pearleus

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สุรินทร์ จัดงานวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่ รุกข มรดกของแผ่นดิน


 
สุรินทร์จัดงานวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่ รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี  และโครงการเที่ยวงานวัด 55 เมืองรอง สุรินทร์ บ้านเรา
จังหวัดสุรินทร์  โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์  จัดงานแถลงข่าว "โครงการวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่ รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี  และโครงการเที่ยวงานวัด 55 เมืองรอง สุรินทร์ บ้านเรา"  วันอังคารที่ 7 สิงหาคม 2561  เวลา 14.00 น. ณ วัดจอมสุทธาวาส หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์
  สำหรับโครงการดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรมและอนุรักษ์ ฟื้นฟูดูแลต้นไม้ ที่มีประวัติศาสตร์คู่กับชุมชน  เกิดความรู้ ความเป็นมาของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันที่  9 -11 สิงหาคม ณ วัดจอมสุทธาวาส หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และในวันที่ 18 สิงหาคม 2561 ณ สำนักปฏิบัติธรรมวัดเขาดาร์สปวง บ้านช้างหมอบ หมู่ที่ 14  ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
   โดยมี ว่าที่ร้อยตรีนิรันดร์ ดุจจานุทัศน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในการแถลงข่าว และ นางอุดมลักษณ์ ประชุมรักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยนายกฤษณุ  เหลืองพิบูลกิจ นายอำเถอเมืองจังหวัดสุรินทร์ นายสุทธิโรจน์  เจริญธนะศักดิ์  นายอำเภอกาบเชิง ร่วมกันแถลงข่าว
โครงการวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่ รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี จังหวัดสุรินทร์ และโครงการเที่ยวงานวัด 55 เมืองรอง สุรินทร์บ้านเรา กรมส่งเสริม วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำโครงการ "รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี" และโครงการเที่ยวงานวัด 55 เมืองรองสุรินทร์ บ้านเรา เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรม และอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลต้นไม้ ที่มีประวัติศาสตร์ คู่กับชุมชน ส่งผลให้เกิดความรู้ ความเป็นมา ของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทำให้คนในชุมชน เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ให้คงอยู่ และส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น โดยจังหวัดสุรินทร์ ได้รับการคัดเลือกต้นไม้ที่ทรงคุณค่า จำนวน 2 ต้นคือ ต้นมะขามลายศิลป์ ณ วัดจอมสุทธาวาส หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ ได้รับคัดเลือก 1 ใน 65 ต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทร เทพยวรางกูร เนื่องในโอกาส ทรงพระชนมพรรษา 65 พรรษา 28 กรกฎาคม 2560. และ
ต้นจันผา ณ. สำนักปฏิบัติธรรม วัดเขาดาร์สปวง บ้าน ช้างหมอบ หมู่ที่ 14 ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ได้รับคัดเลือก 1 ใน 63 ต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 63 พรรษา 2 เมษายน 2561
  ในส่วนของโครงการเที่ยวงานวัด 55 เมืองรอง สุรินทร์บ้านเรา จัดขึ้นภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฯ ฉบับที่ 2 โดยกำหนดเป็น ยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้สังคมตระหนัก ในคุณค่าของวัฒนธรรมและภูมิปัญญา พัฒนาศักยภาพ และเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของบุคลากร องค์กรภาคีและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม โดยมีพันธกิจในการส่งเสริม สนับสนุนการนำทุนทางวัฒนธรรม ใช้ในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่า ทางสังคมและเศรษฐกิจและการส่งเสริมภาคประชาชนให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม โดยให้มีการจัดกิจกรรมงานวัดที่มีความเป็นมายาวนานหลายร้อยปี เป็นศูนย์รวมของชุมชนมาแต่โบราณการจัดงานวัดจึงเป็นเหมือนกุศโลบาย  ที่เชื่อมโยงพุทธศาสนา และวิถีชีวิตของผู้คน ในแต่ละยุคสมัย เข้าด้วยกัน ได้เป็นอย่างดี รวมไว้ทั้งโรงหนังสวนสนุกพิพิธภัณฑ์โรงละครศิลปะการแสดง ตลาดนัดและร้านอาหารในคราวเดียวกัน กิจกรรมในงานวัด จึงสะท้อนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายเอาไว้ในที่เดียว
ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ จึงได้จัดทำโครงการวัฒนธรรม สู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่ รุกข มรดก ของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี จังหวัดสุรินทร์ และเที่ยวงานวัด 55 เมืองรอง สุรินทร์บ้านเราประจำปีงบประมาณ 2561 โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงานดังนี้ เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ความเป็นมา ของประวัติศาสตร์ ต้นไม้ ให้เป็นที่รู้จักแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนโดยทั่วไป โดยการพัฒนาต่อยอด ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลต้นไม้ที่มีประวัติศาสตร์ ให้คงอยู่คู่กับชุมชน จากรุ่นสู่รุ่น อันจะทำให้เกิดรายได้ต่อครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติโดยรวม เพื่อสร้างความ ภาคภูมิใจ ให้กับประชาชนในท้องถิ่น และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความรัก และมองเห็นในมรดกทางธรรมชาติ เพื่อกระตุ้นให้มีการนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างอาชีพรายได้ และเพิ่มพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมให้ยั่งยืน เพื่อกระตุ้นปลูกจิตสำนึก ให้ประชาชน เกิดความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมการใช้มรดกทางวัฒนธรรมในการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมให้กับชุมชน










0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น