การประชุมคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง
ด้วยคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองได้เรียนเชิญอธิบดีกรมการปกครองเข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งและระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของกำนันผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตจน
ถึงปัจจุบันในประเด็นต่างๆเพื่อพิจารณาข้อเสนอประเด็นสำคัญเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช
๒๔๕๗ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในวันอังคารที่แปดพฤศจิกายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๓๐น.
ณห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข ๒๒๐ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ ในการนี้กรรมการปกครองได้มอบให้นายชำนาญวิทย์
เตรัตน์ รองอธิบดีกรมปกครองเข้าร่วมประชุมแทน ในที่ประชุมโดยนายเสรีสุวรรณภานนท์ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง
ได้ให้กรมการปกครองร่วมให้ข้อมูลและความเห็นในประเด็นดังนี้
๑.ประเด็นวาระการดำรงตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านจนครบอายุ
๖๐ปี
นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ รองอธิบดีกรมการปกครองได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่าพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่พุทธศักราช
๒๔๕๗ ได้กำหนดให้กำนันผู้ใหญ่บ้านมีวาระดำรงตำแหน่ง๖๐ ปีมาโดยตลอดและได้เปลี่ยนเป็นวาระ
๕ ปีเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๕ ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการแก้ไขวาระเป็น ๖๐ ปีเช่นเดิมเนื่องจากการปกครองท้องที่ออกแบบให้
หมู่บ้านตำบลเป็นกลไกของรัฐที่ทุกกระทรวงทบวงกรมสามารถมาใช้กำนันผู้ใหญ่บ้านจึงทำหน้าที่เป็นตัวแทนราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมีหน้าที่หลักคือเป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอและรักษาความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายอาญาซึ่งแตกต่างจากการปกครองท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่ในการ
พัฒนาและจัดหาโครงสร้างพื้นฐานพร้อมทั้งได้มีการแก้ไขบทบาทอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านให้ชัดเจนขึ้นและแตกต่างจากท้องถิ่น จากข้อเท็จจริงในอำเภอเกาะสมุยในขณะนี้ไม่มีกำนันผู้ใหญ่บ้านปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือในอำเภอซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายว่าด้วยเทศบาลทำให้เกิดปัญหาเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่และในการทำประชามติที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญดังนั้นการที่จะแก้ไขกฎหมายให้กำนันผู้ใหญ่บ้านมีวาระ
๕ ปีเห็นว่ายังไม่เหมาะสมเพราะกำนันผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอยู่มากมายอาทิ
หน้าที่เกี่ยวกับด้านความอาญา
การไกลเกียร์ข้อพิพาท
การทำหน้าที่แทนกระทรวงทบวงกรมต่างๆในพื้นที่ตำบลหมู่บ้าน กำนันผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่เหมือนนายอำเภอเนื่องจากกฎหมายบัญญัติให้ทำหน้าที่ช่วยเหลือในอำเภอกำนันผู้ใหญ่บ้านจะไม่มีBlack
Office คือไม่มีงบประมาณไม่มีสำนักงานไม่มีผู้ช่วยปฏิบัติหน้าที่เหมือนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หากให้มีวาร๕ ปีจะไปยุ่งเกี่ยวกับการหาเสียงไม่ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาไม่เกิดการสังคมประสบการณ์และความชำนาญ ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานคณะกรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่งที่สามารถจะแต่งตั้ง
คณะทำงานด้านต่างๆเพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลเช่นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานรากโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ(หมู่บ้านละ
สองแสน) และการ
จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านจากภาระหน้าที่ที่มีอยู่มากมายจึงมีความเห็นว่าควรให้กำนันผู้ใหญ่บ้านมีวาระดำรงตำแหน่ง
๖๐
ปีเพื่อให้เกิดประสบการณ์และทักษะทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาการอยู่นานซึ่งทำให้เกิดการสร้างสมอิทธิพลกระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดมาตรการในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของ
กำนันผู้ใหญ่บ้านไว้อย่างเคร่งครัดเช่นการดำเนินการทางวินัยกับกำนันผู้ใหญ่บ้านเหมือนเช่นข้าราชการการถอดถอนออกจากตำแหน่งหากประพฤติตนไม่เหมาะสมหรือบกพร่องในหน้าที่นอกจากนี้กำนันผู้ใหญ่บ้านจะถูกประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ทุก
๔ ปีหากไม่ผ่านการประเมินจะต้องถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งในทันที
๒.ประเด็นวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งกำนัน กรมการปกครองเห็นด้วยกับการให้ประชาชนมีส่วนในการเป็นผู้เลือกกำนันโดยตรง
เพื่อให้การพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่พุทธศักราช ๒๔๕๗
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวาระดำรงตำแหน่งของกำนันผู้ใหญ่บ้านและวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งกำนันของสภาขับเพื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นไปอย่างเหมาะสมกับข้อเท็จจริงและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดกรมการปกครองขอยืนยันว่า
กำนันผู้ใหญ่บ้านควรมีวาระการดำรงตำแหน่งจน อายุครบ๖๐ ปีเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดโดยให้ประชาชนมีส่วนในการเลือกกำนันโดยตรง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น