pearleus

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

บ.แม่โขงฯชี้เมล์ NGVผิด TOR ศาลปกครองจ่อหมายเรียก"บิ๊กขสมก."

ภายหลังการประกาศลาออกจากประธานบอร์ด ขสมก.ของนายณัฐชาติ จารุจินดา กลางที่ประชุมบอร์ด ขสมก.เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 61 ที่ผ่านมาโดยให้เหตุผลว่า มีปัญหากับบอร์ด ขสมก.บางคน ที่คัดค้านในทุกเรื่องและยังนำข้อมูลออกไปสู่สาธารณะชนทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและถอดใจ นอกจากนี้ในเนื้อหาข่าวยังกล่าวถึงนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ว่า อาจใช้โอกาสนี้เสนอครม.ปลดบอร์ดขสมก.แบบยกชุด จากนั้นจะแต่งตั้งนายณัฐชาติกลับมาอีกครั้งพร้อมกรรมการชุดใหม่นั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 25 มี.ค.61 ว่า  นายสุรดิษฐ์ ศรีดามาส กรรมการบริษัท แม่โขงเทคโนโลยี่ จำกัดให้สัมภาษณ์ผ่านเพจดัง”สืบจากข่าว” โดยมีนายสุวิทย์ บุตรพริ้ง ผู้สื่อข่าวรางวัลพระราชทานเทพทองโดยนายสุรดิษฐ์ เปิดประเด็นว่า การลาออกของนายณัฐชาติ มองได้เป็น 2 ประเด็น คือ 1.ผลงานการจัดซื้อรถเอ็นจีวี.สำเร็จลุล่วง 2.ลาออกเพื่อให้ครม.ปลดบอร์ด ขสมก.ยกชุดแล้วแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่สั่งได้มาใหม่ และนายณัฐชาติ กลับมานั่งประธานบอร์ด ขสมก.อีกครั้ง

โดยนายสุรดิษฐ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าคนที่อึดอัดและถอดใจควรจะเป็นบอร์ดหลายๆคนที่ไม่เห็นด้วยกับการอ้างมติบอร์ด  รับรองผลโหวตจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 489 คัน อันเป็นเท็จและยังดันทุรังไม่ฟังเสียงคัดค้านจากบอร์ดเสียงส่วนใหญ่มากกว่า เพราะพฤติกรรมของนายณัฐชาติ เอาแต่ใจไม่สนใจข้อกฏหมายระเบียบปฎิบัติต่างๆและไม่ฟังเสียงคัดค้านจากบอร์ดเสียงส่วนใหญ่แถมยังเอามาเป็นสาเหตุของการลาออกบ่งบอกถึงการไม่ให้เกียรติบอร์ดที่เห็นต่างจากตัวเอง นายณัฐชาติ คงลืมว่ากรรมการฯทุกท่านคือผู้ทรงคุณวุฒิผ่านการคัดสรรและแต่งตั้งโดย ครม. ซึ่งการบอกกับสื่อมวลชนว่ามีปัญหากับบอร์ดบางท่านนั้น เหมือนการดูถูกศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของผู้ทรงคุณวุฒิถ้าเป็นอย่างนี้ ขสมก.ก็ไม่สมควรมีบอร์ดอีกต่อไป เพราะเหตุแห่งการลาออกของนายณัฐชาติตีความแล้วทำให้คิดได้ว่า กรรมการบางท่านคืออุปสรรคเป็นตัวถ่วงความเจริญของ ขสมก.



“ถ้าผมเป็นบอร์ด จะจับมือกันออกมาแถลงข่าวเปิดเผยเรื่องเน่าๆภายใน ขสมก.ให้สังคมได้รับรู้ข้อเท็จจริงจะไม่นอนรอให้มีคำสั่งปลดแบบล้างบาง อย่างน้อยก็เพื่อรักษาศักดิ์ศรีของตัวเองและปกป้องผลประโยชน์ของแผ่นดิน ดีกว่าอยู่เงียบๆให้เค้าดูถูกครับ”นายสุรดิษฐ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนเรื่องการตรวจรับรถเมล์เอ็นจีวี.ล๊อตนี้เบื้องต้นเจอปัญหาหลายรายการเช่น 2-3 ข้อตามที่บ.ช ทวี ได้แจ้งว่าจะส่งมอบให้ ขสมก.นำเข้าตัวถังมาจากจีนมาประกอบในไทยบางส่วนเช่น ถังก๊าซ เกียร์และแอร์ คำถามคือ ตาม TOR กำหนดไว้ในข้อ 5.12 “ ผู้เสนอราคาต้องแจ้งว่าใช้โรงงานใดประกอบรถโดยสาร หากเป็นโรงงานต่างประเทศต้องแนบสำเนาหนังสือรับรองมาตราฐาน ISO 9001 หากเป็นโรงงานในประเทศต้องแนบหนังสือรับรองมาตราฐาน ISO 9001 และสำเนาใบอนุญาตของโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเอกสารประกอบ”

อย่างไรก็ตามตอนที่ยื่นเอกสารเสนอราคาบริษัท ช ทวี ยื่นเอกสารว่าใช้โรงงานประกอบรถในประเทศหรือต่างประเทศกันแน่ โดยเฉพาะในสัญญาได้ระบุโรงงานประกอบและผลิตที่ไหนกันแน่ เพราะว่าตาม Name Piate ที่ติดมากับตัวรถระบุชัดเจนว่า Made in chainaโดยบริษัท Jianxi Kama Business Bus หากสัญญาระบุแค่โรงงานผลิตซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยที่เดียวก็จะผิดสัญญา เหมือนกับเหตุผลที่ ขสมก.บอกยกเลิกสัญญากับบริษัทเบสทริน ซึ่งในสัญญาระบุว่า “ รถผลิตที่ประเทศจีนประกอบที่ประเทศมาเลเซีย” แต่ ขสมก.อ้างว่าไม่สามารถพิสูจน์ได้ต้องถือว่าผิดสัญญา

นายสุรดิษฐ์ กล่าวต่อว่า หากว่าในสัญญาระหว่าง ขสมก.กับ ช ทวี ระบุเฉพาะโรงงานประกอบที่ประเทศไทย แต่กลับปรากฏชัดเจนว่า Name Piate ระบุว่า Made in chaina จะเข้าข่ายผิดสัญญาขสมก.ต้องยกเลิกสัญญา ไม่เช่นนั้นจะถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และเลือกปฏิบัติ 

"เมื่อพูดถึง ISO 9001 ของโรงงานก็มีอีกข้อใน TOR คือข้อ 2.6 “ภายในห้องโดยสารมีที่นั่งสำหรับผู้โดยสารออกแบบให้โค้งเว้ารับสรีระท่านั่งมีความสวยงาม แข็งแรง และนุ่มสบาย โดยในส่วนของเบาะที่นั่งและพนักพิง บุด้วยฟองน้ำหนาและหุ้มด้วยหนังเทียม ความหนาของเบาะที่นั่งและพนักพิงในตำแหน่งบางสุดไม่น้อยว่า 3 เซนติเมตรบุด้วยฟองน้ำหรือโฟมชนิดหนา มีความหนาแน่นไม่น้อยกว่า 33 บวกลบ 3
กก./ ลบ.เมตร และต้องเป็นวัสดุไม่ลามไฟและไม่ก่อให้เกิดควันพิษเมื่อได้รับความร้อน”  แต่ปรากฏว่ารถโดยสารของ ช ทวี ยี่ห้อ Bonluck เบาะที่นั่งส่วนที่บางสุดวัดได้แค่ 1.5 เซนติเมตร ซึ่งผิดสเปกตามข้อกำหนดใน TOR ชัดเจน"นายสุรดิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกประเด็นและว่าหากคณะกรรมการตรวจรับจะตะแบง คงต้องไปเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตดู จะเห็นความหมายของคำว่าเบาะ “เครื่องรองรับที่มีลักษณะนุ่ม” ซึ่งไม่ได้หมายถึงกรอบและฐานรองที่นั่งด้วยแน่นอน ที่ดักคอไว้ก่อนเพราะได้ยินมาว่า คณะกรรมการเตรียมจะหาช่องช่วยเอกชน "ถ้าทำจริงๆผมยืนยันว่า คุก แน่นอนครับ"

นายสุรดิษฐ์ กล่าวด้วยว่า  อีกเรื่องคือ ป้ายจอแสดงเส้นทางที่หน้าและท้ายรถโดยสาร ที่ออกมาแบบ Over Spac ที่จริงแล้วขนาดเท่ากับรถโดยสารยี่ห้อ Sunlong ที่เบสทรินนำเข้า  แถมสเปกข้อ 9.3.1 ระบุว่า “ป้ายอิเล็กทรอนิกส์บอกหมายเลขเส้นทางและชื่อต้นทาง ปลายทาง ติดตั้งด้านหน้าและด้านหลังรถขนาดกรอบไม่น้อยกว่า 20 คูณ 120 เซนติเมตร แสดงตัวอักษรวิ่งขนาดความสูง 15 เซนติเมตร “แต่รถของ ช ทวี ป้ายด้านหน้ารถตรงตาม TOR แต่ป้ายหลังรถไม่ตรงสเปกมีขนาดเล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด จึงขอฝากเตือนสติประธานกรรมการตรวจรับฯ ขอให้ตรวจสอบให้ละเอียด ไม่งั้นจะเจอกันในศาล

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันเดียวกัน( 22 มี.ค.)ศาลปกครองกลางได้มีหมายแจ้งขสมก.คดีหมายเลขดำที่ 709/2561  ระหว่างบริษัท สยามสแตนดาร์ด เอนเนอจี้ จำกัด ฟ้องขสมก.ไปให้ถ้อยคำต่อศาลในประเด็นเกี่ยวกับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากมติที่ประชุมครั้งที่ 16/2560 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560   บริษัทเดียวกันยังแจ้งความร้องทุกข์ไว้อีกคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ห้วยขวาง รวมทั้งบริษัทแม่โขงเทคโนโลยี่จำกัดและนายวัชระ เพชรทอง อดีตสส.ได้ยื่นหลักฐานสำคัญคือบันทึกรายงานการประชุมที่บอร์ดมีมติเห็นชอบให้ซื้อรถเมล์ให้นายกรัฐมนตรีรับทราบพร้อมร้องทุกข์กล่าวโทษไว้ที่ ปปช.แล้วเช่นกัน

 ******************

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น