เมื่อ 20 ม.ค. 60 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมกองบัญชาการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่ าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้บั ญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภั ยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) เป็นประธานการประชุมติ ดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ภาคใต้ ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่ วมกัน ระหว่าง บกปภ.ช. ส่วนกลาง ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บกปภ.ช. ส่วนหน้า ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภั ยเขต 11 สุราษฎร์ธานี และหน่วยปฏิบัติในระดับพื้นที่ โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องตามโครงสร้าง บกปภ.ช. และ ผู้แทนส่วนสนับสนุนการปฏิบัติ งานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.) ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ
ในโอกาสนี้ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) เปิดเผยว่า การประชุมของ บกปภ.ช. ในวันนี้ มีการคอนเฟอเรนซ์ไปยังพื้นที่ ประสบภัยด้วย เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภั ยในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมทั้งให้ คำแนะนำและแนวทางปฏิบัติตามที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงพระราชทานตรัสไว้ ตลอดจนแนวทางการดำเนินงานและข้ อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้การปฏิบัติการช่วยเหลื อผู้ประสบภัย และการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยกลั บสู่ภาวะปกติโดยเร็วและมีประสิ ทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งภาพรวมสถานการณ์เริ่มคลี่ คลายแล้ว ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีสถานการณ์บางพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังพื้นที่ที่ยังมี ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่ วมขัง เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสงขลา เนื่องจากยังมีมวลน้ำในพื้นที่ ปริมาณมาก ประกอบกับจากการติ ดตามสภาพอากาศและปริ มาณฝนของกรมอุตุนิยมวิทยา ทราบว่าในระยะนี้ภาคใต้ยังคงมี ฝนตกต่อเนื่อง และจะมีฝนมากขึ้นและฝนตกหนั กบางแห่ง ในช่วงวันที่ 20-22 ม.ค.นี้ บกปภ.ช.จึงได้เน้นย้ำจังหวัดเร่ งสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นข้อมู ลในการกำหนดแนวทางการรับมื อและแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกั บสภาพความเสี่ยงภัยในพื้นที่ นอกจากนี้ให้ประเมินและรวบรวมข้ อมูลความเสียหายให้ครอบคลุมในทุ กๆ ด้าน ทั้งด้านชีวิต ด้านทรัพย์สินและที่อยู่อาศัย ระบบสาธารณูปโภค ด้านคมนาคมและสิ่ งสาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และศาสนสถาน พร้อมทั้งให้จังหวัดจัดทำแผนฟื้ นฟูเชิงโครงสร้างในภาพรวมทั้ งระบบ เพื่อเสนอต่อที่ประชุ มคณะกรรมการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) พิจารณาต่อไป
สำหรับจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ ยงภัย ได้กำชับจังหวัดในการติ ดตามสถานการณ์ฝนตกหนั กและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำ ท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ ยงภัย พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่และมิ สเตอร์เตือนภัยติดตามสภาพอากาศ และเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ ชิด และจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภั ยประจำจุดเสี่ยงต่างๆ ให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่ างทันท่วงที โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่ วมขัง ให้จังหวัดเร่งระบายน้ำออกจากพื้ นที่น้ำท่วมขัง และเร่งระบายน้ำลงสู่ทะเลโดยเร็ ว เพื่อรองรับฝนที่ ตกลงมาในระลอกใหม่ นอกจากนี้ ในการสำรวจข้อมูลความเสียหาย ได้กำหนดแนวทางให้จังหวั ดสำรวจและประเมินความเสียหายที่ มีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น โดยแยกตามประเภทพร้อมกำหนดหน่ วยงานรับผิดชอบอย่างชัดเจน ครอบคลุมในทุกด้าน โดยเฉพาะการสำรวจข้อมูลด้านทรั พย์สินและที่อยู่อาศัย ให้แยกประเภทความเสียหายของบ้ านเรือนเป็นเสียหายทั้งหลั งและเสียหายบางส่วน (เสียหายน้อยและเสียหายมาก) เพื่อประกอบการพิ จารณากำหนดแนวทางการช่วยเหลือผู้ ประสบภัยที่เหมาะสม สำหรับการช่วยเหลือฟื้นฟู และได้กำชับให้ทุกภาคส่วนบู รณาการร่วมกันกับหน่วยทหารในพื้ นที่ ระดมสรรพกำลังและทรัพยากรปฏิบั ติการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว พร้อมทั้งให้จังหวัดจัดทำแผนฟื้ นฟูเชิงโครงสร้างในภาพรวมทั้ งระบบอีกด้วย เพื่อเป็นข้อมูลเสนอต่อนายกรั ฐมนตรี ประกอบการตัดสินใจต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น