บทบรรณาธิการ
นโยบายขึ้นค่าแรง น่ากลัวจริงหรือ
หลังจากการเลือกตั้งพร้อมประกาศรับรอง สส. เสร็จก็ข่าวเชิงกระแสวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลใหม่แต่ละนโยบายให้ได้ยินเกือบทุกๆวัน เรื่องที่ยอดฮิตและติดกระแสคงหนีไม่พ้นเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทขนาดยังไม่รู้ว่าวิธีการปรับขึ้นค่าแรงของรัฐบาลจะออกมาในรูปแบบใด แต่กระแสตอบรับดีมาก โดยเฉพาะในเชิงข่าวที่ผู้คนให้ความสนใจติดตามข่าวนี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมไหนของบุคคลใดในสังคมที่เกี่ยวกับระบบนายจ้าง ลูกจ้าง หรือแม้แต่แวดวงวิชาการ วิจารณ์เมื่อไรก็จะได้รับความสนใจอยู่เสมอ ประเด็นก็คือ การขึ้นค้าแรงขั้นต่ำเลวร้ายและมีผลกระทบมากมายมหาศาลจริงหรือ ?
วัดจากกระแสข่าว โดยเฉพาะจากภาคเอกชน ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่รวมตัวกันแล้วให้ข่าวในนาม สมาคม ทั้งภาคอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือในนามคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน ( กกร. ) ที่หลังๆ กระแสข่าวเรื่องการขึ้นค้าแรงออกมาในแนวผลกระทบที่น่ากลัวสำหรับการประกอบธุรกิจไปแล้วถึงขั้นว่าต้นทุนจะเพิ่มกำไรหดหายถามพ่วงลามไปถึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะต้องมีราคาเพิ่มขึ้นทันทีหากค่าแรงขึ้นเพื่อชดเชยต้นทุนของผู้ประกอบการที่สูงขึ้น บอกตรงๆนะครับได้ยินแล้วนึกหมั่นไส้เหมือนกันที่หมั่นไส้คงเป็นเรื่องที่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาองค์กรผู้ประกอบการธุรกิจโหมโรง ปลุกระดม ให้ความสำคัญกับการประกอยธุรกิจแบบ ซีเอสอาร์ หรือความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นการลุกขึ้นมาทำโครงการต่อต้านการคอรัปชั่น โครงการประหยัดพลังงานรักษาสิ่งแวดล้อมหรือจะลามไปถึงการช่วยเหลือเกษตรกร โดยภาคธุรกิจจัดทำโครงการและลงทุนลงขันเพื่อช่วยกันทำโครงการเหล่านั้นออกหน้าออกตา
ผมว่าเราลองไปดูผลสำรวจทางวิชารการเกี่ยวกับการขึ้นค่าแรงกันบ้าง มหาวิยาลัยหอการค้าไทยระบุผลสำรวจทัศนะของผู้ประกอบการต่อโยบายและผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท จำนวน 800 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 16-18 ก.ค. 54 ว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทนั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 39.4 % ไม่เห็นด้วยเลย 47.2 % เห็นด้วยน้อย 11.9 % เห็นด้วยปานกลาง และ 1.5 % เห็นด้วยมาก
โดยผลกระทบต่อธุรกิจนั้น กลุ่มตัวอย่าง 53.4 % ระบุว่ากระทบต่อต้นทุนเพิ่มมากขึ้น 43.3 % ระบุว่ากระทบต่อการจ้างงานให้ลดลงมาก 65.8 % ระบุว่ามีผลต่อการปลดคนงานเพิ่มมากขึ้น 66.3% ระบุว่าให้กำไรลดลงมาก 78.4 % กระทบทำให้ต้องมีการปรับขึ้นราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น และ 64.6 % กระทบในเรื่องการปิดกิจการเพิ่มมากขึ้นและกลุ่มตัวอย่าง 53.4 % มองว่าการขึ้นค่าแรงควรปรับไปตามกลไกตลาด และ 46.6 % มองว่าดำเนินการได้แต่ต้องมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าระบุว่า รัฐบาลจะต้องใช้เงินอุดหนุนจำนวน 1.4 แสนล้านบาท หาดรับบาลมีการชดเชยเงินเต็มจำนวนให้ผู้ประกอบการผ่านการลดภาษีและการอุดหนุนอื่นๆ จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 1-1.3 % เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.8-1.0 % แต่หากรัฐบาลไม่มีการชดเชยให้ผู้ประกอบการเลย จะทำให้ จีดีพี ลดลง 0.2-0.4 % และเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1.1-1.3 %
เป็นไงครับเห็นการให้สัมภาษณ์ของผู้ประกอบการธุรกิจอีกทั้งผลการสำรวจผู้ประกอบการเกี่ยวกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว รู้สึกอย่างไร ทุกคนคงวิเคราะห์กันได้ว่ามันจะส่งผลกระทบมากน้อยแค่ไหน หรือไม่ควรมีนโยบายนี้เลย
ประชาชนที่ยังขาดวิสัยทัศน์...
ผลการเลือกตั้งซ่อมที่สกลและศรีสะเกษว่าเงินและอำนาจเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้ใครชนะการเลือกตั้งได้ปัจจัยชี้ขาดกลับไปอยู่ที่ “กระแส” คำนี้แปลว่าอะไรไม่สู้จะชัดนักส่วนหนึ่งคงหมายถึงความนิยมชมชอบคุณทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีมาแต่เดิม อีกส่วนหนึ่งน่าจะหมายถึงการตอบโต้ “กระแส” ของรัฐ ที่พยายามจะปลุกเร้าให้เกิดความเกลียดชังคุณทักษิณ ชินวัตร
( แปลว่าฝ่ายรัฐบาล โดนเฉพาะโฆษกส่วนตัวของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีส่วนช่วยให้ความนิยมคุณทักษิณ ชินวัตร ยิ่งมีพลังไม่เสื่อมคลายไปตามการเวลา ) ความนิยมชมชอบคุณทักษิณในหมู่ประชาชนภาคอีสานมาจากอะไร คำตอบที่มักจะพูดเสมอก็คือ นโยบายประชานิยมของพรรค ทรท. ว่ากันว่า เมื่อตอนที่คุณ อภิสิทธิ์และคุณเนวินกอดกันนั้น คุณเนวินปลอบประโลมคุณอภิสิทธิ์ว่าไม่ต้องกลัว “กระแส” คุณทักษิณ อัดงบประมาณไปที่ภาคอีสานสัก 2-3 แสนล้านบาท ทำนโยบายประชานิยมบ้าง สักพักเดียวคนอีสานก็จะลืมคุณทักษิณไปเองผมคิดว่าคุณเนวินพูดถูก อย่างน้อยก็ถูกครึ่งหนึ่ง กล่าวคือ คนอีสานไม่ได้นิยมบุคคลที่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร เท่ากับสิ่งที่คุณทักษิณหยิบยื่นให้นี้ เรียกกันว่านโยบายประชานิยม แต่อีกครั้งหนึ่งที่คุณเนวินและคงรวมคุณอภิสิทธิ์ไม่เข้าใจคือ “ประชานิยม” นี่เอง “ประชานิยม” ในความหมายที่ไม่ดี พบได้มากในบรรดารัฐบาลของละตินอเมริกา สมัยก่อน ในท่ามกลางโครงสร้างการถือครองที่ดินที่ไม่เป็นธรรม สภาพการทำงานของแรงงานที่เลวร้าย ราคาแรงงานที่ถูกกดอย่างหนักเพราะผู้อพยพเข้าจากต่างจังหวัด ราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำต่อเนื่อง ฯลฯ รัฐบาลได้แต่ “ แจก ” นับตั้งแต่อาหาร , ค่าขึ้นรถเมล์ฟรี ใช้น้ำประปาฟรี (แต่คนจนเข้าไม่ถึงน้ำประปาเป็นส่วนใหญ่) ฯลฯ โดยรัฐบาลไม่ต้องแตะปัญหาโครงสร้างเลย ทั้งหมดนี้เพื่อแลกกับคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง ตั้งแต่ “ประชานิยม” ในละตินอเมริกาได้เปลี่ยนไปแล้ว มีนโยบายของรัฐบาลจากการเลือกตั้งที่ได้รับความนิยมหลายรัฐบาลด้วยกัน เข้าไปปรับปรุงแก้ไขเชิงโครงสร้าง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนชั้นล่างสุดเข้าถึงทรัพยากรได้มากขึ้น และก่อให้เกดความตรึงเครียดในสังคมอย่างสูง ระหว่างรัฐบาลที่มีเสียงสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ และคนชั้นกลางในเมืองถ้าจะพูดถึง “ประชานิยม” ของคุณทักษิณเป็นถึงขนาดละตินอเมริกาสมัยก่อนหรือไม่ ? ผมคิดว่าตอบอบากมาก ในขณะที่ “ประชานิยม” ของรัฐบาล อภิสิทธิ์นั้นเป็นแน่ว่าเป็นเครื่องมือการ “แจก” ที่ล้มเหลวตลอดมา ผมขอยกตัวอย่างประชานิยมของคุณทักษิณ ให้เห็นเป็นตัวอย่างสักสองโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคนั้น คือการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศไทยอย่างใหญ่ และคงไม่มีใครปฏิเสธว่าก่อให้เกิดความมั่นคงด้านสุขภาพในระยะยาวของประชาชนจำนวนมาก ซึ่งไม่เคยเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ได้ถึงขนาดนี้มาก่อน ลองหันกลับมาดูประชานิยม “ประชานิยม” ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ตามคำแนะนำของคุณเนวิน (อย่างที่เขาลือกัน) เป็นแต่เพียงการ “แจก” เฉยๆ เกือบไม่ต่างอะไรจากการ “ซื้อ” และคิดได้ไม่ไกลไปถึงโครงสร้าง เช่นที่กำลังเป็นปัญหาอยู่แล้วเวลานี้ คือจะเพิ่มค่าครองชีพให้พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือไม่ ที่เถียงกันอยู่ก็คือเพิ่มเป็นบางเดือนของผู้บริหารและพนักงานต่างกันมากเกินไป ทั้งในรัฐวิสาหกิจ , ราชการ และเอกชน ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่สัดส่วนความแตกต่างนี้สูงอย่างน่าตกใจ