"จ่อแก้ กม.บำนาญชราภาพ
ขยายอายุรับเงิน55 ปีเ ป็น60 ปี เปิดวิธีคำนวณเงินเกษียณ"
หลังจากประเด็นวิพากษ์วิจารณ์การปรับเพิ่มเงินสมทบผู้ประกันตน
จากเดิม 750 บาทต่อเดือนเป็นสูงสุด 1,000 บาทต่อเดือน
โดยคิดคำนวณฐานค่าจ้างใหม่จากเดิมเงินเดือน 15,000 บาท เป็นสูงสุด 20,000 บาท
เตรียมประกาศใช้อีก 3 เดือนข้างหน้า กระทั้งนายกรัฐมนตรีออกมาย้ำว่า
ยังไม่ดำเนินการ เนื่องจากเครือข่ายแรงงานออกมาคัดค้านนั้น
ล่าสุดเรื่องยังคงเดินหน้าต่อและยังมีการขยายอายุรับเงินบำนาญชราภาพอีก
เมื่อ วันที่ 29 ตุลาคม นพ.สุรเดช
วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.)
กล่าวถึงความคืบหน้าการประชาพิจารณ์ปฏิรูปกองทุนบำนาญชราภาพ ว่า
เรื่องนี้ต้องแยกคนละส่วนกับกรณีการเพิ่มเงินสมทบผู้ประกันตนเงินเดือน
16,000-20,000 บาทขึ้นไป โดยกรณีนี้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นเมื่อปี 2559
แล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมาย ขั้นตอนคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จปี 2561
ขณะที่การขยายอายุรับเงินบำนาญชราภาพนั้น อยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์ทั้งหมด 12
ครั้ง ผ่านการประชาพิจารณ์ไปแล้ว 6 ครั้ง
ในกรุงเทพมหานคร จังหวัดพระนครศรีอยธุยา เชียงใหม่ พิษณุโลก กระบี่
และสงขลา โดยอีก 6 ครั้งที่เหลือจะทำใน 6
จังหวัด คือ ครั้งที่ 7
จังหวัดขอนแก่น วันที่ 30 – 31 ตุลาคม 2560 ครั้งที่ 8 จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 6 – 7 พฤศจิกายน 2560 ครั้งที่ 9 จังหวัดระยอง วันที่ 13 -14 พฤศจิกายน
2560 ครั้งที่ 10 จังหวัดเพชรบุรี วันที่
20 – 21 พฤศจิกายน 2560 ครั้งที่ 11 จังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 24
พฤศจิกายน 2560 และครั้งที่ 12
กรุงเทพมหานคร วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560
“โดยผล
การประชาพิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการขยายอายุรับเงินบำนาญชราภาพ
จากเดิมเกษียณอายุ 55 ปี เป็นอายุ 60 ปี แต่โดยระยะแรกก็จะเป็นไปโดยความสมัครใจ
หากใครต้องการรับเงินบำนาญที่อายุ 55 ปีก็ทำได้เช่นเดิม
เพียงแต่ในกรณีผู้ประกันตนที่ต้องการรับเงินตอนอายุ 60 ปีก็สามารถทำได้
ซึ่งตรงนี้เมื่อได้ข้อสรุปจะปรับแก้ในพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ซึ่งหากแก้ไขแล้วก็จะเป็นพ.ร.บ.ประกันสังคม
(ฉบับแก้ไขที่ 5) พ.ศ.2558 แทน แต่คงยังไม่รวดเร็วนัก เพราะต้องเป็นไปตามกระบวนการ”
นพ.สุรเดช กล่าว
นพ.สุรเดช กล่าวว่า
โดยการระดมความคิดเห็นนั้นจะมี 4 แนวทาง
คือ แนวทางที่ 1 คงอายุการรับเงินบำนาญชราภาพที่ 55 ปี
และรับสิทธิประโยชน์การรับเงินบำนาญแบบเดิม
แนวทางที่ 2 ขยายอายุการเกิดสิทธิรับบำนาญตามหลักสากล
และมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชดเชย
หากไม่สามารถทำงานจนถึงอายุที่มีสิทธิรับบำนาญได้
แนวทางที่ 3 ขยายอายุการเกิดสิทธิรับบำนาญตามหลักสากลคือ 60 ปี
และสามารถเลือกรับสิทธิประโยชน์บำเหน็จไปส่วนหนึ่งก่อนครบอายุรับบำนาญ แต่เมื่อครอบอายุเกิดสิทธิรับบำนาญ
เงินที่ได้รับจะลดลง และแนวทางที่ 4
ขยายอายุรับบำนาญขั้นต่ำเฉพาะผู้ประกันตนใหม่
สำหรับผู้ประกันตนเดิมสามารถเลือกรับบำเหน็จส่วนหนึ่งก่อนครบอายุรับบำนาญ
แต่เมื่ออายุครบรับบำนาญเงินจะลดลง
ซึ่งสามารถเข้าไปศึกษาและแสดงความคิดเห็นว่าเห็นด้วยกับแนวทางใดในเว็บไซต์
ของสำนักงานประกันสังคม http://www.sso.go.th
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
จากการสืบค้นในเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมเปิดเผยตัวเลขการคำนวณเงินรับ
บำนาญชราภาพ โดยให้คำนวณดังนี้ เงินบำนาญ
= [20% + (1.5%x จำนวนปีที่ส่งเงินสมทบเกิน
180 เดือน)] x ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
ข้อมูลจาก สปส.
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า
จากการสืบค้นในเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมเปิดเผยตัวเลขการคำนวณเงินรับ
บำนาญชราภาพ โดยให้คำนวณดังนี้ เงินบำนาญ
= [20% + (1.5%x จำนวนปีที่ส่งเงินสมทบเกิน
180 เดือน)] x ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หรือ หากส่งเงินสมทบมา 15 ปี
อัตราเงินบำนาญอยู่ที่ 20% ก็จะได้รับเงินบำนาญต่อเดือนที่ 3,000 บาท แต่หากส่งเงินสมทบ 20 ปี จะได้อัตราเงินบำนาญ 27.5 %
จำนวนเงินรับบำนาญ 4,125 บาทต่อเดือน หากส่งเงินสมทบ 25 ปี
อัตราเงินบำนาญ 35 % จำนวนเงินรับบำนาญอยู่ที่
5,250 บาทต่อเดือน หากส่งเงินสมทบ 30 ปี อัตราเงินบำนาญ
42.5% รับเงินบำนาญจำนวน 6,375 บาทต่อเดือน และหากสมทบ 35 ปี
อัตราบำนาญอยู่ที่ 50% จะรับเงิน 7,500 บาท
ซึ่งทั้งหมดเป็นกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น