'อนุพงษ์' แจงที่มาซื้อเครื่องตรวจจับความเร็ว ระบุไว้ใช้กับถนนสายรอง ขณะที่ปลัด
มท. ชี้ภาคเอกชนเป็นผู้เสนอ ย้ำยังไม่มีการซื้อเครื่องเจ้าปัญหา พร้อมเชิญ
บ.เอกชนเข้าร่วมประมูลจัดซื้อ
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ชี้แตงกระแสข่าวอนุมัติให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
จัดซื้อเครื่องตรวจจับความเร็วแบบพกพา
เพื่อใช้ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนว่า
เรื่องนี้คณะกรรมการความปลอดภัยทางถนนสรุปว่าการบังคับใช้กฎหมายต้องมีจุดตรวจจับและต้องมีเครื่องมือ
จึงขอรัฐบาลซื้อเพราะเครื่องมือไม่เพียงพอ
ที่สำคัญเครื่องมือดังกล่าวใช้ในถนนชุมชนหรือถนนสายรองซึ่งสถิติการเสียชีวิตมีมาก
จึงเป็นที่มีของการขอรัฐบาล โดยรัฐบาลก็อนุมัติ
ส่วนซื้อเท่าไรตนไม่ทราบเพราะไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของตน ต้องถาม
ปภ.ตนมีหน้าที่นำความต้องการของผู้เสนอไปเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ
ครม.อนุมัติมาผู้ที่รับผิดชอบก็ไปจัดซื้อจัดจ้าง
ไม่ใช่สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้จัดซื้อ แต่เป็น ปภ.ที่ดำเนินการจัดซื้อ
ทั้งนี้ได้ถามผู้เกี่ยวข้องว่าทำไมเราต้องซื้อ ไม่ให้ตำรวจซื้อ
คำตอบคือในพื้นที่ถนนรอง ด่านรองต่างๆ สามารถยืมไปใช้ได้
แต่ถ้าเป็นตำรวจไม่ให้ยืม
ด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ
ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงราคาการจัดซื้อเครื่องพกพาที่สูงว่า
ราคาสูงหรือไม่นั้นก่อนจะจัดซื้อจัดหาต้องมีการสืบราคาว่าอุปกรณ์ประเภทนี้มีขายราคาเท่าใด
ซึ่งต้องดูจากหลายๆ บริษัทและดูการซื้อจากอดีตที่ผ่านมา เรื่องราคาต้องสมเหตุสมผล
ขึ้นอยู่กับสมรรถนะของเครื่อง
และสำคัญที่สุดอยู่ที่ประโยชน์การใช้เพราะไม่ได้ซื้อให้ตำรวจ
แต่ซื้อให้ทุกส่วนราชการและท้องถิ่น ซึ่งใช้ใน 2 ลักษณะ 1.ใช้เพื่อบังคับตามกฎหมายคือเร็ว จับ 2.ใช้เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ว่ามีเครื่องมือแล้ว
โดยเครื่องนี้จะอยู่ทุกจังหวัดเป็นของ ปภ. แต่ละอำเภอ แต่ละส่วนงานมาขอใช้ได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการซื้อขายเครื่องดังกล่าว
อีกทั้งการซื้อต้องเป็นระบบเปิดโดยการอีบิดดิ้ง
อย่างไรก็ดีขณะนี้เป็นเพียงแต่การเสนอว่ามีความจำเป็น
และคนที่เสนอให้ซื้อเป็นกรรมการภาคเอกชนคือมูลนิธิเมาไม่ขับ องค์กรเครือข่ายต่างๆ
เสนอมาต่อเนื่องทุกปี เพียงแต่ว่ายังไม่ได้รับงบประมาณ
แต่ปีนี้เพิ่งได้ในส่วนซื้อทั้งระบบ ส่วนการจัดซื้อจะเริ่มได้เมื่อไรนั้น
เมื่อรู้แล้วว่าได้รับอนุมัติงบประมาณก็เข้าสู่กระบวนการจัดหา
ขณะนี้ในการทำสเป็กก็เชิญทาง สตช. กรมการขนส่ง ผู้สื่อข่าว และส่วนราชการของ ปภ.
ร่วมกันทำสเป็ก เมื่อได้สเป็กแล้วก็นำขึ้นฟังประชาวิจารณ์ เชิญบริษัทต่างๆ
เข้ามาประมูลเยอะๆ เพื่อมาเสนอขาย โดยเราจะประกาศประชาพิจารณ์ตามขั้นตอน
เมื่อเป็นที่ยุติแล้วถึงเข้าสู่กระบวนการจัดหาแล้วเสนอราคา
แล้วถึงมาบิดดิ้งเพื่อพิจารณาอีกครั้ง โดยทุกอย่างเป็นไปตามระเบียบกล่าว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น