การคัดค้านการก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ
วันศุกร์ที่ ๒๔ มีนาคน ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๓๐
น.ณ ห้องประชุมท่าจีน ๕๐๒ ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาครนายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เปิดประชุม กรณีการร้องเรียนคัดค้านการก่อสร้าง
โรงงานผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ เพื่อที่จะแจ้งให้ทราบว่า กรณี น.ส.สุทธิสา
โชติเสถียร ผู้ประสานงานกลุ่มพลังคนรักบ้านเกิด หมู่ที่3 ต.บางโทรัด อ.เมือง
จ.สมุทรสาครได้รวบรวมประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง ประมาณ 1300 คน
คัดค้านการก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ ของบริษัทสมุทรสาคร
เนเชอรัลคลีน เอนเนอจี จำกัด(คัดแยกขยะ) และบริษัทสมุทรสาคร เนเชอรัลคลีน เอนเนอจี
จำกัด(ผลิตไฟฟ้า)ในพื้นที่หมู่ที่3 บางโทรัด ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ประเด็นของสาระในการยื่นคือ 1.ไม่ยินยอมให้ใช้พื้นที่บางโทรัดเป็นศูนย์จัดการขยะที่ขนมาจากพื้นที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆในจังหวัดสมุทรสาคร
2.ไม่ต้องการให้มีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะในพื้นที่บางโทรัด
เพราะกลัวส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กลิ่นเหม็น น้ำเสีย
อากาศเป็นพิษละความเป็นอยู่ของประชาชนหมู่ที่ 3 และใกล้เคียง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
3.ไม่มีความโปร่งใสในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนผู้มีส่วนได้เสียให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นนี่คือสาระสำคัญที่ผมอ่านให้ฟัง
จึงแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่าเรื่องนี้มีความเป็นไปเป็นมาที่จัดการประชุมว่าด้วย
น.ส.สุทธิสา ได้ร้องเรียนร้องทุกข์ได้รวบรวมพี่น้องประชาชน ตามที่อ้างไว้ 1300 คน
เพื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า
จากการคัดแยกขยะด้วยส่วนหนึ่งด้วยเหตุด้วยผล 3 ประเด็นที่เขาร้องนี่คือที่ไปที่มาของการเรียกประชุมคณะของเราในวันนี้ครับ
ทีนี้ผมได้ดูเรื่องราวความเป็นมาในการก่อสร้างที่นี่ตั้งแต่ เดือนมิถุนา 2558
สถานะปัจจุบันก็ปี2560 ผ่านมา 2 ปีเศษ เรื่องที่เกี่ยวข้องคือ
ใบอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานเพื่อมาคัดแยกขยะกับผลิตไฟฟ้า ก็คือ รง.4 กับเรื่องใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งโรงงานนี้
ก็คือเอาขยะมาคัดแยกขยะ ทำเชื้อเพลิงจากขยะนี่คือประเด็นที่เกี่ยวข้องสำคัญ
ผมพูดไปเป็นต้นทุน เพราะผมก็เพิ่งมาอยู่ที่นี่ไม่ใช่พูดปฏิเสธ แค่เดือนที่ผ่านมา
แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี2558ในท้องที่ ต.บางโทรัด อ.เมือง
จ.สมุทรสาครแล้วก็ต่อเนื่องมา อยากจะเล่าให้ฟังเป็นขั้นเป็นตอนว่า 9 กันยายน
2558 อบต.บางโทรัดก็ออกใบอนุญาตให้บริษัทดั่งกล่าวนี้ก่อสร้างอาคารคัดแยกขยะ ณ
วันที่9 กันยายน 2558 แล้วก็มา เดือนตุลาคม 2559ที่ผ่านมาข้อเท็จจริงปรากฏว่าสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดได้มีคำสั่งปิดและให้ดำเนินคดีกับบริษัทดังกล่าวนี้
กรณีคัดแยกขยะโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ได้มีใบ รง.4อันนั้นคือเรื่องเดิม
เป็นไปเป็นมาจนกระทั่งปัจจุบัน กรณี น.ส.สุทธิสา
โชติเสถียรได้ร้องเรียนร้องทุกข์กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งครับ
ก็มีพี่น้องประชาชนร่วม 1300
คนได้ร่วมกันคัดค้านการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ของโรงงานดังกล่าวนี้ครับ
นี้คือเรื่องเดิมที่ผ่านมา สถานะที่เกี่ยวข้อง
และฝ่ายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้เชิญครับ
(เลขา)ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้กล่าวก็ครบถ้วนแล้วนะครับ
วันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชิญมาประชุมเพื่อที่จะได้แจ้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
จะได้ดำเนิการตามอำนาจหน้าที่เพื่อป้องกันการร้องเรียนซ้ำๆ
มีปะเด็นอะไรที่ท่านนายอำเภอจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม
เชิญครับ
นายอำเภอ)กราบเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดที่เคารพ
ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องครับ โจทย์ที่เราได้รับมอบหมายจากทางจังหวัดนะครับ คือ
เมื่อมีผู้ร้องจากคนในพื้นที่ ในเขต ต.บางโทรัด เขาร้องนั้นในส่วนของ อ.เมือง
และทางจังหวัด จากโจทย์ที่เราได้รับคือ
ต้องจัดเวทีชี้แจงนะครับกับข้อเท็จจริงให้รับทราบโดยเราได้เรียนเชิญทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมมากที่สุด
เราได้เรียนเชิญทั้งในส่วนราชการ รวมทั้ง เจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาความสงบ
ในพื้นที่ ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน และก็จาก มทบ.16
เพื่อที่จะมา..เหมือนกับว่าท่านต้องเป็นกลางในพื้นที่ดูแลความสงบเรียบร้อย นอกจากนั้นเรายังมองเห็นว่า
ควรจะมีคนที่เป็นกลางจริงๆและในเชิงวิชาการ
เราก็ได้เรียนเชิญนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือท่าน นส.อิรียะ
ศุภสิทธิ์สมบัติ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อีกท่านหนึ่งเราเรียนเชิญท่านรองศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ นวกานนท์ คณะธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผมขออนุญาตกราบเรียนกับที่ประชุมว่า
เราเป็นกลางนะครับ
และวันนั้นเราได้เปิดเวทีให้กับผู้เข้าร่วมและในทางตัวแทนภาคเอกชนคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ที่เกี่ยวข้องนะครับ
-กราบเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดที่เคารพครับทุกท่าน
ในส่วนของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
สำนักงานอุตสาหกรรมได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับฟังความคิดเห็นครับ
ก็พอสรุปได้ว่า...ผมขอย้อนไปเมื่อวันที่18 ตุลาคม ได้รับข้อมูลจาก มทบ.16
ให้เข้าร่วมประชุมตามคำร้องเรียนของประชาชน และบริษัท สมุทรสาคร เนเชลรัลคลีนเอนเนอจี
วันนั้นก็ได้ถูกสั่งมาให้เข้าระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน การตั้งโรงงาน อัด บด พลาสติก
และก็อัดกระดาษเข้าด้วยกัน
จากนั้นก็มีหนังสือจากผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ให้ชี้แจงเรื่องดังกล่าว
ทางสำนักงานก็ได้ทบทวนข้อมูลแล้วก็ชี้แจงกลับไปข้อความทั้งหมดนี้คือข้อเท็จจริงนะครับ
ต่อมาบริษัท จากที่จะดำเนินคดี ก็ถูกดำเนินคดีไปแล้วก็ยื่นขอใบอนุญาตวันที่ 8
ธันวาคม เรื่องของการขออนุญาต อัด บด
พลาสติกการอัดกระดาษเข้าด้วยกันพนักงานก็ได้มีประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ไปปิดประกาศที่อำเภอ อบต.สถานที่ประกอบกิจการ และก็สำนักงาน ศาลากลางจังหวัดครับเป็นระยะเวลา
15 วัน สิ้นสุดในวันที่ 10 กพ.
ในวันเดียวกันนั้นเองเราก็ได้รับหนังสือคัดค้านการออกหนังสือรับใบอนุญาตประกอบกิจการจากกลุ่มรวมพลังคนรักบ้านเกิดโดยมีการคัดค้านกันเป็นหัวข้อ
1.การใช้เงินลงทุนเป็นจำนวน140 ล้านเพื่อจะมาดำเนินการ แสดงให้เห็นว่า บริษัทได้ดำเนินการที่ค่อนข้างจะแน่นอน
คัดค้านข้อที่2ความคลุมเครือที่ชัดเจนของวัตถุดิบ และกระบวนการผลิต ข้อที่3.มาตรการ
การปกป้องผลกระทบของคุณภาพชีวิตวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ให้ครอบคลุมผลกระทบที่เกิดขึ้น
4 บริษัทแจ้งผลการขอใบอนุญาตทั้งหมดในภาพรวม จากนั้นเมื่อครบ 15
วันพนักงานได้รวบรวมข้อมูลทำการประกาศรับฟังความคิดเห็นประชาชน
โดยมีข้อคัดค้านดั่งที่กล่าวไปแล้วครับ ณ ขณะนี้พนักงานก็ได้ทำตามขั้นตอนตาม
พรบ.ประชาชนในขั้นตอนระยะเวลาที่เสร็จตามเวลาที่กำหนดครับทางสำนักงานยืนยันว่า
จะเป็นกลางในการที่จะรับฟังการพูดขออนุญาต
และก็ประชาชนที่คัดค้านการกระทำดังกล่าวกับบริษัท
**กราบเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วก็ผู้อำนวยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดค่ะก็ได้ร่วมประชุมพิเศษ
ในนามของสำนักงาน ปปส.ได้ร่วประชุมที่จังหวัดข้อนึงก็เป็นในทิศทางเดียวกับที่ทางอุตสาหกรรมจังหวัดได้แจ้งไว้นะคะคือในส่วนของเราเองได้เข้าไปตรวจร่วมกับคณะตรวจราชการพิเศษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประสานเข้ามาและได้เข้าไปตรวจในวันที่
18 ตุลาคม ก็ได้เข้าไปตรวจสอบและได้รับการอนุญาตค่ะไม่ว่าจะเป็นของทาง อบต.ด้วย
สาธารณสุข และอุตสาหกรรมด้วยค่ะวันนั้นก็ได้แนะนำให้เขาขออนุญาต
อีกส่วนนึงคือการตรวจสภาพก็คือ
โรงงานนี้มีลักษณะการเสี่ยงและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่คะ เขกำลังทำระบบบำบัดน้ำเสียอยู่นะคะแล้วก็เท่าที่ประเมินดูในภาพรวมอาคารในบางส่วนไม่ได้เป็นระบบปิดทั้งหมดถ้าเกิดประกอบกิจการอาจจะมีเรื่องกลิ่นตรงนั้นเข้ามา
ก็เลยแนะนำว่าให้ทำระบบปิดทั้งหมดนะคะเพื่อป้องกันเรื่องกลิ่นและก็สารปนเปลื้อนที่นำขยะเข้ามาในบริเวณที่ประกอบการนั้นนะคะ
แล้วก็อีกส่วนหนึงเขาได้มีการใช้จุลินทรีย์พ่นบริเวณจุดที่รับขยะ
ซึ่งตรงนี้เราก็มองว่าถ้าเกิดใช้แรงงานคนถ้าเกิดคนไม่ทำงานไม่ได้ก็จะแนะนำว่าน่าจะเป็นระบบอัติโนมัติ
น่าจะควบคุมได้ดีกว่า
อีกส่วนหนึ่งเรื่องระบบน้ำเสียก็แจ้งกับบริษัทไปว่าระบบน้ำเสียเสร็จเขาจะต้องมีการทำแบบ
คส.1 และ คส.2 ก็คือรายงานสถิติการทำงานของบ่อบำบัดน้ำเสีย กรณีการได้รับการเปิดโรงงานแล้วระบบน้ำเสียก็ทำงานค่อนข้างดีก็ต้องทำตามกฎหมาย
หรือ พรบ .ของสิ่งแวดล้อมด้วยนะคะ ที่บริษัท และอีกส่วนนึงก็ที่
อบต.ให้ช่วยติดตามดู รายงาน
คส.2ต้องส่งให้ อบต.นะคะ เพื่อรวบรวมให้ คสจ.อันนี้เป็นครั้งแรกที่
สจ.เข้าไปดูแล ในส่วนครั้งที่ 2 ที่ คสจ.
เข้าร่วมก็คือเวทีแสดงความคิดเห็น
มีท่านนายอำเภอได้แจ้งไปนะคะเราก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีครั้งนั้นได้ชี้แจ้งให้ประชาชนได้รับทราบว่า
กรณีที่จะตั้งโรงงานขยะนะคะ
ถือว่าการประกอบกิจการคัดแยกขยะโรงไฟฟ้าจะมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอะไร
แล้วก็ให้ทางบริษัททำมาตราด้านการป้องกันผลกระทบและสิ่งแวดให้ครอบคลุมเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น น้ำเสีย ขยะตกค้างที่เหลืออยู่ หรือว่าจะเป็นเรื่องกลิ่น
ที่หลงเหลือจะการประกอบกิจการอันนี้เป็นข้อแนะนำที่ทางเราก็ได้ชี้แจ้งในที่ประชุมในเขตนั้นๆนะคะและก็สรุปในสิ่งที่ดำเนินการมาค่ะ
(ผู้ว่า)เลขาช่วยจดบันทึกที่มาที่ไปที่เกี่ยวข้องนะครับ
เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่จะก่อให้เกิดโน่น นี่ นั่น กระทบกับบุคคลภายนอกโรงงาน
นั่นคือประเด็นกับการที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม นี่คือประเด็น
แต่กรณีที่ผู้ร้องที่ไม่ยินยอมมีสิทธิ์รึ ผมไม่ได้มาขัดแย้ง โต้แย้ง
กับผู้มาร้องเรียน ร้องทุกข์ แต่ผมพูดในหลักการ
ว่าถ้าทำกิจการเหล่านี้พอออกไปข้างนอกมันมีกลิ่น
มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมตามเงื่อนไขที่ร้องเรียนอยู่ที่ความเข้าใจและหลักการเบื้องต้น
พอมีกลิ่น มีของเหม็น เน่า เสียตรงนี้ต่างหากที่เป็นผลกระทบ ถ้าเกิดกรณีที่เกี่ยวข้องกับโรงงานเรื่องขยะ
ก็คือกลิ่น น้ำเสีย นั่นคือกระทบ กระทบคือ ออกนอก ปริมณฑล ออกนอกโรงงาน
ออกนอกเขตโรงงาน ถ้าเขารับรองแน่ชัด ถ้าโรงงานบอกว่าเรียบร้อย
ไม่มีกลิ่นไม่มีผลกระทบแล้วอุตสาหกรรมเขาให้แล้วเรื่องนี้มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี58
แล้วนี่ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดถ้ามาถึงขั้นนี้มันเสร็จเกือบหมดแล้วใช่ไหมครับ?ประเด็นในการลงทุน
การก่อตั้งนั่นก็ส่วนหนึ่ง แต่ผมถามกลับว่าใบอนุญาตให้ก่อตั้ง
ใบอนุญาตให้ก่อสร้างตามที่ อบต.บางโทรัดเขาอนุญาตท่านแล้วใช่ไหม๊
นั่นก็แสดงว่าคุณได้รับสิทธิ์อันนั้นไปแล้ว
ที่นี้ว่ากันตามกฎหมายโรงงานพอได้สิ่งก่อสร้างโน่น นี่ นั่น ประกอบการ
ทางนี้ออกใบอนุญาต ถ้าออกไม่ได้ก็ทำไม่ได้
ประเด็นที่ท่านพิจารณาสถานะปัจจุบันก็ได้ข้อมูลมาขั้นตอนออกใบอนุญาตใช่ไหม?มันติดขัดยังไงก็ว่ากัน
ฝ่ายผู้ประกอบการจะต้องมีโน่น นี่ นั่นตามเงื่อนไขของกฎหมายโรงงาน
แต่ประเด็นของจังหวะกรณี ร้องเรียน ร้องทุกข์
สถานะปัจจุบันโรงงานมันเกิดขึ้นหรือยัง ประกอบกิจการหรือยัง ถ้าให้ความเป็นธรรม
ผมร้องเรียนว่า น่าจะเกิดขึ้น โน่น นี่ นั่น ผมถามว่ามันใช่รึ!!น่าจะเป็นยังงี้
น่าจะเป็นอย่างงั้น น่าจะเหม็น น่าจะไม่เรียบร้อย น่าจะไม่มีกลิ่น น่าจะใช่ไหมครับ
นี่คือเหตุของการร้องเรียน ไม่ได้พูดเข้าข้างใครน่าว่าจะไม่เรียบร้อย
น่าว่าจะมีกลิ่น น่าว่าจะมีมลภาวะ น่าจะเกิดน้ำเสีย น่าจะเป็นพิษ
แล้วเรื่องเหล่านี้เขาประกอบกิจการแล้วหรือยังครับท่าน
บางครั้งมันเป็นเรื่องของมวลชน ถูกไหมครับก็ไม่รู้นะ ถ้ามา 1300 คนจริงแล้ว
ผมไม่ได้พูดให้เสียหาย แต่พูดด้วยข้อกฎหมายว่าเขามีสิทธิ์ไม่ยินยอมด้วยเหตุอะไร
สถานะปัจจุบัน การประกอบกิจการโรงงาน
ถ้าทางโรงงานเขายินยอมจะสร้างด้วยเหตุผลก็สร้างได้ตามเงื่อนไขของกฎหมาย
เป็นไปตามเงื่อนไขของผู้ประกอบการเขาทำได้ตามที่โรงงานว่า ถ้าผมพูดอย่างง่าย
ใครอนุญาตให้โรงงานตั้งได้ผมจะทำยังไง เรื่องนี้มันเกิดกรณี ร้องเรียน ร้องทุกข์
เกิดขึ้นตั้งแต่ผมยังไปคุดอยู่ที่ไหนไม่รู้ ตั้งแต่ ปี58 ก่อนที่ผมจะมาอยู่ที่นี่
แล้วผมถามสถานะปัจจุบันยังเหลือแต่ขั้นตอนเดินระบบใช่ไหม?ก็ทำให้สมบูรณ์ ตรวจโน่น
นี่ นั่น ถ้าจะไม่มีก็ไม่ได้ ท่านก็ไปทำให้ได้ขึ้นมาตามขั้นตอนของการค้าการลงทุนการประกอบกิจการก็ว่ากันไปตามกฎหมายอุตสาหกรรมผมก็ไม่ได้ไปขัดข้องตรงนั้น
ไม่ได้ไประงับยับยั้งตรงนั้น เพราะว่ามันปลายเหตุ นี่คือสาระของการประชุม
ให้ความคิดเห็นเรื่องที่ผมถามเป็นต้นทุนเพื่อทราบเพื่อพิจารณากันต่อไปครับ
ต่อไปผมจะให้บริษัทได้ชี้แจงบ้างว่ามันติดขัดตรงไหน
อย่างไรก็บอกกับฝ่ายราชการที่ดูแลด้วยครับของการอนุญาต ไม่อนุญาต
เรื่องของการร้องเรียน ร้องทุกข์
ที่ผมเชิญทุกท่านมาวันนี้ด้วยวาระของฝ่ายร้องเรียน ร้องทุกข์คือศูนย์ดำรงธรรมว่างั้น
แต่ศูนย์ดำรงธรรมเชิญทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโรงงานดังกล่าวนี้มาทั้งสิ้นนี่คือประเด็น
กระบวนการนี้เป็นการประกอบการตาม พรบ .โรงงานใช่ไหม
ถ้ามันเป็นไปตามเงื่อนไขที่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาต มันติด
มันขัดก็ทำตามกฎหมายผู้ว่าไม่มีอำนาจยับยั้งถ้าเขาทำถูกต้องถูกไหมครับ
ต้องเข้าใจผู้ประกอบการ ไม่ใช่ว่าผมพวกผู้ประกอบการ แต่ความหมายถ้าเขาทำถูกต้อง
เป็นไปตามเงื่อนไขตามนี้
เราไม่มีสิทธิ์ระงับยับยั้งและเงื่อนไขที่เกี่ยงข้องมันสำคัญ
ผมถามขั้นตอนการสร้างโรงงานตอนยังไม่ก่อสร้างอาคาร ใบอนุญาตได้แล้วใช่ไหม?
ได้หรือยัง!!(ได้แล้วครับ)ถ้าได้แล้วมันอะไรเนี่ย!!โอเคร นะ ว่ากันไปในประเด็นที่เกี่ยวข้องครับ.
(ผู้ประกอบการ)ขออนุญาตนะครับและหน่วยราชการที่เคารพผม
บัญฑิต (ตัวแทนผู้ประกอบการ)ก็จริงๆตั้งใจมาอธิบายว่าจริงๆแล้วตัวโรงงานหน้าตาเป็นยังไงแต่ทุกท่านคงทราบดีแล้วครับเพราะเดินกันหลายรอบมากครับผมขอชี้แจงให้ทุกท่านทราบเลยครับคือโรงงานผมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะจริงๆเรามองในภาพกว้างเนี่ย
เราทำคือเราจะมีโครงสร้างการเผาขยะ ปัจจุบัน
บริเวณที่เราถืออยู่ในมือประมาณที่สมุทรสาคร เรามีวิทยากรที่
ตอนนี้ได้ใบอนุญาตใบจัดทำที่
อบต.นะครับเป็นโครงการเผาขยะอุตสาหกรรมก็คือเป็นการผลิกกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรมอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมจ.สมุทรสาคร
แล้วก็จะมีทำโซล่าผลิตแสงสว่างอยู่ที่
พูดถึงในจังหวัดสมุทรสาครก็มีขยะประมาณเกือบๆหนึ่งพันตันแล้วก็มีแนวโน้มที่มากขึ้นทุกที
ผมมองแล้ว ผมจะตั้งปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้า 10 เมกะวัตต์ ก่อนที่จะเข้ามาผมศึกษาดูแล้วในจังหวัดยังไม่มีใครทำ
เป็นโรงคัดแยกขยะที่ประสบความสำเร็จ
ให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้
ตามหลักแล้วคนที่เขาอยู่ในพื้นที่ทำจัดการขยะคือทำแต่การฝังกลบอย่างเดียว
ถ้าในระยะยาวเราจะฝังกลบทุกคนก็ทราบดีว่ามันไม่ได้แก้ปัญหาแต่อย่างใด คือ
เอาขยะมาแล้วก็ฝังไว้นะครับพอมันล้นขั้นมาไม่ได้มีการจัดการที่ถูกต้องก็เป็นภูเขากองขยะเป็นปัญหาของประเทศต่อไปครับวันนี้ที่ผมจะเข้ามาอธิบายก็คือ
วิธีการเราจะจัดการยังไงให้ขยะเหล่านั้นไม่เกิดขึ้นเป็นกองภูเขาในอนาคตเป็นปัญหาของลูกหลาน
?หรือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเรื้อรังในประเทศไทยครับ อันนี้ผมมองข้ามไปนะครับ
ปริมาณการจัดการ บ่อขยะ....ขยะใหม่ที่ในแต่ละวันคนนึงประมาณกิโลกว่าๆตามจำนวนประชากร
ในจังหวัดก็จะอยู่ประมาณ 1พันตันถ้าเราทิ้งฝังกลบมันก็จะอยู่อย่างนั้นไม่ไปไหนการฝังกลบแล้วย่อยสลายมันใช้เวลาเป็นร้อยปีนะครับ
เพระฉะนั้นสิ่งที่เราจะทำคือการคัดแยก
ในต่างประเทศการคัดแยกขยะคัดแยกมาตั้งแต่ต้นทาง ในป เรามาคัดแยกที่ปลายทาง วิธี
การคัดแยกที่ให้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดก็คือการใช้คน
แต่ด้วยปริมาณขยะที่มันมากขึ้นจำนวนประชากรก็มากขึ้นคนอย่างเดียวมันก็ไม่สามารถรองรับความต้องการได้หรอกครับเราต้องใช้เครื่องเข้ามาช่วย
พอใช้เครื่องเข้ามาช่วยเราจะเห็นได้เลยครับว่าขยะหลักๆแล้วมันมีกี่อย่างนะครับ
ถ้ามองสิ่งที่ผมต้องการคือมองที่มูลค่ามากที่สุดที่อยู่ในขยะพลาสติกที่ผมจะนำมาเป็นวัสดุเชื้อเพลิง
พลาสติกตัวนี้ก็อย่างเช่นถุงพลาสติก ถุงเซเว่น
ถุงที่เราใช้ใส่อาหารกันทุกวันในชีวิตประจำวัน มันไม่มีมูลค่า
เราเอามาทำเป็นมูลค่าโดยการนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้
เราก็จะมีตัวรีไซเคิลที่มีมูลค่าสูงอีกอย่างก็คือขวดพลาสติก
แล้วก็ตัวขวดเพ็ตนี่แหละครับที่มีมูลค่าสูง ก็จะเป็นอีกอย่างที่สามารถเอามาแปรรูปแล้วก็ขายได้
ส่วนปัญหาทุกวันนี้นี้ที่ทุกคนบอกว่ากลิ่นมาจากไหน ก็มาจากสารอินทรีย์ สารอินทรีย์มาจากไหนคือ
ของเน่าของเหม็น ของที่เรากินเหลือ ซากผักเศษผลไม้นี่แหละครับ
เราจัดการยังไงกับตัวสารอินทรีย์นี้ไม่ให้มีกลิ่นและหมดไป ด้วยคอนเซปที่เราตั้งใจว่าใน1วันเราจะรับขยะไม่น้อยกว่า
500 ตัน ความสามารถเรารับได้มากถึง 800 ตันเราตั้งใจไว้ว่าในช่วงแรก เข้ามาก่อน300
กำจัดให้หมด300ไม่ให้มันเหลือเป็นกองภูเขา อย่างที่ทราบทางบริษัทผมไม่ได้ขออนุญาตทำบ่อฝังกลบ
เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่เข้ามาผมต้องผ่านโรงคัดแยกของผมก็คือโรงคัดแยก
ตัวสุดท้ายสารอินทรีย์ที่ประสบปัญหามากที่สุดก็คือเรื่องกลิ่น
เรื่องน้ำเน่านี่เราจะทำอย่างไร อย่างแรกคือน้ำชะล้างทั้งหมดเนี่ยลงคลองบำบัดเพื่อเก็บแก๊สแล้วก็
ส่วนที่เหลือของสารอินทรีย์หลังจาก เครื่องคัดแยกออกมาแล้วนะครับ พลาสติก
ก็ไปทางนึงตัวของที่สารเป็นสารอินทรีย์ก็ไปทางนึง ส่วนสารอินทรีย์เก่าๆนี้
ผมจะเอาลงบ่อบำบัด บ่อบำบัดนี่ มันจะเกิดอะไรขึ้นต่อมา คือถ้าสมมุติไปดูตามบ่อขยะจะเห็นได้ว่าจะมีฟองปุดๆออกมามันก็คือก๊าซมีเทนถ้าเราเข้าบ่ออย่างถูกสุขลักษณะ
ก๊าซมีเทนตัวนี้เราเก็บเพื่อมาทำการผลิตกระแสไฟฟ้าอีกที หรือที่เรียกว่าไบโอแก๊ส เพราะฉะนั้นขยะทั้งหมดที่ผมต้องการผมไม่เอาไปฝักกลบ
ผมเอามาหมักเพื่อให้ได้แก๊สส่วนผลผลิตต่อไปตัวสุดท้ายที่เหลือจากการหมักแล้วของที่เหลือเป็นกากเราเอาไปทำอะไร?จริงๆตัวกากของมันเองมันจะเกิดการย่อยสลายโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้วในบ่อเพราะฉะนั้นหลังจากมันออกมามันจะกลายเป็นสารปรับปรุงดินถ้าเราเติมสูตร
NPK.ให้มันเต็มที่มันก็จะกลายเป็นปุ๋ย
ถ้าดูดีๆแล้วขยะทั้งหมดมันมีมูลค่าในตัวของมัน
ถ้าทำอย่างถูกต้องแล้วผมว่าเราแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้ เรื่องการจัดการขยะนะครับ
อันนี้จะเป็นระบบทำงานอย่างที่อธิบายไปคร่าวๆพอรถเข้ามาในโรงงานผมจะชั่งน้ำหนักก่อนบจะการชั่งดูว่าเข้ามากี่ตันถ้ากำจัดได้จากแหล่งที่มาจาก
อบต.ทั่วไปนะครับหลังจากนั้นผมจะลงไปกองไว้เพื่อให้น้ำที่เราเทลงมาจากรถมันจะได้เข้าไปยังบ่อบำบัดได้เลยจากท่อระบายน้ำวางไว้ในโรงงาน
ส่วนที่3
เข้าสู่เครื่องกระบวนการสายพานตรงนี้จะเป็นด่านแรกเลยเอาของเข้าไปจะเกิดการฉีกเล็กน้อยให้ถุงมันเริ่มขาด
และให้ผ่านตามสายพานเข้าไปสเตชั่นแรกคือคนคัดแยก ผมตั้งไว้ประมาณ 10 คนต่อ1สเตชั่นสายพานคัดแยกโลหะ
หลังจาดคนคัดแยกเสร็จแล้ว ตัวสายพานคัดแยกโลหะคือแม่เหล็กขนาดใหญ่ก็จะดูดโหละหนักทั้งหมดที่อยู่ในขยะเครื่องร่อนนี้
ร่อนเพื่อเอาสารอินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่ออกก่อนนะครับ
และตัวพลาสติกจะถูกลำเลียงผ่านไป
หลังจากนั้นก็จะเป็นเครื่องย่อยแบบหยาบ และสับให้เล็กลง
แล้วเป่าตัวพลาสติกให้เข้าไปอยู่ในเครื่องสะบัดอีกทีนึง ประเด็น รง.4
ที่ท่านผู้ว่าถามว่าที่ถูกปิดไปเนี่ย ผมขออนุญาตชี้แจงอย่างนี้
คือก่อนที่ผมจะสร้างโรงงานตัวนี้ ผมยื่นจดหมายไปที่กรมโรงงานแล้วว่ากิจการประเภทคัดแยกขยะจะต้องมีใบอนุญาตการจัดตั้งโรงงานหรือเปล่าที่เขาตอบกลับมาคือตัว
รง.4 เราไม่ต้องใช้สำหรับการคัดแยกขยะ แต่สุดท้ายแล้วบริษัทผมถูกปิด
เพราะว่าเกิดจากการตีความนะครับ ซึ่งขั้นตอนสุดท้าย เครื่องสะบัดนี่แหละครับหน้ามันเหมือนการล้างพลาสติก
ซึ่งจริงๆแล้วผมไม่ได้ใช้น้ำในการล้างแต่ผมใช้ลมในการเป่าเพื่อให้ขยะที่เป็นสารอินทรีย์ตัวเน่าเหม็นนี้ออกมาทางสายพานและเข้าสู่บ่อบำบัด
เพราะฉะนั้นตัวนี้ก็จะเป็นพลาสติกเกือบ 100% ที่แยกกออกมา
ขั้นตอนนี้ทีทำให้โรงงานของผมต้องปิด และก็ยื่นขอใบอนุญาต รง.4 ใหม่
ขั้นตอนปัจจุบัน หลังจากมีการจัดการ 15 วันกับทางอุตสาหกรรมจังหวัด
บริษัทผมก็ยื่นจดหมายชี้แจง
เพราะว่าทางอุตสาหกรรมจังหวัดให้ผมยื่นชี้แจงในประเด็นที่ชาวบ้านคัดค้านนะครับทางบริษัทยื่นจดหมายชี้แจงแล้วและรอแปะประกาศใหม่ตอนนี้ผมเชื่อว่าคงไม่มีคำถามต่อนะครับ
เพราะว่าผมคำถามที่ชาวบ้านถามมา 4 คำถามนี้ผมตอบไปหมดแล้ว
ตัววัสดุรีไซเคิลด้านขวาก็คือขวดพลาสติกเตรียมที่จะเอาไปขายต่อส่วนวัสดุเชื้อเพลิงตัวนี้คือจะเป็นขยะปริมาณหลักๆเลยที่ออกมาจากตัวเครื่องคัดแยกตัวนี้เราจะใช้ในการผลิตไฟฟ้าต่อไป
เรื่องไฟฟ้าผมอยู่เฟส2 เฟส1
ของผมคือตัวคัดแยกขยะจัดการแก้ไขปัญหาขยะในท้องถิ่นก่อน ประเด็นเฟส2
ผมจะกล่าวคร่าวๆนะครับ
วิธีการที่จะกำจัดขยะได้อย่างยั่งยืนก็คือเอาตัวขยะพลาสติกที่มันเหลืออยู่
ที่เราคัดแยกแล้วมาเผา
ทีนี้วิธีการเลือกเทคโนโลยี่ในตลาดบ้านเรามีวิธีการเผามากมาย บริษัทผมเลือกการใช้ทรายเป็นตัวกลางในการทำความร้อน
***ก็พูดถึงกระบวนการในการผลิตไฟฟ้านะครับระบบที่เราใช้ในการเผาเรียกว่าระบบ”เซอร์คูเลตติ้งคูรีไลท์เบท” นะครับบคือใช้ทรายเป็นตัวกลางในการนำความร้อน เราไม่ได้เผากับตัวไฟโดยตรงซึ่งพอทรายเป็นตัวนำความร้อนนี้
ซึ่งตัวทรายมีพื้นที่ผิวที่ละเอียดมากการเผาจะเผาได้ทั่วถึงทั้งหมดในตัวขยะซึ่งจะก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์และเมื่อเกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์มลพิษที่เกิดขึ้นก็จะน้อย
นอกจากนั้นตัวระบบยังมีการกรองดักตัวไหนที่เป็นโมเลกุลใหญ่เกินกว่า 200ไมคอน
(ประมาณ2 เส้นผม)ก็จะถูกป้อนวนมาเผาใหม่จนกว่าจะเผาไหม้สมบูรณ์ครับและมีขนาดเล็กมาก
ต่อมาก็จะเทียบการเผาไหม้กับระบบอื่นๆในประเทศไทยส่วนใหญ่เตาเผาที่เราใช้กันทั้งหมดจะเป็นเตาเผาแบบ
ปลากัด ซึ่งหลักการเผาจะเผาแบบไฟโดยตรง การเผาจะเผาจากรอบนอก ซึ่งข้างในของพื้นที่ผิวของขยะที่ป้อนเข้าไปในเตาเผาจะถูกเผาไม่สมบูรณ์ครับ
เพราะฉะนั้นมลพิษที่เกิดขึ้นก็จะเยอะแต่อย่างที่ผมได้ชี้แจงไปนะครับระบบเตาเผาของเราที่เป็นระบบ
”เซอร์คูเลตติ้งคูรีไลท์เบท”จะถูกเผาที่ระบบปิดอย่างที่เห็นในรูป
จะเป็นท่อ
ซึ่งเป็นระบบปิดทั้งหมดนะครับเราก็จะมีการเผาหมุนวนอยู่ในนี้นะครับโดยใช้ทรายเป็นตัวเผาซึ่งมันก็จะเปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆเหมือนการคั่วเม็ดเกาลัด
คั่วๆจนกว่าจะเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์และทุกอย่างก็อยู่ในระบบปิดทั้งหมดส่วนตัวเถ้าขี้เถ้าที่เผาออกมาเราก็จะมีการจัดการกันต่อไป
เดี๋ยวผมจะอธิบายการจัดการกับสิ่งที่ออกมาบจากระบบทั้งหมดครับว่าเราจะจัดการกับรูปแบบไหนได้บ้าง?
ในเรื่องของการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ เรื่องแรกคือ
การขนส่งขยะเข้ามาในโรงงาน ตัวรถขยะมีกลิ่นเหม็นอยู่แล้วการจัดการของบริษัทเราคือ
รถขยะที่เข้ามาจะมีการตรวจสอบคุณภาพและซ่อมแซมฟิวส์เพื่อไม่ให้เกิดน้ำรั่วและหยดลงตามถนน
และรถขยะที่เข้ามาในโรงงานเราก็ต้องล้างรถขยะที่เข้ามาให้สะอาดเพื่อจะไม่ส่งกลิ่นเหม็นออกไปรบกวน
ต่อมาล้างขยะที่มาจากตัวขยะเองตัวนี้น้ำที่ชี้แจงไปในภาพรวมเราเอามาหมักทำเป็นไบโอแก๊สผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงงานครับส่วนตัวขยะ
กลิ่นเหม็นจากตัวขยะตรงนี้ทางบริษัทก็มีการฉีดน้ำเป็นจุลินทรีย์ชนิดพิเศษซึ่งทำเป็นการดับกลิ่นแล้วนอกจากนั้นตัวอาคารที่ใช้ในการคัดแยกยังเป็นอาคารระบบปิดครับซึ่งจะทำให้กลิ่นไม่ออกไปรบกวนชาวบ้านแล้วเรามีการคัดแยกขยะให้หมดวันต่อวันจะได้ไม่เกิดการหมักหมก
เพราะฉะนั้นกลิ่นที่ออกไปจะไม่เหม็นครับ
ส่วนตัวขยะอันตรายที่เกิดจากการคัดแยกออกมา
เราจะส่งออกไปกำจัดข้างนอกในที่ๆได้รับอนุญาต
ส่วนตัวของขยะอินทรีย์ที่ชี้แจงในภาพรวมเราก็จะมาหมักเป็นปุ๋ย และก็ทำไบโอแก๊ส
ต่อมาเป็นตัวเทคโนโลยีในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ตัวอากาศเสียที่หลุดรอดออกไปจากการเผาขยะต้องชี้แจงก่อนเนื่องจากเมื่อกี้ที่ผมได้อธิบายไป
ตัวเตาเผาเป็นระบบปิดเพราะฉะนั้นมลพิษที่อยู่นอกชั้นบรรยากาศก็น้อยอยู่แล้ว
ละนอกจากนั้นตัวระบบยังเป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ การเกิดมลพิษย่อมน้อยตามครับ
นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีระบบกรองอากาศที่ทันสมัย
ระบบกรองอากาศของเรากรองอะไรได้บ้าง?ระบบกรองอากาศระบบแรกที่บริษัทใช้คือ
ระบบสเปรย์ไหลย้อนกลับ ระบบนี้จะทำหน้าที่ในการกรองพวก ฟร๊อก น๊อคไดค๊อคฟินต่างๆไม่ให้ออกปนเปื้อนสู่ชั้นบรรยากาศ
แล้วก็มีระบบถ่านกัมมันต์ตัวนี้ก็จะกรองพวกสารพิษและกลิ่นต่างๆ ไม่ให้ออกมา
ต่อมาชั้นสุดท้ายเป็นระบบกรองฝุ่นไม่ให้หลุดออกมาปนเปื้อนกับชั้นบรรยากาศ
ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวแสตนดาร์ดแล้วตัวของแสตนดาร์ดมาตราฐานประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็นตัวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออก ฟร๊อก น๊อคค่าต่างๆ
ตัวของเราจะทำได้น้อยกว่ามาตรฐานที่ทางประเทศไทยตั้งไว้นะครับ
อาจจะน้อยที่สุดคือครึ่งนึงของมาตรฐานเลยครับ
การันตีได้ว่ามาตราฐานตัวนี้เป็นมาตราฐานของยุโรปซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนรอบข้างแน่นอน
ต่อมาตังขี้เถ้าที่ผมชี้แจงไปที่มีการเผาจนเป็นขี้เถ้าขึ้นมา
ขี้เถ้าตัวนี้เอาไปทำการผสมกับปูนซีเมนต์เพื่อทำเป็นอิฐมวลเบา
ตัวนี้ก็สามารถเอามาทำเกี่ยวกับการก่อสร้างในชุมชนรอบข้าง ต่อมาตัวไอน้ำ
ไอน้ำที่ออกมาจากการเผาของระบบ จะถูกเอามาเข้ากับตัว คูริ่งทาวเวอร์ ครับพอเข้ากับ
คูริ่งทาวเวอร์
ก็ควบแน่นกลายเป็นน้ำวนกลับมาใช้ใหม่ในโรงงานครับ...ต่อมาเส้นทางเดินรถขยะ จะสังเกตเห็นว่าจะใช้เส้นทางที่ใช้เดินรถขยะที่เข้ามาทิ้งขยะในโรงงานจะใช้เส้นทางที่เป็นถนนหลักนะครับเป็นถนนเส้นพระราม2ทั้งหมด
มายูเทิร์นตรงเส้นนาขวางซึ่งอยู่ตรงใต้สะพานสูง
เส้นทางตรงนี้เป็นถนนใหญ่ไม่มีผ่านชุมชนนะครับ
แล้วก็มาเข้าทางสถานีไฟฟ้าย่อยตรงนี้ไม่มีบ้านคนไม่มีชุมชนเพราะฉะนั้นเรื่องกลิ่นที่จะไปรบกวนชาวบ้านประเด็นนี้น่าจะหมดไปครับ
ส่วนเรื่องสารพิษที่ชี้แจงไปจากการเผาไหม้ทั้งหมด
คือทางบริษัทมีการคัดแยกก่อนการนำเข้าไปทำเพราะฉะนั้นการคัดแยกขยะตรงนี้เราได้คัดแยกพวกขยะที่มีสารประกอบที่มีPVC (
คือสารที่เกิดการเผาไหม้แล้วจะเกิดไดออกซิน)เมื่อเราแยกสารประกอบพวกนี้ออกการเผาไหม้ก็จะไม่เกิดสารไดออกซิน
ที่ชาวบ้านวิตกกังวลครับ ต่อมาสิทธิประโยชน์ที่ชุมชนท้องถิ่นจะได้รับเมื่อมีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้น
คือท้องถิ่นจะได้รับในการจัดสรรกองทุนไฟฟ้า ท้องถิ่นเป็นที่ปรึกษา ดูงาน
และก็เกิดการสร้างงานของประชาชนในท้องถิ่นรวมถึงมีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ
จากพื้นที่สีเขียวที่เกิดขึ้นในโรงงาน
อันนี้เป็นโครงการที่บริษัทจะทำเพื่อทดแทนชุมชน
1.
โครงการส่งเสริมชุมชนคัดแยกขยะสร้างสวนสุขภาพเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจจากพื้นที่สีเหลี่ยมในโรงงาน
โรงงานมีการส่งเสริมในการแจกถังขยะให้กับโรงเรียนต่างๆให้กับท้องที่ใน
ต.บางโทรัดรวมแล้ว 11 โรงเรียน
2.
โครงการเอาขี้เถ้ามาทำอิฐมวลเบา
3.
ปุ๋ยที่ได้จากกากอินทรีย์ แล้วก็เอามาส่งเสริมชาวบ้าน
ในภาพรวมในจังหวัดเรามีขยะอยู่หนึ่งพันตัน
โรงงานผมรับ 500 ตันผลิตไฟฟ้าได้10เมกะวัติการขอใบอนุญาต 1
ใบเราขอเต็มที่ได้ไม่เกิน 10
เมกะวัติบางที่ผมรณรงค์อยากให้มีคู่แข่งอยากให้โรงงานเปิดได้แล้วคนมาเห็นช่องทางครับว่า
มันเป็นระบบช่องทางการจัดการขยะได้ดีในอนาคต
(ผู้ว่า)ประเด็นที่ผมจะพิจารณาในวาระ
4.2 อบต.บางโทรัด
นายปิยะรัตน์
จันทรวงษ์(ผู้อำนวยการกองช่าง อบต.บางโทรัด) เพิ่มเติม ครั้งแรกที่ บริษัท สมุทรสาครเนเชอรัลคลีนฯมีการยื่นขออนุญาตก่อสร้างเป็นอาคารโครงสร้างเหล็ก
กว้าง 40 ยาว 80 เมตรยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อเป็นอาคารโรงงานในส่วนของการคัดแยกขยะ
เวลานั้นรับพิจารณาโดยเจ้าพนักงานท้องถิ่น ออกใบก่อสร้างอาคารให้สามารถก่อสร้างอาคารได้
วันที่ 9 กย.2558 ใบอนุญาตเลขที่ 57/2558 แล้วหลังจากนั้นทางโรงงาน
บริษัทสมุทรสาคร เนเชลรัลคลีนฯ ก็ได้ยื่นอนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าไว้ที่สำนักงานกำกับกิจการพลังงานโดยมอบตราแนบเอกสารแบบแปลน
รายละเอียดต่างๆไปที่สำนักงาน กปค. ให้ กปค.พิจารณาหลังจากหลังจากนั้น คณะกรรมการ
กปค. ก็มีหนังสือมาสอบถามความเห็นมาที่ อบต.
คือให้เรากรอกข้อมูลความเห็นกลับไปจำนวนหกแผ่นรายละเอียดหกแผ่นนั้นมีรายละเอียดเยอะ
แปลนสุดท้ายก็กรอกไปว่าควรก่อสร้างได้ ตาม กปค.ก็ส่งไปที่ กปค.
โดยมีความเห็นของชุมชนเริ่มเข้ามาขัดค้านแล้วก็แนบความห่วงกังวลของวิถีชีวิตชุมชนแนบไปด้วยว่ามันยังมีความเห็นอื่นๆที่ว่า
ที่เราออกความเห็นไปหกแผ่นเป็นแค่ใบแจ้งความเห็นเท่านั้นซึ่งจะมีความเห็นอื่นๆในเรื่องของความไม่เข้าใจความวิตกกังวลของชุมชนเกี่ยวกับวิธีชีวิตต่างๆแล้วก็มลภาวะหลังจากนั้น
กปค. ส่งเรื่องมาสอบถามความเห็นเพิ่มเติมว่าไอ้ความเห็นที่ว่าจะส่งไปน่ะให้
อบต.จัดส่งไปทางเราก็ส่งความเห็นจากนั้นก็ส่งรายงานการประชุมไปทางกรมหมู่บ้านซึ่งจัดโดยครั้งแรก
ผู้ใหญ่วรากุล เล้าเกล็ดผู้ใหญ่หมู่ 3 มีสองประเด็นรายงานการประชุมสภาส่งไปรายงานประชุมสภาสองครั้ง
ครั้งแรกทางบริษัทก็เข้าไปพูดถึงโปรเจ็คตัวนี้ครับว่ามันมีรูปแบบการผลิตอย่างไร
โดยให้สภารับทราบสภา อบต.บางโทรัดก็ มีมติรับทราบว่าโครงการมาสร้างในพื้นที่
และอันสุดท้ายนี่ก็จะเป็นรายงานประชาคมซึ่งสอบถามความเห็นของชุมชนโดยผู้นำชุมชนโดย
อบต.เป็นผู้จัด วันที่ 10 มีนา 2559
ซึ่งในมติที่ประชุมเขาก็คือไม่อยากจะเอาโรงงานนี้แล้วก็ส่งใบแนบทั้งหมดสี่อย่างไปให้
กปค.แล้ว กปค.ก็ส่งเรื่องกลับมาว่า กปค.อนุญาตให้บริษัทสมุทรสาคร เนเชอรัลคลีนฯ
สามารถดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าซึ่งเป็นอาคารสองอาคาร 2383 ตารางเมตรทั้งสองอาคาร
เราจึงได้เก็บค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนเงิน 19411
ซึ่งเขาเป็นรายได้ของท้องถิ่นไปหลังจากนั้นบริษัทสมุทรสาครเนเชอรัลคลีนฯ
ก็ขออนุญาตก่อสร้างอาคารอีก 2 อาคาร ดังที่เห็นตามรูป เป็น 3 อาคาร
ส่วนข้างหลังเป็นโรงไฟฟ้าตอนนั้นโรงไฟฟ้ายังไม่ได้สร้าง ตอนนี้สร้างแล้ว
ในส่วนที่ผมรับผิดชอบก็มีเท่านี้ครับ
เรียนผู้ว่าราชการจังหวัด
เพื่อให้ได้เห็นบรรยากาศของการจัดเวทีเราก็เลยประมวลขออนุญาตให้ทางประวิทย์รับผิดชอบงานศูนย์ดำรงธรรม
เรียนเชิญครับ
ศูนย์ดำรงธรรม)
เรียนท่านประธานและผู้ร่วมประชุมทุกท่านครับ
ผมนายณัฐพลปลัดเมืองอำเภอเมืองสมุทรสาครก็รับผิดชอบหน่วยงานศูนย์น้ำลงทำครับเป็นหน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนของกรณีโรงไฟฟ้าที่บางโทรัดนะครับ
จากทางคุณสุนิสาและศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดด้วยก็โดยที่ผ่านมาการดำเนินทางของการดำเนินการของทางอำเภอก็มีประเด็นที่สำคัญสองเรื่องคือ
กรณีของโรงไฟฟ้าและกรณีของ
การร้องเรียนผู้ใหญ่บ้านซึ่งเรื่องหลังนี่ก็จะกาลนานในในกรณีของโรงไฟฟ้าผลการดำเนินการที่ผ่านมาก็คือเราได้จัดเวทีประชุมชี้แจงและรับความคิดเห็นขึ้นเมื่อวันที่
15 กุมภาพันธ์ 2560 ณ
ศาลาในประสงค์วัดคลองซื่อ หมู่ที่ 1 ตำบลบางโทรัด
ซึ่งการดำเนินการตามประชุมชี้แจงในครั้งนี้ก็ที่มาก็คือหนึ่งคือทางนี้ได้ร้องขอให้ทางอำเภอดำเนินการด้วยแล้วแล้วก็ทางจังหวัดสมุทรสาครก็ได้มีข้อสั่งการ
ให้ทางอำเภอเป็นหน่วยอำนวยการจัดอำนวยการเวทีขึ้นวัตถุประสงค์ก็ตามข้อสั่งการและก็ตามความประสงค์ของผู้ร้องและก็กำหนดวัตถุประสงค์เป็นหลักสามข้อด้วยกันก็คือ
ให้หน่วยงานสั่งการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องนี้เป็นหน่วยงานที่ชี้แจงด้านข้อมูลโดยตรงกับประชาชนและข้อที่สองก็เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนและข้อที่สามเพื่อแก้ไขข้อปัญหาร้องเรียนที่เกิดขึ้น
ซึ่งสามข้อสามข้อหลักไม่ได้เชื่อมโยงเรื่องของการประชุมเพื่อตัดสินใจให้โหวตเลือกเอาหรือไม่เอาโรงไฟฟ้าในพื้นที่ซึ่งศูนย์ดำรงธรรมและคณะผู้จัดก็ได้ชี้แจงกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านนะครับให้
เข้าใจในวันดังกล่าวให้เรียบร้อยก่อนจะเลิกกันประชุมรายละเอียดผู้เข้าร่วมประชุมก็น่าจะมีประมาณ
400 คนแบ่งเป็นคนในพื้นที่ของบางโทรัดซะส่วนใหญ่ก็ตามที่ได้เห็น ซึ่งหมู่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงก็คือหมู่ที่
3 ก็เข้าร่วมเป็นประชาชนในการประชาคม 22%
อย่างที่เห็นส่วนพื้นที่อื่นๆก็พื้นที่ของตำบลใกล้เคียงเช่นเช่นตำบลกาหลงรวมถึงพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว
ยกกระบัตรและหลักสามข้อสรุปของการดำเนินการที่ผ่านมาคือทางอำเภอได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนก็บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่
ทางประชาชนได้ร้องเรียนมาและที่ทางจังหวัดได้สั่งการและก็ประชาชนที่ส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมรับฟังโดยสงบและความพึงพอใจและในส่วนของผู้ร้องหรือผู้คัดค้านซึ่งนำโดยคุณสุนิสาไม่พอใจในการดำเนินการ
ดังกล่าวในวันดังกล่าวก็ปรากฏภาพของกรณีการรวมกลุ่มผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการก็ชูป้ายแสดงข้อความคัดค้านบริเวณด้านนอกพื้นที่การจัดการประชุมรายละเอียดตามภาพครับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นพลังงาน ทสจ.สาธารณะสุข
และก็รวมถึงผู้แทนทางฝ่ายทหารและก็หน่วยงานจากทางสิ่งแวดล้อมภาคจากนครปฐมและก็หน่วยงานหลักที่
กปค. เขต 9 ที่กาญจนบุรีด้วยซึ่งกรณีกลุ่มที่อยู่ด้านนอกเราไม่ได้กีดกันนะครับ
เรายินยอมให้ทุกคนได้เข้ามาแต่ต้องอยู่ในความสงบ
และก็มีการลงชื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยแต่ก็กลุ่มนี้ก็คือไม่ประสงค์ที่จะเข้าร่วมเองเลยอยู่ด้านนอก
ในประเด็นของกรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับของความไม่โปร่งใสของการจัดเวทีวันที่
15ทางกลุ่มได้มีหนังสือถึงอำเภอโดยตรงประเด็นหลักๆก็มีอยู่สี่ห้าประเด็นครับ
ประเด็นที่หนึ่งเป็นเรื่องของปัญหาเรื่องของการลงทะเบียนปัญหาก็คือว่าในกรณีวันดังกล่าวเรื่องของการนำเอกสารแบบลงชื่อไม่เหมือนกันสองแบบก็คือเป็นของอำเภอส่วนหนึ่งและเป็นของบริษัทส่วนหนึ่งซึ่ง
แกก็ร้องว่ามันอาจจะนำเอกสารดังกล่าวไปใช้ที่ในทางมิชอบหรือไม่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็คือว่าไอ้การลงทะเบียนในวันนั้นทางอำเภอได้มีการประชุมเตรียมแผนกำหนดเป้าหมายให้ทางผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
เป็นคนรับลงทะเบียนซึ่งประโยชน์เพื่อการคัดแยกกลุ่มคนให้รู้ว่าผู้ที่เข้าร่วมใครอยู่หมู่ไหน?อย่างไร?เป็นการลงทะเบียนตามหมู่บ้านส่วนเอกสารที่มีปัญหาก็คือมีเอกสารอีกแบบหนึ่งซึ่งเป็นของบริษัทนะครับ
ซึ่งในกรณีที่มีปัญหาทางอำเภอก็ได้ดำเนินการแก้ไขและจัดเก็บเอกสารและให้ทางฝ่ายผู้คัดค้านเซ็นกำกับทุกแผ่นครับซึ่งยังเก็บรักษาไว้ทางอำเภอไม่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างผู้คัดค้านวิตกกังวน
ส่วนกรณีการจัดที่นั่งการประชุมก็มีเรื่องร้องเรียนสองเรื่องก็คือกรณีการตั้งแผงกั้นเหล็กภายในแล้วก็มีการติดสติ๊กเกอร์สีบริเวณหน้าอก
สีด้วยกันครับชี้แจงเพื่อประโยชน์ก็คือหนึ่งในการสกรีนกลุ่มที่มีส่วนได้เสียก็จะเป็นกลุ่มของคนในตำบลบางโทรัดซึ่งทางเรามองว่าเป็นกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้เสียหลัก
จะสามารถนั่งประชุมได้บริเวณด้านหน้าใกล้เวทีส่วนคนที่อยู่พื้นที่นอกหรือเพื่อนที่อื่นๆก็จะจัดเป็นโซนที่นั่งด้านหลังส่วนสติ๊กเกอร์สีเขียวสีน้ำเงินมันก็สอดคล้องกรณีของการแยกกลุ่มคน
ให้ชัดเจน
ส่วนประเด็นที่สามปัญหาเรื่องการตั้งเวลาให้สามารถแสดงความเห็นได้เพียงคนละ
5 นาทีแล้วก็การแสดงความเห็นของชาวบ้านกับโรงงานมันมีสัดส่วนเวลาที่ไม่เหมือนกัน
มันสะท้อนถึงประโยชน์ของใครบ้างมีผลประโยชน์ของใคร มากกว่ากันอยากจะแจ้งว่าในส่วนของเวลาที่กำหนด
5
นาทีในส่วนของการแสดงความเห็นเพื่อประโยชน์ในการให้คนได้มีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นมากที่สุดและก็เพื่อไม่ให้มีการเบียดบังหรือรบกวนสิทธิ์ของคนอื่นที่เข้าร่วมให้เป็นคนใดคนหนึ่งได้พูดเพียงคนเดียวแล้วก็เรื่องเวลาเราจัดสรรไว้แล้วเวลาของประชาชนจะเยอะกว่าในอัตราสอง
เท่าของโรงงานประมาณครึ่งชั่วโมง
ในประเด็นที่สี่การแก้ไขปัญหาความวุ่นวายเรื่องของการปิดเวทีต้องแจ้งก่อนว่าก่อนที่ผ่านมาเวทีนี้ไม่ใช่เวทีครั้งแรกครั้งที่ผ่านมาก็เมื่อ
18 พฤศจิกา คือก็ถูกปิดเวทีด้วยการอาจจะมีความวุ่นวายอะไรเกิดขึ้น
สุดท้ายเขาก็ร้องเรียนว่า
กันมีการรวมกลุ่มของคนที่คัดค้านแล้วก็ขึ้นไปพูดแจ้งปิดเวทีซึ่งเขาก็ร้องเรียนว่าทางอำเภอมีการปิดเวทีโดยที่ยังมีคนแสดงความเห็นอยู่แต่ว่าในการตัดสินใจปิดเวทีด้วยเหตุผลที่ประกอบด้วยกัน
4 ข้อ 1. กระบวนการที่เราทำครบทุกขั้นตอนเรียบร้อยแล้วและระยะเวลาที่มาประชุมได้ล่วงเลยเวลามานานแล้วและข้อสงสัยที่ยังไม่ได้ซักถาม-ตอบ
ก็แนะนำให้ยื่นเอกสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงต่อไป
และในส่วนที่สี่คือเพื่อป้องกันเหตุวุ่นวายและความไม่สงบเรียบร้อยที่จะเกิดขึ้น กำหนดการที่จะประชุมในวันนั้นหลักๆก็จะมีในเรื่องของสัดส่วนก็คือให้บริษัทได้พูดส่วนหลักที่สุดก็คือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงผมให้เวลา
1 ชั่วโมงครับในส่วนท้ายที่ให้ประชาชนได้ซักถามข้อคิดเห็นกำหนด เวลาอยู่ที่ 30
นาทีแต่ว่าเวลาที่ใช้จริงก็ตามสุดท้ายครับ ซึ่งเวลาแสดงความเห็นของประชาชนที่ใช้จริงก็เกือบชั่วโมงหนึ่ง
ประเด็นในส่วนร้องเรียนเรื่องผู้ใหญ่บ้านซึ่งผลพวงที่เกิดมาจากกรณีของโรงไฟฟ้าที่ว่าขั้นตอนต่างๆได้รันไป
กระทบไปตาม การทำหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน
และทำให้ทางกลุ่มผู้ร้องก็มองประเด็นว่าผู้ใหญ่บ้านมีส่วนสนับสนุนหรือมีส่วนได้เสียและเชื่อมโยงมาถึงประเด็นหลักๆ
5 ข้อก็ในเรื่องของการร่วมมือกัน
ใช้เครื่องขยายเสียงและก็ในเรื่องของการประเมินผลกำหนดหน้าที่ในการต่อเติมหรือบุกรุกพื้นที่สาธารณะครับซึ่งข้อเท็จจริงเนี่ยประเด็น
ไม่ใช่ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนหรือประชาคมของชุมชนเมื่อวันที่ 21 ที่ว่ามันไม่ชอบหรือว่าด้วยสาเหตุอะไรที่ว่าเป็นการบิดเบือนผลการประชุมก็แล้วแต่นะครับเดี๋ยวทางอำเภอจะได้ดำเนินการตรวจสอบให้ชัดเจนอีกทีหนึ่ง
ส่วนในกรณีของเครื่องขยายเสียงมันเป็นการอ้างเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยเรื่องการบริหารเครื่องขยายเสียงของชุมชนหมู่บ้านซึ่งตรงนี้ระเบียบตัวนี้ก็กำหนดให้ว่าต้องมีคณะกรรมการ
คอยดำเนินการและเป็นคณะกรรมการที่ ดำเนินงานโดยทางท้องถิ่น
แต่ว่าสาเหตุที่ไม่มีการอนุญาตให้ใช้เนี่ย
ได้ทราบจากผู้ใหญ่บ้านก็คือทางกลุ่มผู้ร้องขอประสงค์ที่จะใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลในเชิงที่มีผลกระทบจากโรงงานที่จัดตั้งในพื้นที่ซึ่งผู้ใหญ่บ้านก็เกรงว่ามันอาจจะมีประเด็นพ่วงที่
ใช้เป็นเครื่องมือโจมตีหรือว่าเก่าหาให้ร้ายแก่ผู้อื่น
ในทางปฏิบัติจริงๆเนี่ยเครื่องขยายเสียงของหมู่บ้านผู้ที่จะสามารถพูดได้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ใหญ่บ้านที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบคนเดียวครับ
ในส่วนของประเด็นที่ 3 ก็จะเป็น
น่าจะเกี่ยวข้องกับประเด็นแรกจะต้องตรวจสอบร่วมกันในส่วนที่สี่ก็เรื่องของการประเมินผลของการปฎิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านขั้นตอนนี้ก็ได้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยครับทุกขั้นตอน
ในประเด็นที่ร้องเรียนก็ได้ชี้แจงให้ผู้ร้องทราบต่อไปครับ
ในส่วนของพื้นที่ต่อเติมร้านอาหารของผู้ใหญ่จะมีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่าบริเวณที่แจ้งว่ามีการบุกรุกเนี่ยเป็นพื้นที่สาธารณะที่เป็นคลองหรือว่า
เป็นเขตทางหรือว่าเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลและก็อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใดก็ให้ชัดเจนอีกทีหนึ่งแต่ประเด็นหลักๆในที่ประชุมก็คือผมจะเน้นในเรื่องของประเด็นของโรง
ไฟฟ้ามากกว่า.. ขออนุญาตจบรายงานครับ..
(อุตสาหกรรม)ในกรณีของโรงไฟฟ้าในกรณีของการคัดแยกขยะคัดแยกบดย่อย
ยื่นขออนุญาตมาแล้วแบ่งเป็นสองส่วนครับใบอนุญาตโรงไฟฟ้าไปยื่นที่อุตสาหกรรมจังหวัดเราก็จะทำตามขั้นตอนเสร็จแล้วเราจะส่งหน่วยเข้าไปพื้นที่กรมโรงงานกรมโรงงาน
ก็จะส่งต่อไปที่ กปค.พิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ตามอีกใบหนึ่งปัจจุบันที่ขออยู่ก็คือการขอล้าง
บด ย่อย ล้างบทหรือย่อยพลาสติกหรืออัดกระดาษเข้าด้วยกัน มีแรงม้าไม่เกิน 500
แรงม้าทางอุตสาหกรรมจังหวัดสามารถมีอำนาจในการออกพิจารณาอนุญาตได้ครับซึ่งในข้อคัดค้านที่มีสี่ข้อนั้นได้จัดให้ทางผู้ขอ
ชี้แจงในเรื่องของข้อคัดค้านอย่างเช่นในข้อที่3 มาตรการ
ป้องกันผลกระทบเรื่องของคุณภาพและวิถีชีวิตสิ่งแวดล้อมเนี่ยถ้าเราอนุญาตเราจะกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ผู้ขอผู้ประกอบการปฏิบัติตามเพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อชุมชนขอบคุณครับ
(พลังงาน)กราบเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดท่านประธานการประชุมผมขอชี้แจงตามใบนี้นะครับ
กระบวนการขออนุญาตการผลิตไฟฟ้าตามใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานพ.ศ. 2550
ขั้นตอนผมขอแบ่งออกมาเป็นสามขั้นตอนขั้นตอนแรกก็คือว่า
ผู้ประกอบกิจการจะต้องไปปรึกษากับ กปค คือ
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานทั้งในกรุงเทพฯก็ได้เดี๋ยวนี้มีหลายเขตแล้วกองกำกับกิจการพลังงานเขตและก็ได้ไปศึกษา
ในเรื่องของการจัดตั้งโรงไฟฟ้าในกรณีที่จะติดตั้งคือว่าต้องออกมาดูเพื่อนที่ประกอบกิจการในเรื่องของผังเมืองว่า
ผังเมืองจะให้จัดตั้งได้หรือไม่
สองก็คือการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ไม่ทราบว่าทางผู้ประกอบการได้ผ่านขั้นตอนนี้หรือยังก่อนที่ท่านจะยื่นกับ
กปพ.
ส่วนของการที่จะขอใบอนุญาตประกอบการกิจการกับอุตสาหกรรมจังหวัดในส่วนเบื้องต้นขั้นตอนแรกเมื่อพร้อมแล้วก็ไปขออนุญาตกลับ
กปพ. คณะกรรมการประกอบกิจการพลังงานแล้วก็ขออนุญาตการก่อสร้างอาคารกับท้องถิ่นคือ
พรบ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมตาม 2535
ขั้นตอนต่อไปก็คือการประกอบการโรงงานต้องขอกับอุตสาหกรรมจังหวัดเมื่อทั้งหมดนี้ค่ะผ่านขั้นตอนที่สองแล้วขั้นตอนที่สามก็คือการขอประกอบกิจการ
จำหน่ายไฟฟ้าครับ ขอโทษทีขั้นตอนที่หนึ่งนอกจากการไปขอกลับ กปพ.แล้ว
ก็ต้องขอทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กปพ.
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือในเขตการไฟฟ้านครหลวงก็ทั้งสองกรณีครับ
ตอนที่สามคือจะประกอบกิจการจำหน่ายไฟฟ้าก็ต้องให้ กปพ. เข้ามาทดสอบ รูปแบบของกระทรวงพลังงานในการที่จะทดสอบว่าแรงดัน
ใช้ได้ไหมหรือจะต่อเข้ากับสายตรงของ กปพ.คือไฟฟ้า หลวงและไฟฟ้าภูมิภาคเมื่อทาง
กปพ.พิจารณาแล้วเห็นชอบก็จะออกไปหรือญาติและเสียค่าธรรมเนียมขั้นตอนจึงจะจบในใบชาทที่ผมให้ดู
ไม่มีเรื่องของการรับผิดชอบในเรื่องอำนาจหน้าที่ของพลังงานจังหวัดเลยอันนี้ผมต้องชี้แจงให้ทราบเพราะว่าในการจัดประชุมแต่ละครั้งเราก็จะได้ความร่วมมือเพราะฉะนั้นอำนาจหน้าที่ของทางจังหวัดให้ความร่วมมือ
ในการที่จะส่งเอกสารหรือว่าการชี้แจงเพราะว่าเหมือนกับว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ในด้านนี้เลยคนที่อัพมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนี้คือ
กปพ.หรือ กปพ.เขต
คณะกำกับกิจการพลังงานเท่านั้นเองครับขอเพิ่มเติมนิดนึงครับในการจัดประชุมครั้งนี้หรือครั้งที่ผ่านผ่านมาสิ่งที่ผมอยากจะให้จบก็คือมันต้องเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ครบแล้วก็รับฟังความคิดเห็นว่าเขาต้องการอะไรคนที่ร้องเรียนเขาต้องการอะไร
กปพ.
ซึ่งเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการการผลิตไฟฟ้าก็ต้องรับทราบด้วยว่าขั้นตอนไปถึงไหนแล้วอันนี้ถึงจะจบถ้าไม่อย่างนั้นทำไป
10
ปีก็ไม่จบครับอันนี้ในฐานะที่ผมไม่ได้ถือกฎหมายในเรื่องของการออกไปอนุญาตในส่วนนี้นะครับ
(สำนักงานสาธารณสุข) กราบเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดผม
อภิคม ส่งสุข กลุ่มงานสิ่งแวดล้อมประเด็นก็คงเหมือนกับที่เปลี่ยนไปคือต้องแยกประเด็นก่อน
ตัวผู้ประกอบการเองต้องไปปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายก่อนจริงๆแล้วของท่านเนี่ย ท่านยังปฏิบัติไม่ครบแม้ว่าท่านจะยื่น
รง.4 แล้วก็ตาม แต่ว่าในส่วนของกิจการท่านเองท่านเกี่ยวข้องกับเรื่องของการกำจัดขยะเราพูดถึงการกำจัดขยะก่อนการกำจัดขยะปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่สองตัวกฎหมายเดิมเลยก็คือพระราชบัญญัติการสาธารณสุขปี
2535 มาตรา 19 ที่ท่านเป็นผู้รับกำจัดขยะ
ต้องขอใบอนุญาตก่อน กฎหมายที่มาใหม่ก็คือพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดปี
2560 ก็เช่นเดียวกันในส่วนของท่านที่จะรักษาความสะอาดปี 2560
ที่ออกมาใหม่นี้ถ้าเกิดท่านขอตัวนี้แล้วเนี่ยมันก็จะมีหลักเกณฑ์อยู่ซึ่งอยู่ระหว่างการออกกฎกระทรวงครับ
กฎกระทรวงจะออกเรื่องหลักเกณฑ์ซึ่งผู้จัดพิจารณาอนุญาตให้ท่านได้ก็คือข้าราชการท้องถิ่นก็คือ
อบต.
บางโทรัดที่ท่านต้องยื่นอีกประการหนึ่งก็คือที่เกี่ยวข้องพระราชบัญญัติการสาธารณสุขเพราะว่ากิจการเท่าที่ผมดูโปรเจ็คท่านจะมีเรื่องของคัดแยกพวกรีไซเคิลเป็นพลาสติกด้วย
จากขยะและก็จะมีเรื่องของการสะสมจากของเหลือใช้ซึ่งตรงนี้มันเกี่ยวข้องเรื่องของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ปี
2558 และก็คาดว่าในเทศบาล อบต.
บางโทรัดก็ออกข้อบัญญัติควบคุมไว้แล้วด้วยเช่นกันท่านก็ต้องขอตัวนี้ด้วยคราวนี้เวลาที่ท่านขอมาแล้วเท่าที่ดูโปรเจคถ้าท่านไปขอการกำจัดขยะก็ต้องดูไปตามหลักเกณฑ์กฎหมายเก่า
พรบ.สาธารณสุข ไม่แน่ใจว่าในข้อบัญญัติเรื่องการขอจัดการสิ่งปฏิกูลขยะมูลฝอยของ
อบต. บางโทรัดว่าไว้อย่างไร ถ้าเขาว่าไว้อย่างไรท่านต้องปฏิบัติตามนั้นนะครับ ส่วนกฎกระทรวงที่ออกตาม
พรบ. รักษาความสะอาดมีผลบังคับใช้กะเกณฑ์ว่าอย่างไรท่านต้องปฏิบัติตามนั้นเช่นเดียวกันและอีกประเด็นหนึ่งเรื่องของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่าที่ดูท่านก็อธิบายในเรื่องของท่าน
ประกอบกิจการมันก็จะมีมลพิษที่เกิดขึ้นในกฎกระทรวงควบคุมหลักเกณฑ์กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพปี
2545 ข้อสองท่านเกี่ยวข้องกับกฎหมายใดท่านต้องปฏิบัติตามกฏหมายนั้น พรบ.
โรงงานเองเมื่อกี้ขอเรื่องพลาสติก จริงๆแล้วท่านบอกว่าท่านจะมีการผลิตเป็นปุ๋ยด้วยใช่ไหมปุ๋ยก็ต้องขออนุญาตด้วยนะครับต้องดูให้ครบและเรื่องโรงไฟฟ้าต่างๆที่ท่านทางพลังงานจังหวัดว่ามาท่านก็ต้องอยู่ในกอบคือเบื้องต้นผู้ประกอบการ
ต้องเดินตามกฎหมายให้ครบ ต้องเรียนว่าเวลาเจ้าพนักงานไปตรวจเดี๋ยวพนักงานก็จะมีข้อวินิจฉัย
ทางกฎหมายเองการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมีการควบคุมมลพิษ
ที่ไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนหรืออันตรายต่อสุขภาพของประชาชนระบบของท่าน....ท่านก็ว่าไปสุดท้ายมันต้องพิสูจน์ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ครับ.....ที่นี้ถ้าจะให้ควบเรื่องของข้อร้องเรียนผู้ไม่เห็นด้วยจริงๆแล้วควรจะต้องเปิดโอกาส
ให้ประชาชนพูดให้ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยเข้ามาดูขั้นตอนในการพิจารณาอนุญาตเวลาเจ้าพนักงานตรวจใบอนุญาตก็ควรเชิญเข้าไปดูด้วยนะครับว่าในกระบวนการพิจารณาอนุญาตเจ้าพนักงานเนี่ยโปร่งใสตรวจสอบตามระบบ
เป็นไปได้เพราะว่าถ้าเกิดเคสมีผู้ร้องเรียนผู้ต่อต้านถ้าเขาไม่เข้ามาดูถ้าเค้าไม่ได้มาเห็นกระบวนการต่างๆเค้าก็คิดว่ามันน่าจะมีการปัญหาไปตลอดหรือแม้กระทั่งท่านจะได้อนุญาตทั้งหมดครบถ้วนหมด
กฎหมายแต่ภายหลังถ้าการประกอบกิจการของท่านโดยเฉพาะเรื่องการควบคุมมลพิษมีปัญหากับประชาชนหรือว่ามีค่ะไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอันนี้ท่านก็ต้องรับผิดชอบซึ่งกระบวนการต่อไปท่านก็ต้องทำในเรื่องของการขึ้นอีกหลายหลายบริษัทมีกระบวนการ
ดีเฮชอาร์กับชุมชน ต้องเรียนให้ประชาชนเข้าใจเพื่อลดข้อร้องเรียนเพราะว่าในปีที่ผ่านมาที่ผมลงไปกับ
มท.16
ก็มีหลายบริษัทที่หลายโรงงานที่มันเกิดปัญหากับเรื่องของมลพิษประชาชนร้องเรียนบ่อน้ำเสียแต่ปรากฏว่าโรงงานนั้นก็บอกว่าปฏิบัติตอนแรกแรกปฏิบัติถูกต้องทุกอย่างแต่เวลาลงไปดูระบบระบบมันเฟลไปแล้วมันทำไม่ถูกต้องตามหลักการ
พรบ.โรงงานเองเค้าก็มาบอกว่าก็มีโทษปรับแต่
พรบ.การสาธารณสุขในสาธารณสุขจังหวัดเราต้องช่วยแนะนำท้องถิ่นท้องถิ่นจะเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายในข้อกำหนดของท้องถิ่นมีบอกเลยว่าต้องควบคุมมลพิษถ้าเกิดค่าไม่ได้มาตรฐาน
อ่านไม่ได้มาตรฐานน้ำเสียปล่อยลงไปก็คือการฝืนข้อกำหนดของท้องถิ่นโทษน้อ
หกเดือนปรับ 10,000 แต่เราไม่ได้เปรียบเทียบคดีเราสงสารฟ้องคดีเลิกเลยกรรมการ
ผู้จัดการต้องไปยืนอยู่ที่หน้าบัลลังก์ส่วนใหญ่ฟ้องมาสาม 10
คดีศาลลงโทษจำคุกหมดแต่รอลงอาญาอันนี้ท่านต้องรับผิดชอบตามกฏหมายและก็ต่อชุมชนด้วยมีเท่านี้ครับขอบคุณครับ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น)
กลับเรียนท่านผัวราชการจังหวัดผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านครับในส่วนของสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดมีหน้าที่ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องของการทำประชาคมก่อนที่ทางศูนย์ดำรงธรรมอำเภอจะดำเนินการประชุมก่อนหน้านี้มีการประชุม
ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการประชุมไปหลายครั้งมีอยู่ครั้งหนึ่งก็เมื่อวันที่ 18
พฤศจิกาปีห้าเก้าบริษัทสมุทรสาคร เนเชอรัลคลีน
ได้ทำหนังสือให้เราเข้าไปร่วมสังเกตการณ์
ร้องเรียนในเขตสมุทรสาครตำบลบางโทรัดและสำนักงานท้องถิ่นก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสังเกตการณ์จนมีการประชุมประชาคมอีกครั้งหนึ่งที่ทางอำเภอเป็นคนจัดก็คือวันที่
15 กุมภา
ทางศูนย์ดำรงธรรมอำเภอได้แจ้งให้ทางจังหวัดสำนักงานท้องถิ่นเข้าร่วมชี้แจงนะครับในส่วนที่เราเข้าร่วมชี้แจงในเรื่องของการขออนุญาตตั้งโรงงานไฟฟ้าซึ่งในลักษณะของการร่วมทุนว่ามีกี่ขั้นตอนอะไร
ให้กับประชาชนแล้วก็ได้รายงานกรมท้องถิ่นไปและนี่คือส่วนที่ทางอำเภอได้ชี้แจงและรายงานไปแล้วประเด็นที่เค้าร้องเรียนมาก็คือว่าความไม่โปร่งใสใน
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นอันนี้เป็นส่วนของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอซึ่งทางอำเภอก็ได้ตอบข้อซักถามไปแล้วในส่วนของใบอนุญาตการก่อสร้างอาคารซึ่งในฐานะสำนักงานท้องถิ่นกำกับการดูแล
การปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องของใบขออนุญาตเราได้ทำหนังสือแจ้งไปในส่วนให้ทางอำเภอตรวจสอบและให้รายงานมาปรากฏว่าทางอำเภอได้รายงานมาว่ามีการขออนุญาตสองครั้งในครั้งแรกเนี่ยคือเมื่อเดือนกันยายน
58 ขออนุญาตใบแรก เป็นของ เนเชอรัลคลีน ส่วนการขอใบอนุญาตที่สองเป็นของ
คลีนเอ็นนีจี ครับ ซึ่งตรงนี้เพิ่งได้รับอนุญาตเมื่อตุลาม59
ไปอนุญาตที่ทางอำเภอได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าได้ดำเนินการถูกต้องเรียบร้อยในส่วนของประเด็นการร้องเรียนในส่วนของการไม่ยอมให้ใช้เหมือนที่บางโทรัดเป็นศูนย์จัดการขยะที่ขนมาจาก
อบต.
ต่างๆอันนี้เหมือนกับเป็นงานอนาคตเราเอาวัตถุดิบของพื้นที่มาทางบริษัทก็เดี๋ยวอาจจะต้องชี้แจงเพิ่มเติมในส่วนของ
ประชาชนในพื้นที่ในการนำวัตถุดิบมาเข้าในพื้นที่ที่บริษัทต้องการขออนุญาตรายงานแค่นี้ครับ
สำนักงานโยธา)
กราบเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านดิฉันมณีวรรณ ชนะไพ
หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการผังเมืองจากการตรวจสอบพื้นที่และเรื่องการตรวจสอบประโยชน์การใช้ที่ดินของผังเมืองนั่นเองปี
58ที่ทางบริษัทขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
ได้ดำเนินกิจการเป็นช่วงไม่มีผังเมืองใช้บังคับในพื้นที่นั้นก็คือบางโทรัดแต่ณขณะนี้ได้ดำเนินการจัดทำผังเมืองจังหวัดสมุทรสาครซึ่งวันนี้ได้รับแจ้งจากกรมมามีการประชุมกรมเพราะคาดว่า
ต้นเดือนเมษายนนี้จะมีการประกาศใช้บังคับผังเมืองจังหวัดสมุทรสาครเป็นกฎหมายนะคะซึ่งในพื้นที่เราได้ตรวจสอบเป็นพื้นที่สีเขียวก็คือเป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมและมีข้อห้ามเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารโรงงานต่างๆด้วย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากเป็นผังเมืองระดับจังหวัดมันจะมีความยืดหยุ่นสูงกว่าระดับเมืองหลวงการก่อสร้างอาคารที่จะจัดสร้างต่างๆโดยเฉพาะโรงงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมมันก็จะมีข้อยกเว้นถ้าทำได้ก็คือว่าโรงงานที่ไม่มีมลพิษไม่มีความเสี่ยงสูงตามกฏหมายของโรงงานก็มีเพื่อนที่ไว้ร้อยละ
50 แต่ถ้าเป็นโรงงานที่มีมลพิษและมีความเสี่ยง สูง 12 ประเภทก็ต้องเพิ่มร้อยละ 50
และมีพื้นที่โดยรอบแปลงที่ดินอีก 10
เมตรและอาคารที่สร้างจะต้องเป็นอาคารที่ไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่และอาหารสูงอันนี้คือข้อบังคับในพื้นที่สีเขียวของผังเมืองจังหวัดสมุทรสาครที่จะประกาศประมาณ
ต้นเดือนเมษายน
***
ประเด็นที่ตกค้างอยู่ที่ผู้แทนของบริษัทจะชี้แจงเชิญครับ
ผู้แทนบริษัท)
ต้องขออนุญาตทำความเข้าใจก่อนครับ กปพ.
ยังไม่เปิดรับซื้อเพราะฉะนั้นขั้นตอนต่างๆที่เราจะต้องดำเนินการผมก็ดำเนินการไปก่อนหลายตัวแต่ว่าตัวจริงๆแล้วที่ต้องทำจริงๆคือยังไม่ได้ทำเพราะว่าต้องอธิบายให้เข้าใจนะครับเพราะว่าโรงงานของผมแบ่งพื้นที่เป็นสองส่วน
ส่วนแรกนี่คือตัวโรงงานคัดแยกนะครับอันนี้ขึ้นอยู่กับ กปพ.
โดยตรงและส่วนที่สองโรงไฟฟ้าขึ้นอยู่กับกปพ.
โดยตรงปัจจุบันยังไม่ได้ประกาศรับซื้อขายไปนะยังไม่มีการก่อสร้างยังไม่มีการดำเนินการใดใดแต่ว่าทุกครั้งที่ทำชี้แจงแล้วก็รับฟังความคิดเห็นประชาชนผมจะแจ้งตลอดว่าโรงงานของผมมีอยู่สองส่วนเพราะฉะนั้นในการชี้แจงเบื้องต้นทุกท่านทราบแล้วว่ามีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นและก็ตัวกลางการขอใบอนุญาตผมได้
อ.1 โรงไฟฟ้า
ตัวใบอื่นๆยังไม่ได้ทำเพราะว่าโรงงานยังไม่ได้สร้าง
ดินยังไม่ได้ถมส่วนประเด็นที่สองเรื่องใบอนุญาตที่บีพีแนะนำมาอีกสี่ห้าใบต้องอธิบายอย่างนี้ก่อนคับผมยื่นเรื่องหมดแล้วไปที่ทาง
อบต. แต่ว่าทาง อบต. ยังไม่ให้ยื่นเรื่องต่อเพราะว่าเค้าขอใบรง.4ก่อน
เพราะฉะนั้นตอนนี้ผมติดใบ รง.4 จากอุตสาหกรรมจังหวัดพอได้ผมก็จะดำเนินการต่อไปยังอบจ.
จาก ส่วนเรื่องผังเมืองที่บอกว่าทางบริษัทขอไปในช่วงที่เขายังไม่ได้ประกาศผังเมืองเพราะฉะนั้นก็ใช้สิทธิ์ได้เต็มที่ตามที่ขอไปถูกไหมครับ
ร่วมกันพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูล ที่ปรากฏที่นางสุนิสา โชติกเสถียร ประเด็นข้อที่หนึ่งเรียกร้อง ตำบลบางรักขยะที่องค์การการปกครองต่างๆในจังหวัดประเด็นที่สองไม่ต้องการให้มีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะอาดีเอฟในพื้นที่ตำบลบางโทรัด
เพราะกลัวส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกลิ่นเหม็นน้ำเสียอากาศเป็นพิษและความเป็นอยู่ของประชาชนหมู่ที่สามและใกล้เคียงซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม
1.3 ไม่มีความโปร่งใสในกระบวนการรับรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนผู้มีส่วนได้เสียไปตามระเบียบคณะกรรมการ
กับกิจการพลังงานว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นซึ่งข้อห่วงใยของงานสุนิสา โชติกเสถียรถ้าผมจะพูดให้ฟังดูดีก็เป็นข้อห่วงใยสิ่งที่ผมพูดไปเมื่อสักครู่บางทีประเด็นข้อห่วงใยทางผู้ประกอบการ
ถ้ายังไม่ได้ทำยังไม่ได้เกิดก็คือยังไม่ได้กำจัดขยะยังไม่ได้ผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะถ้าพูดแล้วเรื่องยังไม่ได้การ์ดผมมองเชิงสร้างสรรค์ดูดีก็คือเป็นข้อห่วงใยของผู้ร้องท่านต้องสื่อความหมาย
ต้องสื่อสารสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างไรเป็นสิทธิบริษัทก็ต้องออกแรงยังไงนี่คือประเด็นแก้ไขข้อขัดข้องใจในประเด็นห่วงใยเพราะไม่พอจ่ายเขาก็จะเป็นทำนองแบบนี้ไปตลอด
แบบนี้ผมก็ต้องให้ท่านใช้ความสามารถแก้ข้อขัดข้องใจหรือข้าวห่วงใยในประเด็นที่เรียกร้องได้อย่างไรนอกเหนือจากความเป็นทางการราชการนี่คือประเด็นในส่วนที่เกี่ยวข้องส่วนประเด็นที่ทาง
ท้องที่บางโทรัดไม่ว่า อุตสาหกรรมไม่ว่าสาธารณะสุขไม่ว่า สข.
ว่าโยธาสิ้นสุดท้ายที่โยธาบอกว่านั่นมันกดหมายใหม่กฎหมายใหม่อาจจะสี่แยกก็ได้เพราะมันเป็นเรื่องของการกำจัดขยะให้ท่านไปดูข้อยกเว้นที่จะเป็นไปได้แต่จริงๆแล้วสิทธิของการตั้งโรงงานถ้าท่านใบ
รง.4. มัน
ออกก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามแต่โรงงานประเภทนี้น่าจะเข้าข่ายตามที่ผมมองอย่างง่ายนี่คือประเด็นในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อกรณีการร้องเรียนร้องทุกข์เพื่อพิจารณาพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างที่พี่น้อง
ธารณสุขบท่านก็ไปดูเพิ่มเติมให้มันโครบเวอร์ในประเด็นที่เป็นประเด็นเพราะเรื่องทำนองนี้ก็มองเป็นข้อมูลยังไงถ้าทันทำให้ทุกคนที่ห่วงใยท่านเห็นเป็นเชิงประจักษ์ว่าไม่มีปัญหา
ก็เป็นประโยชน์กับโรงงาน
สิ่งที่เขาบอกว่าไม่ยินยอมจริงๆแล้วมันเป็นไม่ได้หรอกมันจะยินยอมได้ยังไงมันเป็นสิทธิแต่ถ้าคุณประกอบกิจการบางสิ่งบางอย่างนั้นสือได้สงสัยได้เพราะเราเป็นผู้ทำเพราะโรงงานประเภทนี้ก็ห่วงใยกลิ่นห่วงใยน้ำเสีย
บางใหญ่อากาศเป็นพิษข้อห่วงใย
จะทำอย่างไรให้คอห่วงใยมันหมดไปมันเป็นเรื่องที่ท่านต้องลงทุนอาจจะไม่ได้ใช้ทางวิศวกรรมคับข้องใจทำอย่างไรให้หายคับข้องใจ
ผู้ร่วมทุนก็ต้องรับผิดชอบทางสังคมให้ข้อห่วงใยต่างๆหายไปจบการ
เรียบเรียงโดย นิชานันท์ /นก ชี้ชัดเจาะลึก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น