pearleus

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

กอ.รมน.สค.จับมืออ.กระทุ่มแบนตรวจสอบโรงงานลักลอบปล่อยน้ำเสียลงคลอง


7 ส.ค.61 เวลา 09.30 น.ภายใต้การอำนวยการของพล.ท.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข ผอ.ศปป.4 กอ.รมน.นายประภัสสร์  มาลากาญจน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
          พลตรีเรืองสิทธิ์ มิตรภานนท์ รอง ผอ.ศปป.4 พันเอกเกรียงชัย สุวรรณทัต รอง ผอ.รมน.จังหวัด สมุทรสาคร พ.อ.ทรงศักดิ์ นิ่มนวล ผอ.สพอ.ศปป.4 กอ.รมน. พร้อมนายวุฒิพงษ์  สุภัควนิช นายอำเภอกระทุ่มแบน ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบ บริษัท ไทยกลีเซอรีน จำกัด เลขที่ตั้ง 102 ม.3 ต.ท่าเสา อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนโดยคาดว่าโรงงานดังกล่าวแอบลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำคลองสาธารณะ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกันโดยมี กอ.รมน. ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ทหารค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้มจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 5 องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา กรมชลประทาน และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ต.ท่าเสา
             ขณะเข้าตรวจสอบพบว่ามีการประกอบกิจการตามปกติ และพบการกระทำความผิด ร่วมถึงสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ดังนี้
            1.พบว่าอาคารบางหลังก่อสร้างไม่ตรงตามแบบที่ยื่นขออนุญาตต่อ อบต. จึงให้กองช่างดำเนินการตาม พรบ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2552 โดยมีคำสั่ง ระงับ ห้ามใช้ และรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบ ในส่วนที่ก่อสร้างถูกต้องให้เร่งดำเนินการขออนุญาต
             2. พบว่ามีการกักเก็บกากอุตสาหกรรม คือสารอินทรีย์ที่ไม่ปนเปื้อนกลีเซอรีน ไว้ภายในโรงงานซึ่งเป็นพื้นดิน และไม่มีหลังคาปกคลุม เกิน 90 วัน โดยไม่ได้ขออนุญาต จึงสั่งให้ทางโรงงาน เร่งดำเนินการขนย้ายเข้ามาไว้ภายในอาคารซึ่งมีหลังคาปกคลุมและเป็นพื้นซีเมนต์เพื่อป้องกันไม่ให้สารปนเปื้อนลงสู่ดิน และยื่นขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายร่วมถึงเสียค่าปรับตามกฎหมาย
            3. ไม่มีรายละเอียด water balance จึงได้สั่งให้ทางโรงงานเร่งดำเนินการส่งรายงานรายละเอียด water balance ให้อุตสาหกรรมจังหวัดตรวจสอบต่อไป
           4. นำน้ำทิ้งจากระบบ RO มาใช้ในการรดน้ำต้นไม้ และล้างรถ จึงได้สั่งห้ามทางโรงงานนำน้ำจากระบบ RO มาใช้ จนกว่าจะได้รับผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำ เนื่องจากหากเป็นน้ำที่ไม่ผ่านมาตราฐานจะถูกดำเนินการเรื่องนำน้ำที่ไม่ผ่านมาตรฐานออกนอกโรงงาน
          5. พบว่ามีคราบไขมันปนเปื้อนอยู่ในรางน้ำฝนของโรงงาน จึงให้โรงงานตรวจสอบการปนเปื้อนที่มาของแหล่งน้ำมัน ไขมัน นั้น ไม่ให้มีการปนเปื้อนสู่ภายนอก   พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำจากโรงงานจำนวน 2 จุด จุดที่ 1. บริเวณจุดที่น้ำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย และจุดที่ 2. จุดสุดท้ายก่อนจะระบายน้ำออกสู่ภายนอกโรงงาน
          6.ในส่วนของท่อระบายน้ำทิ้ง ที่ได้มีการเชื่อมลงคลองแนวลิขิต ซึ่งเป็นคลองของชลประทาน จากการตรวจสอบได้มีการวางท่อระบายน้ำลงโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงได้สั่งให้ผู้ประกอบการโรงงานในพื้นที่ ยื่นขออนุญาตให้ถูกต้อง และหากผลการตรวจสอบน้ำทิ้งมีผลไม่ได้เป็นตามค่ามาตรฐาน จะต้องถูกดำเนินคดีต่อไป









0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น