pearleus

วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พม.ประชุมเครือข่ายระดมสมองกำหนดรูปแบบ สุนัขนำทางในประเทศไทย

                                           รมว.พม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)โดยพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พม.เป็นประธานการประชุมแนวทางการจัดบริการสุนัขนำทางสำหรับคนพิการในประเทศไทย (Guide Dogs) เพื่อกำหนดรูปแบบการจัดบริการสุนัขนำทางในประเทศไทย โดยขับเคลื่อนและบูรณาการงานร่วมกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กรมการสัตว์ทหารบก กองกำกับการสุนัขและม้าตำรวจ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด บ้านอินทร์ด๊อกคลับ สมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข (ประเทศไทย) และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม
ทั้งนี้รมว.พม.ระบุว่า  รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของคนพิการ โดยเฉพาะด้านการเดินทางและการดำเนินชีวิตอย่างอิสระ ปลอดภัย เท่าเทียมกับคนในสังคม   จึงมีนโยบายให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ดำเนินการหารือความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาการจัดบริการสุนัขนำทาง (Guide Dogs) สำหรับคนพิการทางการเห็นในประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวก โดยการพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิทธิ สวัสดิการ และบริการสาธารณะอื่นๆ จากรัฐ จึงได้ดำเนินการศึกษารูปแบบการจัดบริการสุนัขนำทางในต่างประเทศ โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นต้นแบบ  และมีอีกหลายประเทศที่นิยมใช้สุนัขนำทาง และมีโรงเรียนฝึกสุนัขนำทาง เช่น ออสเตรเลีย และเกาหลี เป็นต้น 
อธิบดีกรมพก.

โดยสุนัขนำทางที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ สายพันธ์ลาบลาดอร์ โดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดบริการต่อตัวประมาณ 50,000 เหรียญ ซึ่งประกอบด้วย ค่าจัดหาสุนัข ค่าฝึกสุนัขนำทาง และค่าฝึกคนพิการทางการเห็นในการใช้สุนัขนำทาง ซึ่งบ้านเรายังไม่มี   การประชุมฯ ครั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนตามโรดแมป แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก 5 เดือน ถือเป็นระยะเร่งด่วน จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมขับเคลื่อน ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานองค์กรต่างประเทศ  เบื้องต้นประสานข้อมูลกับ 3 ประเทศ  คือ อเมริกา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ จัดทำบันทึกความร่วมมือกัน


นอกจากนี้ ต้องสร้างการรับรู้ความเข้าใจในการใช้สัตว์นำทางและปรับปรุงระเบียบหรือข้อบังคับที่อาจเป็นอุปสรรค โดยจัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่าย ครูฝึกคนไทย 20 คน จัดหาคนพิการทางการเห็นที่มีความพร้อมและทักษะในการเดินทาง 5 คน สุนัขต้นแบบ 5 ตัว และครูฝึกชาวต่างชาติ 2 คน เป็นต้น
ส่วนระยที่ 2 (2 - 6 เดือน เป็นต้นไป) จัดตั้งหน่วยบริการ  เพาะพันธ์สุนัขสายพันธุ์ลาบราดอร์ เพื่อใช้เป็นสุนัขนำทาง  ร่วมกับกรมการสัตว์ทหารบก คณะสัตว์แพทย์ศาสตร์ สมาคมเพาะพันธ์สุนัขแห่งประเทศไทย บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ การคัดเลือกสุนัขสายพันธุ์  ลาบราดอร์  จำนวน 20 ตัว พร้อมฝึกและทดสอบ ต้องมีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ รวมถึงติดตามประเมิลผลด้วย


     ทั้งนี้พม. จะร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในรูปแบบประชารัฐ เพื่อพัฒนาและเร่งขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วตามโรปแมปที่วางไว้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระ และสามารถเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ โดยการพึ่งพาตนเองได้อย่างปลอดภัย เท่าเทียมกับคนในสังคมได้อย่างปกติสุข



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น