pearleus

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โครงการชลประทานนครปฐมสรุปรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ประจำวันที่ 11 ตุลาคม 2554


นายมรกต  คงทน  ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม  ได้รับแจ้งจาก  นายชูชาติ  รักจิตร  ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครปฐม  รายงานว่าสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2554  โดยพิจารณาจากสภาพน้ำท่าเป็นเกณฑ์  ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน ช่วงตั้งแต่ อำเภอบางเลน-อำเภอสามพราน   นอกจากนี้ในพื้นที่ต่างๆของจังหวัดนครปฐม ก็มีน้ำท่วมขังอยู่
          ส่วนสถานการณ์น้ำ ในวันพรุ่งนี้(12 ต.ค.54)  อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งตรวจสอบแนวป้องกัน โดยพิจารณาจากข้อมูลระดับน้ำ ที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง ต.บางเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ระดับน้ำวัดได้ 3.21 เมตร สูงกว่าระดับตลิ่ง 0.21 เมตร (ระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเมื่อวันที่ 10 ต.ค.54  2 ซม.) และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากน้ำที่ท่วมขังพื้นที่เกษตร ในเขต อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี กำลังไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีน   
         ปริมาณน้ำที่ไหลบ่ามาจากพื้นที่เกษตรด้านบน (ทุ่งผักไห่และทุ่งเจ้าเจ็ด) ทำให้ระดับน้ำในคลองพระยาบันลือ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้ต่ำกว่าตลิ่งหรือแนวป้องกันที่เสริมใหม่อยู่ 27 เซนติเมตร ระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเมื่อวันที่ 10 ตค.54    3 เซนติเมตร  (ระดับตลิ่งใหม่ 3.50 เมตร) และได้มีการเปิดบานระบาย เพื่อรับน้ำเข้าพื้น ที่เกษตรฝั่งซ้ายของแม่น้ำท่าจีน บริเวณตำบลบัวปากท่า อำเภอบางเลน ซึ่งจะส่งผลถึงอำเภอนครชัยศรี และอำเภอพุทธมณฑล 
สำหรับสภาพน้ำท่าในแม่น้ำท่าจีน  ที่จุดตรวจวัดระดับน้ำและปริมาณน้ำมี 4 จุดเมื่อวันที่ 11 ต.ค.54 เวลา 06.00 น. คือ
ที่สถานีวัดน้ำบ้านบางการ้อง(T13) จังหวัดสุพรรณบุรีระดับน้ำท่าจีน 3.21 เมตร
จากระดับตลิ่ง 3.00 เมตร  เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 21 เซนติเมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2554 เพิ่มขึ้น 2 เซนติเมตร  สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ   
สถานีวัดน้ำบางไทรป่า(T15) ระดับน้ำท่าจีน 2.67 เมตรจากระดับตลิ่ง 2.20 เมตร 
เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 47 เซนติเมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2554 เพิ่มขึ้น เซนติเมตร  สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ    
สถานีวัดน้ำนครชัยศรี(T1) ระดับน้ำท่าจีน 2.13 เมตร จากระดับตลิ่ง 1.70 เมตร 
เปรียบเทียบระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 43 เซนติเมตร  เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2554 เพิ่มขึ้น 2 เซนติเมตร  สถานการณ์มีปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ   
และสถานีวัดน้ำสามพราน(T14) ระดับน้ำท่าจีน 3.74  เมตร จากระดับตลิ่ง 4.00
เมตร  เปรียบเทียบระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 26 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2554  ลดลง 5 เซนติเมตร  สถานการณ์ยังเฝ้าระวังอยู่       
ส่วนสภาพน้ำท่าในคลองสายสำคัญ ได้แก่
คลองพระยาบันลือ(G1) ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 27 เซนติเมตร ระดับตลิ่งใหม่ 3.50 เมตร  เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 10 ต.ค.54  เพิ่มขึ้น 3 เซนติเมตร ปิดบานระบายด้านติดแม่น้ำท่าจีนสูบน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณน้ำ 14.40 ลบ.ม.ต่อวินาที,  
คลองพระพิมล(G4)  มีการเสริมแนวป้องกันสูงขึ้นจากเดิม  ทำให้ระดับน้ำวันนี้(11 ตค.54)สูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 40 เซนติเมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 10 ต.ค.54 เพิ่มขึ้น 7 เซนติเมตร  จึงต้องเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงแม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 22.25 ลบ.ม.ต่อวินาที และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด,   

- 2 -
คลองมหาสวัสดิ์(G7)  มีการเสริมแนวป้องกันสูงขึ้นจากเดิม  ทำให้ระดับน้ำวันนี้(11 ตค.54)สูงกว่าตลิ่งที่เสริมใหม่ 24 เซนติเมตร  เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 10 ต.ค.54  เพิ่มขึ้น 3 เซนติเมตร  มีการปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน และเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 13.75 ลบ.ม.ต่อวินาที และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด,   
คลองบางภาษี(G5)  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 85 เซนติเมตร  เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 10 ต.ค.54 เพิ่มขึ้น 3 เซนติเมตร  ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง  ต้องปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน และเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงแม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 18.00 ลบ.ม.ต่อวินาที
คลองลำพญา(G6)  มีการเสริมแนวป้องกันสูงขึ้นจากเดิม  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 50 เซนติเมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 10 ต.ค.54 ลดลง 3 เซนติเมตร ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่ง  จึงต้องปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน และเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 2.00 ลบ.ม.ต่อวินาที  และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด   
และคลองประชาศรัย(G3)  มีการเสริมแนวป้องกันสูงขึ้นจากเดิม  ระดับน้ำวันนี้(11 ตค.54)สูงกว่าตลิ่ง 53 เซนติเมตร เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 10 ต.ค.54 เพิ่มขึ้น 2 เซนติเมตร  ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่งเช่นกัน  จึงต้องปิดบานระบายน้ำด้านติดแม่น้ำท่าจีน และเร่งระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกลงสู่แม่น้ำท่าจีนด้วยปริมาณ 2.40 ลบ.ม.ต่อวินาที  และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
          สำหรับการให้ความช่วยเหลือ ขณะนี้ชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเฉพาะจุดในพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 8 เครื่อง และได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม จำนวน 20 เครื่อง สลับหมุนเวียนเดินเครื่องครั้งละ 14 เครื่อง  เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำจากแม่น้ำท่าจีนให้ไหลลงสู่ทะเลให้เร็วขึ้น
           ซึ่งจังหวัดนครปฐมได้ประสานกับ สนง.ชลประทานที่ 13 ให้ควบคุมลดปริมาณน้ำในคลองชลประทานสาย 5 L และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งกำจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างเร่งด่วนแล้ว   นอกจากนี้ยังให้มีการผลักดันน้ำจากคลองธรรมศาลา ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง  ไปเข้าคลองบึงกุมบึงช้างหรือบึงบางระกำ อำเภอนครชัยศรี   ลงคลองจินดา อำเภอสามพราน  เพื่อที่จะได้ผลักดันลงสู่ทะเล    และสั่งการให้ผลักดันน้ำพร้อมกัน 4 จุด ที่สะพานวัดเทียนดัด  สะพานอำเภอสามพราน   สะพานโพธิ์แก้ว  และสะพานวัดไร่ขิง
            ด้านการคาดหมายลักษณะอากาศบริเวณจังหวัดนครปฐม  สถานีอุตุนิยมวิทยานครปฐม รายงานว่า ระหว่างวันที่ 10-16 ตุลาคม 2554  ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก  ในช่วงวันที่ 13-16 ตุลาคม 2554 ร่องมรสุมจะมีกำลังอ่อนลง และเลื่อนไปพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะนี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย  ลักษณะนี้จะทำให้จังหวัดนครปฐม  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง  ในช่วงวันที่ 10-12 ตุลาคม 2554 มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศา  อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กิโลเมตร/ชั่วโมง จึงขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักในระยะนี้  

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น