เมื่อ 13 ก.ย. 59 เวลา 00:15 น. นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการด่วนที่สุดถึงผู้ว่ าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่น ทุกแห่ง ให้เตรียมแผนปฏิบัติการ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ ประสบอุทกภัย และดินโคลนถล่ม จากเหตุร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่ านพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวั นออกเฉียงเหนือง ซึ่งจะทำให้มีฝนตกหนักตั้งแต่ 13 กันยายน 59 เป็นต้นไป
ดังนั้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกั บสถานการณ์ดังกล่าว ที่อาจสร้างความเสียหายต่อชีวิ ตและทรัพย์สินของพี่น้ องประชาชนได้ กระทรวงมหาดไทย จึงได้สั่งการด่วนที่สุดไปยังทุ กจังหวัด ให้ดำเนินการทบทวนการจั ดทำแผนปฏิบัติการช่วยเหลื อประชาชนที่ประสบอุทกภัย ดินถล่ม โดยให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ให้จังหวัดกำหนดพื้นที่ปฎิบัติ การให้ชัดเจน โดยให้แบ่งพื้นที่ประสบภัยหรื อคาดว่าจะประสบภัยให้ชัดเจนว่ าอยู่บริเวณไหน และประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ ว่าจะลุกลามหรือขยายพื้นที่ต่ อเนื่องไปบริเวณใดบ้าง
2. กำหนดวิธีการช่วยเหลือหรื อบรรเทาภัยให้เหมาะสมสอดคล้องกั บพื้นที่เกิดเหตุ เช่น พื้นราบเชิงเขาต้องเตรียมอุ ปกรณ์ช่วยเหลือกรณีดินโคลนถล่ มหรือพื้นที่ราบลุ่มริมแม่นำ้ต้ องเตรียมเรือเป็นต้น
3.กำหนดหน่วยหรือผู้รับผิ ดชอบแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน ว่าพื้นที่ไหนหน่วยใดเป็นผู้รั บผิดชอบ เช่น ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ น กับหน่วยราชการภูมิภาคและส่ วนกลางหรือภาคเอกชนเป็นต้น
4.เตรียมการช่วยเหลือ หรือเยียวยาให้พร้อมตลอด 24 ชม. และให้ตรงกับพื้นที่ และประเภทของภัยที่เกิดขึ้นหรื อจัดลำดับความสำคัญของการช่ วยเหลือเช่นเตรียมน้ำเครื่องดื่ ม อาหาร เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ที่จำเป็นของผู้ประสบภัย
5. ให้กำหนดตัว ผู้มีอำนาจบัญชาการหรือมี อำนาจตัดสินใจให้ชัดเจน เพื่อความรวดเร็วในการสั่งการ และอำนวยการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้ น
6.จัดตั้งผู้รับผิดชอบในการสื่ อสารหรือประชาสัมพันธ์ชี้ แจงในเรื่องต่างๆเพื่อป้องกั นความสับสนในข่าวสารเกี่ยวกั บสถานการณ์ในพื้นที่ต่างๆ
7. ให้รายงานแผนเตรียมความพร้ อมในการปฎิบัติตามหัวข้อข้างต้ นให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับรายงานในส่ วนกลางทราบ และเห็นภาพของการปฎิบัติของหน่ วยในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ส่วนกลางสามารถสั่ งการหรือสนับสนุนหน่วยปฎิบัติ ในพื้นที่ได้ถูกต้องเหมาะกั บสถานการณ์ในพื้นที่
ดังนั้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกั
1. ให้จังหวัดกำหนดพื้นที่ปฎิบัติ
2. กำหนดวิธีการช่วยเหลือหรื
3.กำหนดหน่วยหรือผู้รับผิ
4.เตรียมการช่วยเหลือ หรือเยียวยาให้พร้อมตลอด 24 ชม. และให้ตรงกับพื้นที่
5. ให้กำหนดตัว ผู้มีอำนาจบัญชาการหรือมี
6.จัดตั้งผู้รับผิดชอบในการสื่
7. ให้รายงานแผนเตรียมความพร้
นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้ เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอในฐานะหัวหน้าส่ วนราชการภูมิภาคลงพื้นที่ดู แลประชาชนและตรวจพื้นที่เกิ ดเหตุด้วยตนเองเป็นประจำ ต่อเนื่อง เพื่อจะได้ประเมินสถานการณ์ และแก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง รวดเร็ว ทันท่วงที
ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ใดประสบอุทกภัยดินถล่มและภัยพิ บัติอื่น ๆ สามารถแจ้งสายด่วนนิรภัย 1784 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น