฒนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดไชโยวรวิหาร นายลิขิต ทองนาท นายอำเภอไชโย และนายวิศรุฒ อินแหยม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุพรรณบุรี แถลงข่าวร่วมกันเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวเยือนอ่างทอง  
    ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง คนใหม่ล่าสุด เพิ่งมารับตำแหน่งไม่กี่เดือน ให้สัมภาษณ์ว่า  ที่ผ่านมาก็มีการจัดงานลักษณะนี้มาแล้ว  แต่ปีนี้เป็นปีแรกที่มีการประชาสัมพันธ์เต็มรูปแบบ เพราะอยากให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมของไทยเราที่มีมาช้านาน เป็นการดึงนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวชมที่จังหวัดอ่างทอง ประชาชนจะได้มีรายได้จากการท่องเที่ยวด้วย โดยตนมีความคิดว่าจะส่งเสริมศิลปะการแสดงยี่เกของอ่างทองให้ยกระดับขึ้น พร้อมอนุรักษ์ให้คงความดั้งเดิมอยู่ด้วย "ผมคุยกับคุณทอดด์ รายการคุณพระช่วยเบื้องต้นว่าเราอยากให้เขาช่วยเป็นที่ปรึกษา เนื่องจากเราต้องการให้ลิเก เป็นที่นิยมจากคนรุ่นใหม่ๆด้วย เพื่อให้วัฒนธรรมการแสดงด้านนี้คงอยู่ไปตลอดชั่วลูกหลาน"
    นายปวิณ กล่าวด้วยว่า มหกรรมลิเกอ่างทองนับเป็นการนำศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักกันดีของชาวอ่างทองมาเผยแพร่ให้ผู้ที่ยังไม่รู้จักได้เห็นถึงคุณค่าของศิลปินและศิลปะแขนงนี้ สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาวอ่างทองแต่ดั้งเดิมและเพื่อร่วมกันพัฒนาให้มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
    อย่างไรก็ตามการจัดงานได้แบ่งออกเป็นโซนต่างๆ เช่น โซนรากวัฒนธรรม"ของดีบ้านฉัน"ที่นำเอาอาหารไทยเช่น ผัดไทยต้นตำรับ ขนมไข่ปลา ขนมเกสรลำเจียก และขนมขุยหนู  และน้ำสมุนไพร
    โซนผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาวัฒนธรรม ได้คัดสรรวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรมชาวอ่างทอง 4 รายการ มี เครื่องจักสานไม้ไผ่ ตุ๊กตาชาววัง หัวโขน และกลองบ้านเอกราช พร้อมสิ่งอันเป็นศิริมงคลแก่ผู้มาเยือน คือการได้มากราบไหว้พระมหาพุทธพิมพ์ หลวงพ่อโต ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนที่วัดไชโยวรวิหารอีกด้วย
    นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ร่วมวันสมโภชน์วัด ซึ่งเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2430 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2438 นับเป็นจุดเริ่มต้นของวัดไชโยวรวิหาร ซึ่งได้ทำการสมโภชน์วัดในวันขึ้น 14-15 ค่ำ แรม 1 ค่ำ 2 ค่ำ เดือน 5 เป็นประจำทุกปี จนถึงปัจจุบัน รวม 119 ปี
    พระสิทธิพัฒนาภรณ์ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้นับเป็นการนำศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักของชาวอ่างทองมาเผยแพร่ และเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาเที่ยวมากขึ้น
     สำหรับในงานนอกจากศิลปะการแสดงลิเกแล้ว ยังมีกิจกรรม “ของดีบ้านฉัน” ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาวัฒนธรรม(CPOT)  เช่น ผัดไทต้นตำรับ ขนมไข่ปลา ขนมเกสรลำเจียก โซนจัดแสดงเครื่องจักสานไม้ไผ่ ตุ๊กตาชาววัง หัวโขน และกลองบ้านเอกราช รวมทั้งได้กราบไหว้หลวงพ่อโต และร่วมสมโภชน์วัด ซึ่งก่อสร้างมานานถึง 119 ปีด้วย
     นายวิศรุฒ กล่าวถึงรายละเอียดการจัดงานทั้ง 4 วันว่า วันที่ 13 เมษายน 2557 เวลา 9.00 น.มีพิธีบวงสรวง ที่วัดไชโยฯ เวลา 13.00น.เป็นต้นไปชมการแสดงลิเกคณะวัดสระแก้ว คณะเฉลิมชัย มาลัยนาค พิธีสวดมนต์ข้ามปีเพื่อเสริมสิริมงคล ชมการแสดงละครชาตรีเรื่องแก้วหน้าม้า ชมพิธีเปิดงานที่สวยงามตระการตา  ,  วันที่ 14 เมษายน 2557 เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป ชมลิเกคณะสมพร หลวงพ่อแพร ชมการประกวดลิเกเด็กและเยาวชน ละครลิง การแสดงโขนพากย์โดยครูมืด จากกรมศิลป์ ตอนนางลอย ลิเกคณะ 2 เทพบุตรสุดที่รัก
     วันที่ 15 เมษายน 2557 เวลา 13.00น.เป็นต้นไป ชมลิเกคณะวัดสระแก้ว เวลา 17.00 น. การประชันระนาด วงป๋อม บอยไทย การประชันเพลงโหมโรง และวันที่ 16 เมษายน 2557 เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป ชมลิเกคณะส.สำรวมศิลป์ ลำตัดหมอพยูร หุ่นละครเล็ก ลิเกคณะ 2 เทพบุตรสุดที่รัก