วันที่ 5 ก.ย. ที่สถาบันพระปกเกล้า นายวุฒิสาร ตันไชย
เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยแบบสำรวจความคิดเห็นประชาชน ปี 2560 ในโอกาสครบรอบ 19 ปีสถาบันพระปกเกล้า โดยสำรวจเกี่ยวกับผู้นำรัฐบาล ส่วนราชการ
ศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาของสถาบันพระปกเกล้า
ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ
โดยสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ อายุ 18 ปีขึ้นไป รวม 33,420 คน เก็บข้อมูลวันที่ 24 เม.ย.-15 พ.ค.2560
ผลสำรวจแจกแจงความเชื่อถือของนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2545-2560
พบว่า นายกฯ
ที่ได้รับความเชื่อมั่นสูงสุดในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาคือ นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับความนิยมถึง 92.9 % ในปี 2546 แต่ลดลงมาเหลือ
77.2 % ในปี 2549 ก่อนมีการรัฐประหาร ขณะที่นายกฯ
ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในลำดับถัดมาคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ 87.5 % ในปี 2558 ซึ่งเป็นหนึ่งปีหลังรัฐประหาร
โดยความนิยมลดลงมาเล็กน้อยใน 2 ปีถัดมาที่
84.6 % และ84.8 %
นายกฯที่ได้รับความนิยมต่ำสุดคือ นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย
วงศ์สวัสดิ์ 37.6 % ในปี 2551 ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2553 คือ 61.6% ตกลงมาเหลือ 51.2 %ในปี 2554 ขณะที่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2555 คือ 69.9 % แต่ตกลงมาเหลือ 63.4 % ในปี 2556-2557 น่าสังเกตว่าความนิยมตกต่ำของนายกฯที่มาจากพลเรือนทั้ง 3 คน จะตกลงในช่วงที่มีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองสูงสุดของยุครัฐบาลนั้นๆ
ส่วนความเชื่อมั่นที่มีต่อทหาร อยู่ที่เฉลี่ย 77.98 %
ในช่วง 15 ปี โดยมีความเชื่อมั่นต่ำสุดในปี 2550 สมัยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ
และความเชื่อมั่นสูงสุดในปี 2558 สมัยที่
พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ
ความเชื่อมั่นต่อตำรวจ อยู่ที่เฉลี่ย 60.42 % โดยตกต่ำที่สุดในปี 2557 ช่วง คสช.ทำรัฐประหาร และสูงสุดในปี 2548 ช่วงที่นายทักษิณ เป็นนายกฯ
ความเชื่อมั่นต่อตำรวจ อยู่ที่เฉลี่ย 60.42 % โดยตกต่ำที่สุดในปี 2557 ช่วง คสช.ทำรัฐประหาร และสูงสุดในปี 2548 ช่วงที่นายทักษิณ เป็นนายกฯ
ผลสำรวจความเชื่อมั่นต่อบุคคลหรือคณะบุคคล
พบว่า 5 อันดับแรก ประกอบด้วย
แพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ 86.4 % แพทย์ในโรงพยาบาลของเอกชน 85.6 % ทหาร 85.1 % พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกฯ 84.8 % และ คสช. 82.3 % ขณะที่ความนิยมต่ำสุด 5 อันดับ ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ 36.8 % องค์กรพัฒนาเอกชน 38.3 % พรรคเพื่อไทย 39.4 % พรรคการเมืองโดยรวม 43.5 % และคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบปฏิรูประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) 47.6 %
ทั้งนี้ ความพึงพอใจที่มีต่อนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันนั้น พบว่า 5 อันดับแรกได้แก่ การปกป้องเชิดชูพระมหากษัตริย์ 97.2 % เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ 92.4 % โครงการหลักสุขภาพถ้วนหน้า 92 % การแก้ปัญหาบุกรุกที่ดิน ป่าไม้ ทะเล 89.7 % และการควบคุมราคาสลากกินแบ่ง 89.4 % โดยจุดที่ประชาชนพึงพอใจน้อยที่สุด
คือเรื่องปัญหาสินค้าอุปโภค บริโภคราคาแพง 43.9 % รองลงมาคือราคาพืชผลเกษตร 54 %
หน่วยงานองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด คือ ศาลยุติธรรม 83.6 % รองลงมาคือศาลรัฐธรรมนูญ 80.3 % ศาลปกครอง 80.2 % ผู้ตรวจการแผ่นดิน 71.8 % และ ป.ป.ช. 70.7 % ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)
ที่ได้รับความพึงใจต่ำสุด ก็ยังมีถึง 62.6 %
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น