วิธีการดำเนินการของ ขสมก. ที่ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ และอาจทำไปเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ บริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน ) ซึ่งโครงการนี้มีการเปิดประมูลมาแล้วหลายครั้ง คือใน ปี พ.ศ. 2558 บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) ได้เข้าร่วมประมูล และเป็นผู้ชนะการประมูลรถยนต์ในการจัดซื้อรถยนต์โดยสารที่ราคาประมาณ 3,800 ล้านบาท แต่ ขสมก. ยกเลิกการลงนามในสัญญา เนื่องจากมีคณะกรรมการคุณธรรมลาออกจำนวน 2 ท่าน ปี พ.ศ. 2559 บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูลในการจัดซื้อรถยนต์โดยสารที่ราคา 3,389 ล้านบาท มีการจัดทำสัญญาระหว่าง ขสมก. และบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด โดยใช้ราคาดังกล่าวในการจัดซื้อ แต่ ขสมก. กลับยกเลิกสัญญากับบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด
ต่อมาปี พ.ศ. 2560 ขสมก. ได้ดำเนินการเปิดประมูลเพื่อจัดหารถยนต์โดยสารปรับอากาศ โดยมีความพยายามจะใช้ราคากลางเดิมที่ 4,020 ล้านบาท แต่ก็ได้รับการทักท้วงจากภาครัฐและเอกชนว่าการกำหนดราคากลางดังกล่าวไม่ถูกต้อง จนในที่สุด ขสมก. ต้องใช้ราคากลาง คือ ราคาที่ บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด เคยชนะการประมูลในปี พ.ศ. 2559 เป็นราคากลาง และมีบริษัทเอกชนหลายบริษัทเข้าซื้อซองประกวดราคา แต่ก็ไม่มีเอกชนรายใดยื่นซองประกวดราคาต่อ ขสมก. ทำให้ขสมก. ต้องกำหนดราคากลางขึ้นใหม่ที่วงเงินจำนวน 4,020 ล้านบาท แต่การประมูลครั้งนี้ก็ไม่มีเอกชนรายใดเข้าร่วมในการประกวดราคาเช่นกัน
จนในที่สุด ขสมก. ได้เลือกใช้วิธีการในการคัดเลือกบริษัทเอกชนให้เข้าเสนอราคา โดยส่งหนังสือถึงบริษัทเอกชนต่าง ๆ ให้เข้ามาร่วมยื่นข้อเสนอ ปรากฏว่า บริษัท ช.ทวี จำกัด ( มหาชน ) และ บริษัท สแกนอินเตอร์ จำกัด ( มหาชน ) ซึ่งเป็นเพียงบริษัทเอกชนรายเดียวที่เข้าเสนอราคาโดยเสนอราคาที่ 4,400 ล้านบาท แต่ทาง ขสมก. ได้มีการต่อรองราคาในครั้งนี้ลงเหลือประมาณ 4,200 ล้านบาท ซึ่งบริษัท ฯ เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นธรรม และไม่โปร่งใส ส่อไปในทางทุจริตเอื้อประโยชน์ให้แก่ บริษัท ช.ทวี จำกัด ( มหาชน ) เพราะมีหนังสือเชิญบริษัทเอกชนให้เข้ามาเสนอราคากับ ขสมก. นั้นไม่ได้ดำเนินการไปโดยยุติธรรม
ทั้งนี้ ขสมก . สมควรที่จะจัดส่งหนังสือให้แก่บริษัทเอกชนทุกบริษัทที่เคยเข้าร่วมในการซื้อซองประกวดราคากับ ขสมก. เพราะถือเป็นนิติบุคคลที่มีความสนใจจะเข้าทำสัญญากับ ขสมก. และขสมก. สามารถตรวจสอบรายชื่อของบริษัทเอกชนทั้งหมดได้ แต่กลับเลือกที่จะไม่ส่งหนังสือเชิญ บริษัท ฯ ให้เข้าร่วมเสนอราคาแต่อย่างใด ทั้งๆที่บริษัท ฯ เคยยื่นซื้อซองประกวดราคาต่อ ขสมก. มาแล้ว แต่ ขสมก. กลับส่งหนังสือเชิญ บริษัท สแกนอินเตอร์ จำกัด ( มหาชน ) ให้เข้ามาเสนอราคากับ ขสมก. โดยที่บริษัทนี้ไม่เคยเข้าซื้อซองประกวดราคากับ ขสมก. มาก่อน กรณีนี้เห็นได้ว่า ขสมก. เลือกปฏิบัติในขั้นตอนการคัดเลือกบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาทำสัญญากับ ขสมก. ไว้แล้ว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ผู้บริหารของบริษัท สแกนอินเตอร์ จำกัด ( มหาชน ) มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกันกับผู้บริหารของ ขสมก.
ดังนั้นบริษัทเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นธรรม เพราะหาก ขสมก. มีหนังสือแจ้งมายังบริษัท ฯ ตามขั้นตอนแล้ว บริษัทฯก็สามารถยื่นข้อเสนอในการเข้าทำสัญญากับ ขสมก. และอาจจะมีการกำหนดราคาตามสัญญาที่น้อยกว่าที่ได้ตกลงกับ บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) และบริษัท สแกนอินเตอร์ จำกัด ( มหาชน ) ประเด็นต่อมาคือเรื่องของราคาที่มีการตกลงกันมีข้อกำหนดราคาที่สูงเกินจริง
กล่าวคือเดิม บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) ซึ่งเคยชนะการประมูลราคาที่ 3,800 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2558 เหตุใด ขสมก. ไม่นำราคาใน ปีพ.ศ. 2558 ของ บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) มาเป็นราคาในการต่อรองราคากับบริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) แต่กลับตกลงราคาที่ 4,200 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาเดิมที่บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) เคยเสนอไว้ถึง 400 ล้านบาท ทั้งที่เหตุปัจจัยต่าง ๆ ของการจัดซื้อ
รถยนต์โดยสาร ณ ปัจจุบันถูกลงกว่า ราคาที่บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) เสนอในปี พ.ศ. 2558 เป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยในปีพ.ศ. 2558 อัตราแลกเปลี่ยนเงินอยู่ที่ 35 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) สามารถจัดหารถยนต์ได้ที่ราคา 3,800 ล้านบาท แต่ปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ลดลงเหลือ 32 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) กลับหารถยนต์ได้แพงกว่าเดิมถึง 400 ล้านบาท ทั้งที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราลดลง แต่ชนิดและคุณภาพสินค้าที่มีเสนอให้แก่ ขสมก. คือชนิด และยี่ห้อเดียวกัน กรณีจึงมีข้อสงสัยว่า เหตุใด ขสมก.จึงทำสัญญาโดยที่ทราบอยู่แล้วว่าราคาสูงกว่าความเป็นจริง
ต่อมาคือเรื่องของการเสนอราคาของบริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) มีการดำเนินการเสนอราคาที่มีข้อพิรุธให้สมควรตรวจสอบ กล่าวคือ ก่อนหน้าที่จะมีการพิจารณาในครั้งนี้ หากพิจารณาถึงคำสั่งที่ 901 / 2560 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ในการกำหนดราคากลาง นางพนิดา ทองสุขและคณะกรรมการ ได้อ้างแหล่งที่มาของราคากลางตามคำสั่งขององค์การที่ 717 / 2560 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2560 กำหนดไว้ตามหนังสือที่ ฝรอ.227 / 2560 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2560 ว่าราคากลางมาจากการสืบหาราคาท้องตลาด และมีผู้เสนอราคาจำนวนทั้งสิ้น 5 ราย หนึ่งในนั้นคือ บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) โดยราคากลางที่สรุปและเป็นที่ยอมรับกันคือ ราคา 4,020,148,000 บาท ราคากลางจำนวนนี้เป็นราคากลางที่บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) เห็นชอบด้วย แต่ปรากฏว่ากลับมีการเสนอราคาที่สูงกว่าราคากลางที่มีการยอมรับกันไว้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์
กรณีนี้จึงต้องพิจารณาว่าราคากลางที่มีการกำหนดไว้โดยนางพนิดา ฯ เอกชนสามารถเสนอสูงขึ้นทำได้หรือไม่ , และเหตุใดเมื่อ บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) เคยยอมรับในราคากลางที่ 4,020 ล้านบาท เหตุใด ขสมก. จึงยินยอมรับราคาที่ บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) เสนอเข้ามาให้ซึ่งสูงกว่าราคากลางถึง 10 เปอร์เซ็นต์ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยยอมรับราคาที่ 4,020 ล้านบาท อีกทั้ง กรณีหากสามารถเพิ่มราคากลางเหมือนอย่างเช่นที่ ขสมก เพิ่มให้แก่ บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) ทำแล้ว เหตุใด ขสมก. ไม่ได้ส่งข้อมูลให้บริษัทเอกชนรายอื่น ๆ ได้ทราบถึงการปรับขึ้นราคากลางอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทอื่น ๆ เสนอราคาใหม่ได้ จึงเสมือนเป็นการปิดกั้นไม่ให้ข้อมูลแก่บริษัทเอกชนรายอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เข้าทำการเสนอราคากับ ขสมก. อย่างเป็นธรรม จึงมีข้อให้สงสัยว่าจำนวนราคาที่เพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์จากราคา 4,020 ล้านบาทที่ บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) ได้ยอมรับราคาไว้นั้นจำนวนเงินที่เพิ่มนี้อาจเป็นการดำเนินการที่เอื้อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกหรือไม่ และทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณโดยไม่สมควรหรือไม่
ประเด็นเรื่องคุณสมบัติของผู้ประมูล สำหรับประเด็นนี้ บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) นอกจากกรณีของรถยนต์โดยสารปรับอากาศในครั้งนี้ บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) เป็นคู่สัญญาในการเช่าระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์พร้อมอุปกรณ์ ( E-TICKET ) บนรถโดยสารจำนวน 2,600 คัน ในวงเงินประมาณ 1,600 ล้านบาท แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญาและมีปัญหาต่าง ๆ มากมาย และอยู่ในขั้นตอนการพิจารณายกเลิกสัญญา เมื่อเป็นเช่นนี้ ขสมก. ย่อมพิจารณาและเห็นถึงศักยภาพของบริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) ได้เป็นอย่างดีแล้วว่า ไม่มีความสามารถในการจัดทำโครงการได้ เพราะแม้โครงการที่มีวงเงิน 1,600 ล้านบาท ยังไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จ เหตุใดจึงเลือกบริษัท ช ทวี จำกัด( มหาชน ) ให้ดำเนินการในโครงการที่มีมูลค่าถึง 4,000 ล้านบาทซึ่งมีมูลค่ามากกว่าเกือบสามเท่าของโครงการเดิม การพิจารณาคัดเลือก บริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน ) ในครั้งนี้จึงไม่ชอบต่อการ
พิจารณาคุณสมบัติของบริษัท ช ทวี จำกัด ( มหาชน )
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับ บริษัท ช ทวี จำกัด(มหาชน)นอกจากเพิ่งยื่นเสนอขายรถโดยสารเอ็นจีวี.ให้แก่ ขสมก.ด้วยราคาสูงกว่าราคากลาง 10 เปอร์เซนต์แล้ว บริษัทฯ ยังเป็นคู่สัญญากับ ขสมก.ติดต้องอุปกรณ์เก็บค่าโดยสารอี-ทิคเก็ต ที่ไม่สามารถใช้งานได้ จนถูกสหภาพแรงงานฯขสมก.ออกมาแถลงข่าวถึงความไม่เป็นมืออาชีพหลายครั้งแล้วจนกระทั่งนายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานฯบอร์ด ขสมก.เคยออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าหาก บริษัท ช ทวี ไม่สามารถส่งมอบงานได้ครบและสามารถใช้งานได้
ตามกำหนดเวลา ขสมก.จะต้องพิจารณายกเลิกสัญญาอย่างแน่นอน ในขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ได้มีคำสั่งให้ นายจิรศักดิ์ เยาว์วัชสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส.ตรวจสอบกรณีบริษัท ช ทวีส่งมอบงานปรับปรุงตัวถังรถโดยสาร 57 คันล่าช้าซึ่งจริงๆแล้วยังไม่ได้ส่งมอบแม้แต่คันเดียว ในขณะที่พลเอกประยุทธ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกมากล่าวเตือน ขสมก.ถึงการดำเนินการจัดซื้อรถโดยสารเอ็นจีวี.489 คัน ว่า ทุกอย่างต้องโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรมและต้องถูกต้องตามกฏหมายทุกขั้นตอน อย่าให้มีเรื่องไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด
*******************
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น