จากกรณีที่มีการแชร์คลิปสั้นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในเหตุอุทาหรณ์ที่นักเรียนกินยาแก้ปวดยี่ห้อโปรโคดิลผสมยาแก้ปวดยี่ห้อทรามาดอล 40 เม็ด ทำให้เกิดอาการชักเกร็ง ก่อนตกตลิ่งใต้สะพานภูมิพล เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2558 ขณะที่เพื่อนและเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้ช่วยกันนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา ข้อมูลเบื้องต้นทราบว่าขณะนี้ยาแก้ปวดยี่ห้อดังกล่าวเมื่อนำมาผสมกับส่วนผสมหลายอย่างจะทำให้เกิดความมึนเมา ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นที่แพร่ระบาด ในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมอย่างมาก โดยก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สำนักงาน ป.ป.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่องจนพบพฤติกรรมการใช้ยารักษาอาการป่วยทั่วไป มาดัดแปลงเป็นสารกระตุ้นประสาท โดยนำยาในกลุ่มยาแก้แพ้ ยาแก้ปวด และยาแก้ไอ มาผสมกับเครื่องดื่มเพื่อให้ออกฤทธิ์มึนเมา และกระตุ้นให้รู้สึกสนุกสนาน ซึ่งในปี 2552 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศเตือนห้ามใช้ยาชนิดนี้เมื่อไม่จำเป็น หลังจากที่พบเด็กวัยรุ่นใน 3 จังหวัดภาคใต้ นำยาแก้ปวดยี่ห้อดังกล่าวใช้เป็นส่วนผสมของยาเสพติด โดยผสมกับยาแก้ไอและเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง จนกลายเป็นสารเสพติด ประเภทสี่คูณร้อย ต่อมาในปี 2554 จังหวัดสตูลประกาศห้ามนำยาชนิดนี้มาจำหน่าย หลังพบว่ามีกลุ่มวัยรุ่นจำนวนมาก นำไปผสมเป็นยาเสพติดร้ายแรง และในปีเดียวกันสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ประกาศเตือนและเฝ้าระวังหลังได้รับรายงานว่าในพื้นที่ภาคเหนือมีกลุ่มวัยรุ่นใช้ยาชนิดนี้ในปริมาณมากโดยกินร่วมกับน้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จนมีอาการมึนเมาเหมือนคนสูบฝิ่น
ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มิได้นิ่งนอนใจกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของการใช้ยาในทางที่ผิด โดยได้มีการติดตาม
เฝ้าระวังและแจ้งเตือนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด รวมทั้งสืบสวนหาข้อมูลพื้นที่/ แหล่งแพร่ระบาดร้านขายยาที่ขายยาดังกล่าวโดยผิดกฎหมาย
แต่อาจไม่เป็นที่ทราบของสื่อมวลชนและประชาชนโดยทั่วไป
จึงเป็นที่มาของการจัดแถลงมาตรการ “หยุดใช้ยาในทางที่ผิด” ครั้งนี้
ซึ่งเป็นการระดมหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องรวมถึงภาคธุรกิจเอกชน โดยสำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถาบันการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนสมาคมร้านขายยา
ร่วมหามาตรการคุมเข้มปัญหาดังกล่าวเพื่อป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิด
ตลอดจนรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้ตระหนักถึงปัญหาและร่วมมือกันในการป้องกันและเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้ยาในทางที่ผิดของเด็กและเยาวชนต่อไป
โดยจะดำเนินการคุมเข้มในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย การป้องปราม
และสืบสวนข้อมูลเชิงลึกและสุ่มตรวจสอบร้านขายยาในพื้นที่เสี่ยงที่มีการลักลอบจำหน่ายยาให้เด็กและเยาวชนนำไปใช้ในทางที่ผิด
พร้อมร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ “หยุดใช้ยาในทางที่ผิด” และจะร่วมกันรณรงค์ให้แพร่หลายต่อไป
โดยมาตรการที่สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ร่วมหารือกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาคราชการ และเอกชนเพื่อแสวงหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว สามารถสรุปได้ดังนี้ มาตรการควบคุม จะยกระดับตัวยารักษาโรคที่มีเด็กและเยาวชนนำไปใช้ในทางที่ผิด ขึ้นเป็นตัวยาที่ต้องมีการควบคุม โดยอนุญาตให้จำหน่ายเฉพาะใน “ร้านขายยาคุณภาพ” ซึ่งต้องเป็นร้านขายยาที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น มาตรการเฝ้าระวังและป้องปราม สำนักงาน ปปส.ภาค 1-9/สำนักงาน ปปส.กทม. ร่วมกับคณะทำงานเฝ้าระวังจังหวัดทุกจังหวัด/ฝ่ายปกครองทุกพื้นที่ ดำเนินการด้านการข่าว วิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลเพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายเฝ้าระวังพิเศษ โดยจะเน้นพื้นที่ที่เป็นปัญหาและมีการแพร่ระบาดอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และฝ่ายปกครองทุกพื้นที่จะใช้มาตรการจัดระเบียบสังคม เพื่อดำเนินการตรวจตราทั้งร้านขายยาที่เฝ้าระวังพิเศษ และร้านขายยาทั่วไป มาตรการปราบปราม จะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายโดยเข้มงวดกับร้านขายยาที่พบว่ามีการลักลอบจำหน่ายยาให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิด มาตรการป้องกัน ระดมความร่วมมือจากองค์กรเครือข่ายร้านขายยา ได้แก่ สมาคมร้านขายยา ชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) เพื่อรณรงค์มิให้ร้านขายยาจำหน่ายยาให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมทั้งให้ความรู้และสร้างความตระหนักเพื่อป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิดในสถานศึกษาทั้งในสังกัดภาครัฐและภาคเอกชน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ผ่านกลไกครูแกนนำ นักเรียนแกนนำ และเครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา
ภก. ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษก อย. ให้ข้อมูลว่า “ที่ผ่านมายาทั้ง 2 ชนิด ยังคงต้องให้มีบริการในร้านขายยาแผนปัจจุบัน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ส่วนใหญ่ในการรักษาโรคขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม อย. มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านขายยาอย่างต่อเนื่อง หากพบว่ามีการซื้อขายยาในทางที่ผิด นอกจากจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วก็จะถูกพักใช้ใบอนุญาตเป็นเวลา 120 วันด้วย และตั้งแต่ปี 2558 - ปัจจุบัน มีร้านขายยาที่กระทำผิดกฎหมายถูกพักใช้ใบอนุญาตไปแล้วกว่า 40 ร้าน หากผู้ใดต้องการแจ้งเบาะแสร้านขายยาที่มีพฤติกรรมขายยาในทางที่ผิดสามารถแจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556”
นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวทิ้งท้ายว่า “สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเสพติดในภาพรวมของประเทศ ตลอดจนป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้ใช้ ยาในทางที่ผิด ซึ่งอาจจะนำไปสู่การใช้ยาเสพติดในที่สุด ได้ดำเนินการเน้นย้ำและให้ความรู้ในการสร้างภูมิคุ้มกัน ยาเสพติดมาโดยตลอด รวมทั้งเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องให้ความรู้ ถึงโทษและพิษภัย ซึ่งในวันนี้ สำนักงาน ป.ป.ส. ได้มีการมอบสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อหยุดการใช้ยาในทางที่ผิดให้กับผู้แทนหน่วยงานทุกท่าน โดยมุ่งหวังว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคส่วนต่างๆ ในสังคมควรร่วมมือกันในการป้องกันแก้ไขปัญหา อย่างต่อเนื่องต่อไป”
****************************
แจ้งเบาะแสยาเสพติด โทร 1386///วุฒิชี้ชัด
โดยมาตรการที่สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ร่วมหารือกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาคราชการ และเอกชนเพื่อแสวงหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว สามารถสรุปได้ดังนี้ มาตรการควบคุม จะยกระดับตัวยารักษาโรคที่มีเด็กและเยาวชนนำไปใช้ในทางที่ผิด ขึ้นเป็นตัวยาที่ต้องมีการควบคุม โดยอนุญาตให้จำหน่ายเฉพาะใน “ร้านขายยาคุณภาพ” ซึ่งต้องเป็นร้านขายยาที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น มาตรการเฝ้าระวังและป้องปราม สำนักงาน ปปส.ภาค 1-9/สำนักงาน ปปส.กทม. ร่วมกับคณะทำงานเฝ้าระวังจังหวัดทุกจังหวัด/ฝ่ายปกครองทุกพื้นที่ ดำเนินการด้านการข่าว วิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลเพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายเฝ้าระวังพิเศษ โดยจะเน้นพื้นที่ที่เป็นปัญหาและมีการแพร่ระบาดอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และฝ่ายปกครองทุกพื้นที่จะใช้มาตรการจัดระเบียบสังคม เพื่อดำเนินการตรวจตราทั้งร้านขายยาที่เฝ้าระวังพิเศษ และร้านขายยาทั่วไป มาตรการปราบปราม จะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายโดยเข้มงวดกับร้านขายยาที่พบว่ามีการลักลอบจำหน่ายยาให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิด มาตรการป้องกัน ระดมความร่วมมือจากองค์กรเครือข่ายร้านขายยา ได้แก่ สมาคมร้านขายยา ชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) เพื่อรณรงค์มิให้ร้านขายยาจำหน่ายยาให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมทั้งให้ความรู้และสร้างความตระหนักเพื่อป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิดในสถานศึกษาทั้งในสังกัดภาครัฐและภาคเอกชน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ผ่านกลไกครูแกนนำ นักเรียนแกนนำ และเครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา
ภก. ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษก อย. ให้ข้อมูลว่า “ที่ผ่านมายาทั้ง 2 ชนิด ยังคงต้องให้มีบริการในร้านขายยาแผนปัจจุบัน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ส่วนใหญ่ในการรักษาโรคขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม อย. มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านขายยาอย่างต่อเนื่อง หากพบว่ามีการซื้อขายยาในทางที่ผิด นอกจากจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วก็จะถูกพักใช้ใบอนุญาตเป็นเวลา 120 วันด้วย และตั้งแต่ปี 2558 - ปัจจุบัน มีร้านขายยาที่กระทำผิดกฎหมายถูกพักใช้ใบอนุญาตไปแล้วกว่า 40 ร้าน หากผู้ใดต้องการแจ้งเบาะแสร้านขายยาที่มีพฤติกรรมขายยาในทางที่ผิดสามารถแจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556”
นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวทิ้งท้ายว่า “สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเสพติดในภาพรวมของประเทศ ตลอดจนป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้ใช้ ยาในทางที่ผิด ซึ่งอาจจะนำไปสู่การใช้ยาเสพติดในที่สุด ได้ดำเนินการเน้นย้ำและให้ความรู้ในการสร้างภูมิคุ้มกัน ยาเสพติดมาโดยตลอด รวมทั้งเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องให้ความรู้ ถึงโทษและพิษภัย ซึ่งในวันนี้ สำนักงาน ป.ป.ส. ได้มีการมอบสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อหยุดการใช้ยาในทางที่ผิดให้กับผู้แทนหน่วยงานทุกท่าน โดยมุ่งหวังว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคส่วนต่างๆ ในสังคมควรร่วมมือกันในการป้องกันแก้ไขปัญหา อย่างต่อเนื่องต่อไป”
****************************
แจ้งเบาะแสยาเสพติด โทร 1386///วุฒิชี้ชัด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น