เมื่อ 11 พ.ค. 60 ณ ห้องประชุม 1 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมผ่านระบบ Video Conference ไปยังจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ร่วมกับ นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. และ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อชี้แจงทำความเข้ าใจแนวทางการติดตาม ตรวจสอบและสังเกตการณ์ การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายเพิ่ มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณดำเนิ นการในพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจั งหวัด จำนวน 302 โครงการ วงเงินงบประมาณ 75,057.20 ล้านบาท
โดยการประชุมครั้งนี้ มีส่วนราชการเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ส่วนกลาง ได้แก่ หอการค้าไทย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวง กรม และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานในสังกั ดกระทรวงมหาดไทยที่ได้รั บงบประมาณดำเนินงานในพื้นที่จั งหวัดและกลุ่มจังหวัด รวม 39 หน่วยงาน และส่วนภูมิภาค ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิ ดชอบด้านงบประมาณ คณะอนุกรรมการการดำเนินงานตามยุ ทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกั นและปราบปรามการทุจริตจังหวัดผู้ แทนจากสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 1-9 สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด สำนักงาน ป.ป.ท. เขตพื้นที่ 1-9 สำนักตรวจสอบพิเศษ ภาค 1-15 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจั งหวัด สำนักจัดทำงบประมาณ เขตพื้นที่ 1-18 ตลอดจนหน่วยงานและมหาวิทยาลั ยที่ได้รับงบประมาณดำเนิ นโครงการในพื้นที่จังหวัดและกลุ่ มจังหวัด
ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า การประชุมในวันนี้ เป็นโอกาสอันดีที่ได้รับเกียรติ จากหน่วยตรวจสอบทั้ง 3 หน่วย ได้มาร่วมชี้แจงถึงแนวทางการติ ดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณที่ ได้รับสำหรับการดำเนินการในระดั บพื้นที่ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นการประชุมเพื่ อวางระบบป้องกันการทุจริ ตในโครงการสำคัญตามนโยบายของรั ฐบาล เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็ นไปอย่างคุ้มค่า โดยยึดหลักการ ตรวจสอบความโปร่งใส ในลักษณะเป็นการแนะนำ และติดตาม มิใช่ลักษณะจับผิด ซึ่งจะไม่ทำให้งานหยุดชะงัก ไม่เพิ่มภาระงานให้กับหน่ วยงานเกินความจำเป็น และเป็นการลดความซ้ำซ้อนของหน่ วยงานตรวจสอบซึ่งสอดคล้องกับข้ อสั่งการของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการดำเนินการติ ดตามตรวจสอบโครงการ จะต้องไม่ส่งผลกระทบกั บมาตรการของรัฐบาล และไม่เพิ่มภาระให้หน่วยงานปฏิ บัติ ซึ่งในการดำเนินการจะใช้ กลไกในพื้นที่ คือ คณะอนุกรรมการการดำเนินงานตามยุ ทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกั นและปราบปรามการทุจริตจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็ นประธานคณะอนุกรรมการ มีผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการร่ วม
มีการบูรณาการกับสำนักงาน ป.ป.ท. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นกลไกขับเคลื่อนระดับจังหวั ดในการตรวจสังเกตการณ์ และคณะอนุกรรมการการดำเนิ นงานตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้ วยการป้องกันและปราบปรามการทุ จริตระดับจังหวัด สำนักงาน ป.ป.ท. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จะทำการวิเคราะห์โครงการ และมีหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลื อกโครงการที่จะตรวจสอบและสั งเกตการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่มี ลักษณะเป็นการใช้ งบประมาณจำนวนมาก หรือมีความเสี่ยงต่อการทุจริต ซึ่งในการพิจารณาคัดเลื อกโครงการต้องกระจายให้ครอบคลุ มทุกประเภทของโครงการ ทั้งนี้ การพิจารณาคัดเลือกจะต้องเป็ นไปตามมติของคณะอนุกรรมการฯ เป็นสำคัญ
ในการประชุมครั้งนี้ จะมีการถอดบทเรียนจากผลการดำเนิ นงานของโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท มาเป็นแบบอย่างของการดำเนินงาน และมีเป้าหมายของการทำงานในลั กษณะบูรณาการทำงานร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้ อนของการตรวจสอบ โดยจะร่วมกันบูรณาการในการป้ องกันการทุจริตแก้ปัญหาเชิ งมาตรการ และสร้างกระแสการตรวจสอบและเฝ้ าระวังของภาคประชาชน เพื่อลดการร้องเรียนการทุจริต รวมทั้งจะได้รับทราบข้อมูลเชิ งประจักษ์ที่แท้จริงของคนทำงาน ว่ามีระเบียบกฎหมาย ปัญหา อุปสรรคคืออะไรบ้าง เพื่อที่จะได้มีการจัดทำเป็นข้ อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปั ญหาการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรม
ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำว่า นอกจากกระทรวงมหาดไทยจะได้ ประสานขอความร่วมมือจาก สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. และ สตง. เข้าร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ โครงการและกิ จกรรมตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่ มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เพื่อป้องปรามการทุจริตคอร์รั ปชันในพื้นทุกๆ ด้านแล้ว ยังได้ขอความร่วมมือภาคเอกชน ได้แก่ สภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้าไทย ให้ลุกขึ้นมาต่อสู้และต่อต้ านการจ่ายเงินใต้โต๊ะเพื่อขจั ดการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรู ปแบบ ภายใต้แนวคิดที่ว่า “เมื่อไม่มีผู้ให้ ก็ไม่มีผู้รับ” เพื่อสร้างความโปร่ งใสในการดำเนินโครงการทุ กโครงการที่ได้รับงบประมาณ ขณะเดียวกันหากผู้ว่าราชการจั งหวัด ถูกบัตรสนเทห์หรือถูกร้องเรี ยนว่ามีการเรียกรับเงิน ก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เชิญผู้รับจ้าง สำนักงาน ป.ป.ช.จังหวัด สำนักงาน ป.ป.ท. เขตพื้นที่ และสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด มาพูดคุยกันต่อหน้า เพื่อสร้างความชัดเจนกันไปเลยว่ ามีการเรียกรับผลประโยชน์กันหรื อไม่ อย่างไร ไม่เช่นนั้นจะเสียหายต่อภาพลั กษณ์ของสถาบันผู้ว่าราชการจั งหวัด
ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวตอนท้ายว่า รัฐบาลให้ความสำคัญและได้ดำเนิ นการป้องกันการทุจริตในทุกๆด้าน มิให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันขึ้ นในส่วนราชการ และเพื่อให้การเบิกจ่ ายงบประมาณของประเทศได้ถู กนำไปใช้พัฒนาประเทศชาติได้ ตามเป้าหมาย และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ประชาชน รวมถึงเป็นการแสดงถึงศั กยภาพของผู้ว่าราชการจังหวั ดในการกำกับดูแลการใช้จ่ ายงบประมาณในพื้นที่ ให้มีความถูกต้อง โปร่งใส และเกิดประโยชน์คุ้มค่า ดังนั้นจึงขอให้ทุกฝ่าย ทั้งส่วนราชการ จังหวัด หน่วยงานตรวจสอบ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมมือผนึกกำลังกัน สร้างพลังร่วมกันต่อต้านการทุ จริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบอย่ างจริงจัง ให้บังเกิดผลและเป็นที่ยอมรั บของสังคม เพื่อสร้างมิติใหม่ในการดำเนิ นโครงการที่ได้รับงบประมาณจะต้ องปลอดจากการทุจริตคอร์รัปชันทุ กรูปแบบ และเกิดพลังร่วมกัน “ไม่รับ ไม่ให้” ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดกระแสการตื่นตั วในการมีส่วนร่วมในการป้องกั นปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่ นและประพฤติมิชอบในภาครัฐของทุ กภาคส่วน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น