เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 60 เวลา 09.00 น. นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสาบันครอบครัว ประธานในพิธีเปิดการประชุมสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจำปี 2560 “Family Comes First : หลักประกันของครอบครัวเพื่อสร้างประชากรอย่างมีคุณภาพ” ณ ห้องแซฟไฟร์ ชั้น 2 อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
นายเลิศปัญญา กล่าวว่า การจัดสมัชชาครอบครัวระดับชาติ เป็นการดำเนินงานภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและประสานงานสถาบันครอบครัวแห่งชาติ พ.ศ. 2551ซึ่งกำหนดให้มีการจัดประชุมสมัชชาครอบครัวระดับจังหวัดและระดับชาติ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือเพื่อให้ครอบครัวมี ส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบาย โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนปัญหา และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันครอบครัวในนามประชารัฐเพื่อสังคมและเพื่อส่งมอบข้อเสนอจากมติสมัชชาต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายบริหาร หรือการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย หรือระเบียบปฏิบัติ ต่อไป
นายเลิศปัญญา กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของโลก รวมทั้งของประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเกิด อัตราการแต่งงานที่ลดลง เมื่อแต่งงานแล้วก็มีแนวโน้มที่จะมีลูกลดลง หรือไม่มีเลย ในขณะที่อายุขัยเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งชายและหญิง และในอนาคตอีกไม่ไกล เราจะเผชิญกับสังคมที่มีวัยแรงงานลดลง มีประชากรที่ต้องพึ่งพิงมากขึ้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นะที่ต้องเริ่มต้นจากครอบครัว และการจะพัฒนาให้ประชากรที่มีคุณภาพในทุกมิตินั้น ต้องบูรณาการการทำงานหลายภาคส่วน เพื่อสร้างให้ครอบครัวมีหลักประกันสามารถแก้ไขปัญหาได้หลายมิติ เช่น ด้านเศรษฐกิจ ถ้าสามารถการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคจะทำให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นมากขึ้น จะช่วยให้ครอบครัวที่ได้อยู่ใกล้ชิดกัน หรือด้านการสาธารณสุข หากรัฐสามารถดูแลประชากรทุกช่วงวัยได้อย่างเหมาะสม จะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวสามารถจัดการความสมดุลในครอบครัวได้ดีขึ้น เป็นต้น
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่มา ของแนวคิดการประชุมสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจำปี 2560 “Family Comes First : หลักประกันของครอบครัว เพื่อสร้างประชากรอย่างมีคุณภาพ”โดยในปีนี้ และเสนอแนะข้อคิดเห็นในประเด็นปัญหาต่างๆ รวมถึงประเด็นหลักประกันของครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว 4 ลักษณะ คือ ครอบครัวข้ามรุ่น ครอบครัวผู้สูงอายุอยู่ลำพัง ครอบครัวที่มีผู้พิการหรือมีภาวะพึ่งพิงสูง และครอบครัวสามรุ่น การจัดสมัชชาครอบครัว จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ครอบครัวหรือตัวแทนของครอบครัว และภาคประชาชนจากทุกภาคส่วนของสังคมมาร่วมกันระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ข้อเสนอที่ได้จากการประชุมในวันนี้ จะมอบให้กับ พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ผู้แทนของรัฐบาล ในวันที่ 5 เมษายน 2560 เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวในอนาคตเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ “สถาบันครอบครัวเป็นเป้าหมายหลักของประเทศ ที่ต้องได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง ทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม และสมาชิกในครอบครัว อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข"
ผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว หน่วยงานภาคประชาสังคม นักวิชาการด้านครอบครัว ผู้แทนครอบครัวจากทุกจังหวัด รวมจำนวนประมาณ 650 คน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น