นายเศรณี อนิลบล เกษตรจังหวัดสมุทรสาคร
กล่าวว่า ในขณะนี้มีสภาพอากาศแห้งแล้ง ซึ่งสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการระบาดของศัตรูพืช ดังนั้น
เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดที่รุนแรง สร้างความเสียหายแก่เกษตรกร และกระจายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
จึงขอความร่วมมือเกษตรกรร่วมกันสำรวจ ติดตามสถานการณ์ระบาดอย่างต่อเนื่อง
และร่วมแรงร่วมใจกันป้องกันกำจัดอย่างถูกต้องเหมาะสมแบบผสมผสาน
หนอนปลอกชนิดตัวเล็ก (Cremastophyche
pendula Joannis) เข้ากัดกินทำลายใบพืชได้หลายชนิด
โดยเฉพาะมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน
ลักษณะการทำลาย
หนอนปลอกเล็กจะแทะผิว
ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล กัดทะลุใบเป็นรู และขาดแหว่ง
ถ้ารุนแรงจะเห็นทางใบทั้งต้นเป็นสีน้ำตาลแห้ง ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต
ผลผลิตลดลง (ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี)
การแพร่กระจายและฤดูการระบาด
การแพร่กระจายของหนอนปลอก
อาศัยแรงลมพัดพาหนอนปลอกขนาดเล็กซึ่งชอบสาวใยปล่อยตัวห้อยลงมาแกว่งไกวไปตามลม
จากต้นหนึ่งไปสู่ต้นมะพร้าวต้นอื่นๆ หนอนปลอกจะระบาดในปีที่มีฤดูร้อนยาวนาน
การป้องกันกำจัด
1.
ตัดทางใบมะพร้าวที่ถูกหนอนปลอกทำลายมาเผาไฟทันที
เพื่อตัดวงจรการระบาดของหนอนปลอก
2.
ใช้เชื้อแบคทีเรีย
(BT) ฉีดพ่นบริเวณทางใบมะพร้าว
เพื่อกำจัดระยะหนอน อัตรา 80 – 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
ผสมสารจับใบตามอัตราที่แนะนำในฉลาก ฉีดพ่น 3 ครั้ง ห่างกัน 7 – 10 วัน
ในช่วงเวลาเย็น
3.
หากมีการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยเซฟวิน
๘๕ % อัตรา ๒๕ – ๔๐ กรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่น
๑ – ๒ ครั้ง
นอกจากนี้ เกษตรกรควรมีการสำรวจ ติดตามสถานการณ์การระบาด และมีการเฝ้าระวัง
ติดตามการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร โทร/โทรสาร.
034-426995 หรือ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน
ข่าว นางสาวอังสณา ชั้นประเสริฐ
กลุ่มอารักขาพืช
1 ความคิดเห็น:
ต้องการสินเชื่อที่รวดเร็ว? นี่คือสินเชื่อ Atlas! เพียงกรอกแบบฟอร์มและรับสถานะการอนุมัติสินเชื่อภายใน 30 นาที ทุกอย่างเกี่ยวกับสินเชื่ออย่างรวดเร็ว. info atlasloan83@gmail .com ส่งข้อความ whatsapp +1 (443) 345 9339
แสดงความคิดเห็น