pearleus

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สรุปสถานการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ของจังหวัดนครปฐม


สุชาดา  พรหมจำรัส/สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม/รายงาน
 สรุปสถานการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ของจังหวัดนครปฐม มีผู้เสียชีวิตแล้ว(ประจำวันที่ 18 ตุลาคม 2554  เวลา 12.30
....... นายมรกต  คงทน  ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม  ได้รับแจ้งจาก  นายนิมิต  จันทน์วิมล  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยวาตภัยจังหวัดนครปฐม  ว่า จังหวัดนครปฐม  เริ่มมีน้ำเอ่อล้นตลิ่ง มาตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2554 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันทำให้จังหวัดนครปฐมมีพื้นที่ประสบอุทกภัยเพิ่มเป็น 7 อำเภอ  96 ตำบล 803 หมู่บ้าน  และราษฎรได้รับความเดือดร้อน รวม 106,488 คน 32,400 ครัวเรือน  และมีผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย ที่อำเภอนครชัยศรี  เนื่องจากถูกไฟฟ้าช็อตซึ่งมีความเสียหายรวมมูลค่าในเบื้องต้นประมาณ 55, 368,837.00 บาท  ประกอบด้วย ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 9,281 หลัง   และด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ถนน 279 สาย สะพาน 14 แห่ง วัด 12 แห่ง  โรงเรียน 15 แห่ง สถานที่ราชการ 2 แห่ง และโรงงาน 2 แห่ง   ส่วนด้านการเกษตร ความเสียหายเบื้องต้นของพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจาก กรณีอุทกภัยในระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม  17 ตุลาคม 2554 ในพื้นที่การเกษตรของอำเภอนครชัยศรี บางเลน พุทธมณฑล กำแพงแสน สามพราน อำเภอดอนตูม  และเมืองนครปฐม  ปรากฏว่า ขณะนี้ มีพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหายสะสมจำนวน 66,898 ไร่  เป็นข้าว 50,891.50 ไร่ พืชสวน 10,957 ไร่ พืชไร่ 5,149 ไร่  เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 5,655 ราย   และด้านประมง  ความเสียหายเบื้องต้นเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม  17 ตุลาคม 2554  ในพื้นที่อำเภอบางเลน เมืองฯ พุทธมณฑล สามพรานและกำแพงแสน  ปรากฏว่า มีพื้นที่ประสบภัย ประกอบด้วย พื้นที่ปลาทุกชนิดในบ่อดิน/นาข้าว จำนวน 1,524ไร่   กุ้ง/ปู และหอยทะเล 77 ไร่ ประมาณการมูลค่าความเสียหาย 20,431,525 บาท วงเงินช่วยเหลือ 1,232,125 บาท สำหรับการคาดหมายสถานการณ์และการเฝ้าระวังนั้น สถานีอุตุนิยมวิทยานครปฐม รายงานพยากรณ์อากาศบริเวณจังหวัดนครปฐม ท้องฟ้ามีเมฆมาก(8-9 ส่วน/10 ส่วน) กับจะมีฝนและฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ 30% ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิต่ำสุด 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 องศาเซลเซียส  ลมตะวันตก เฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม.ต่อชม.ส่วนสถานการณ์น้ำ ในวันพรุ่งนี้(19 ต.ค.54)  อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งตรวจสอบแนวป้องกัน โดยพิจารณาจากข้อมูลระดับน้ำ ที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง ต.บางเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ระดับน้ำวัดได้ 3.43 เมตร สูงกว่าระดับตลิ่ง 43 เซนติเมตร (ระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 4 เซนติเมตร.) และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากน้ำที่ท่วมขังพื้นที่เกษตร ในเขต อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี กำลังไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีน สำหรับปริมาณน้ำที่ไหลบ่ามาจากพื้นที่เกษตรด้านบน (ทุ่งผักไห่และทุ่งเจ้าเจ็ด) ทำให้ระดับน้ำในคลองพระยาบันลือ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้ต่ำกว่าตลิ่งหรือแนวป้องกันที่เสริมใหม่อยู่ 3 เซนติเมตร ระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน(17 ตค.54) 4 เซนติเมตร  (ระดับตลิ่งใหม่ 3.50 ม.)  และได้มีการเปิดบานระบาย เพื่อรับน้ำเข้าพื้น ที่เกษตรฝั่งซ้ายของแม่น้ำท่าจีน บริเวณตำบลบัวปากท่า อำเภอบางเลน ซึ่งจะส่งผลถึงอำเภอนครชัยศรี และอำเภอพุทธมณ และทางด้าน นายชูชาติ  รักจิตร  ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครปฐม  รายงานว่าสถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2554 ดังนี้ ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีนที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง(T13) จังหวัดสุพรรณบุรีระดับน้ำท่าจีน 3.43 เมตร จากระดับตลิ่ง 3.00 เมตร  เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่า 43 เซนติเมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554 เพิ่มขึ้น 4 เซนติเมตร  สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ สถานีวัดน้ำบางไทรป่า(T15) ระดับน้ำท่าจีน 2.77 เมตรจากระดับตลิ่ง 2.20 เมตร  เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่า 57เซนติเมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554 เพิ่มขึ้น 2 เซนติเมตร  สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ สถานีวัดน้ำนครชัยศรี(T1) ระดับน้ำท่าจีน 2.23 เมตร จากระดับตลิ่ง 1.70 เมตร  เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่า 53 เซนติเมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554  เพิ่มขึ้น 4 เซนติเมตร  สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำและสถานีวัดน้ำสามพราน(T14) ระดับน้ำท่าจีน 3.54  เมตร จากระดับตลิ่ง 4.00 เมตร  เปรียบเทียบระดับน้ำต่ำกว่า 46 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554  ลดลง 1 เซนติเมตร  สถานการณ์เฝ้าระวังอยู่   ส่วนสภาพน้ำท่าในคลองสายสำคัญ ได้แก่  คลองพระยาบันลือ ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 3 เซนติเมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 17 ต.ค.54  เพิ่มขึ้น 4 เซนติเมตร สูบน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีน ปริมาณน้ำ 17.90 ลบ.ม.ต่อวินาที,  คลองพระพิมล ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 63 เซนติเมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 17 ต.ค.54 เพิ่มขึ้น 4 เซนติเมตร ซึ่งสูบน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงแม่น้ำท่าจีนปริมาณ 22.13 ลบ.ม.ต่อวินาที,   คลองมหาสวัสดิ์ ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 49 เซนติเมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 17 ต.ค.54  เพิ่มขึ้น 3 เซนติเมตร  สูบน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีนปริมาณ 13.75 ลบ.ม.ต่อวินาที  คลองบางภาษี ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.03 เซนติเมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 17 ต.ค.54 เพิ่มขึ้น 8 เซนติเมตร สูบน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงแม่น้ำท่าจีนปริมาณ 18.00 ลบ.ม.ต่อวินาที คลองลำพญา  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 70 เซนติเมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 17 ต.ค.54  เพิ่มขึ้น 8 เซนติเมตร น้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีนปริมาณ 2.00 ลบ.ม.ต่อวินาที  และคลองประชาศรัย ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 77 เซนติเมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 17 ต.ค.54  เพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร  สูบน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีนปริมาณ 2.40 ลบ.ม.ต่อวินาที สำหรับในวันนี้(18 ตค.54) เวลา 09.00 น.  นายนิมิต จันทน์วิมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย จังหวัดนครปฐม    พร้อมด้วย ร.ต.พงศธร ศิริสาคร หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครปฐม ในฐานะเลขานุการศูนย์ฯ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ณ  ห้องประชุมชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดนครปฐม  ซึ่งมีข้อสั่งการในที่ประชุมว่า  ให้อำเภอแต่ละอำเภอ มีธงสัญลักษณ์ ระบุระดับความรุนแรงของสถานการณ์ในพื้นที่ และติดตั้งธงกาชาดในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้ทราบว่าเป็นสถานที่พักพิงชั่วคราว  (ได้มีการจัดเตรียมความพร้อมให้มีจุดพักพิงในพื้นที่ 7 อำเภอ จำนวน140 จุด รองรับประชาชนได้ประมาณ 99,160 คน) รวมถึงจุดปลอดภัยทุกจุด  ตลอดจนประสานชลประทานในพื้นที่เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการระบายน้ำ  นอกจากนี้ให้ทางหลวงชนบทจังหวัด จัดทำแผนที่อพยพ และเส้นทางสัญจรระหว่างตำบล อำเภอ และจังหวัด  นายนพพร  พิสุทธิมาน  ผู้อำนวยการแขวงการทางนครปฐม  ได้ประชาสัมพันธ์เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วมจากกรุงเทพฯ-ภาคเหนือให้ใช้เส้นทางดังนี้คือ จากกรุงเทพฯ ให้ใช้ถนนบรมราชชนนี  ถนนเพชรเกษม   จังหวัดนครปฐม  ถนนมาลัยแมน   จังหวัดนครปฐม  อำเภออู่ทอง   จังหวัดสุพรรณบุรี  อำเภอด่านช้าง   จังหวัดสุพรรณบุรี  อำเภอบ้านไร่  จังหวัดอุทัยธานี  อำเภอลาดยาว   จังหวัดนครสวรรค์  อำเภอขาณุวรลักษบุรี  จังหวัดกำแพงเพชร แล้วมุ่งสู่จังหวัดต่างๆ ของภาคเหนือต่อไป   ซึ่งเส้นทางดังกล่าวทุกแขวงการทางได้จัดทำป้ายบอกทางไว้ตลอดเส้นทาง เพื่อความสะดวกของประชาชนผู้ใช้เส้นทางแล้วนอกจากนี้จังหวัดนครปฐมได้ตั้งศูนย์รับบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดนครปฐม  โดย นางสาวนิ่มนวล หวังเจริญ  คลังจังหวัดนครปฐม และเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม รับผิดชอบ ในการรับบริจาคเงินผ่านธนาคารกรุงไทย  สาขานครปฐม  ประเภทบัญชีออมทรัพย์  หมายเลขบัญชี  701-0-88938-4  ชื่อบัญชี บริจาคช่วยเหลือน้ำท่วมจังหวัดนครปฐม   หรือบริจาคได้ที่ศาลากองอำนวยการ องค์พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม   และที่สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม  ชั้น 1  ศาลากลางจังหวัด  ตำบลถนนขาด  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม  หมายเลขโทรศัพท์  0-3434-0007-8   ส่วนด้านการให้ความช่วยเหลือ หน่วยงานในจังหวัดนครปฐม  ได้เข้ามาดูแลและระดมให้ความช่วยเหลือหลายๆ ด้านในเบื้องต้นเป็นการเร่งด่วนแล้ว  และโรงเรียนการบิน กำแพงแสน ได้ตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยโรงเรียนการบินและสนับสนุนกำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หมายเลขโทรศัพท์ 0-3499 6502 และ 0-2155 7206    สำหรับศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย จังหวัดนครปฐม แจ้งที่โทรศัพท์ 0-3434-0230, 0-3434-00000-3434-03340-3434-0158   

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น