วันนี้
เวลา 09.00 น.
นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
เป็นประธานเปิดการสัมมนากลุ่มเจาะจง เรื่อง “การสังเคราะห์ลักษณะเฉพาะคดีพิเศษ”
ณ ห้องทิวลิป โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
กรมสอบสวนคดีพิเศษได้จัดการการสัมมนานี้ขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบลักษณะความผิดทางอาญาที่ควรเป็นคดีพิเศษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) (ก) – (จ) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 จากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตามกฎหมายได้กำหนดรายละเอียดไว้กว้างๆ ประกอบด้วย
(ก) คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ
(ข) คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
(ค) คดีความผิดทางอาญาที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม
(ง) คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน
(จ) คดีความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิดอาญาหรือเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา
ลักษณะความผิดดังกล่าว เป็นสิ่งสำคัญที่จะแสดงถึงความเป็นคดีพิเศษที่แตกต่างจากคดีอาญาทั่วไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ และยังอาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงบทบาทของกรมสอบสวนคดีพิเศษในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทั้งนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษจะนำผลการสัมมนานี้มาสังเคราะห์เป็นลักษณะคดีพิเศษเพื่อเสนอคณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณา และนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ดุลยพินิจการรับคดีพิเศษต่อไป
สำหรับรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมสัมมนาแบบเจาะจงในครั้งนี้ ล้วนเป็นบุคคลสำคัญและเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และงานด้านคดีพิเศษทั้งสิ้น อาทิ นายทวี ประจวบลาภ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๙, นายพงษ์ศักดิ์ ตระกูลศิลป์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา, พันตำรวจเอก ดร.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง., นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศ, พลตำรวจเอก เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลตำรวจโท กวี สุภานันท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลตำรวจโท สุวีระ ทรงเมตตา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลตำรวจโท ฐิติราช หนองหาญพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, นายธวัชชัย ยงกิตติกุล นายกสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์
อธิบการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, นายสุขุมพงษ์ โง่นคำ อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และ นายประสงค์ เลิศรัตน์วิสุทธิ์ อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เป็นต้น
กรมสอบสวนคดีพิเศษได้จัดการการสัมมนานี้ขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบลักษณะความผิดทางอาญาที่ควรเป็นคดีพิเศษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) (ก) – (จ) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 จากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตามกฎหมายได้กำหนดรายละเอียดไว้กว้างๆ ประกอบด้วย
(ก) คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ
(ข) คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
(ค) คดีความผิดทางอาญาที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม
(ง) คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน
(จ) คดีความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิดอาญาหรือเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา
ลักษณะความผิดดังกล่าว เป็นสิ่งสำคัญที่จะแสดงถึงความเป็นคดีพิเศษที่แตกต่างจากคดีอาญาทั่วไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ และยังอาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงบทบาทของกรมสอบสวนคดีพิเศษในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทั้งนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษจะนำผลการสัมมนานี้มาสังเคราะห์เป็นลักษณะคดีพิเศษเพื่อเสนอคณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณา และนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ดุลยพินิจการรับคดีพิเศษต่อไป
สำหรับรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมสัมมนาแบบเจาะจงในครั้งนี้ ล้วนเป็นบุคคลสำคัญและเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และงานด้านคดีพิเศษทั้งสิ้น อาทิ นายทวี ประจวบลาภ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๙, นายพงษ์ศักดิ์ ตระกูลศิลป์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา, พันตำรวจเอก ดร.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง., นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศ, พลตำรวจเอก เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลตำรวจโท กวี สุภานันท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลตำรวจโท สุวีระ ทรงเมตตา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลตำรวจโท ฐิติราช หนองหาญพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, นายธวัชชัย ยงกิตติกุล นายกสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์
อธิบการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, นายสุขุมพงษ์ โง่นคำ อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และ นายประสงค์ เลิศรัตน์วิสุทธิ์ อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น