นายเลิศปัญญา
บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(พม.)เปิดเผย ถึงความพร้อมในการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียตะวันออกด้านครอบครัวและด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ
(The East Asia Ministerial Forum and Gender Equality)โดย
กระทรวงฯเป็นเจ้าภาพซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยจะมีขึ้นระหว่างวันที่
21-23 ธ.ค.59 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพมหานคร ว่า
การประชุมครั้งนี้เป็นความเห็นชอบของการประชุมครั้งที่ 5 พ.ศ.2556 ณ ประเทศจีน และครั้งที่ 6 ปี 2557 ณ กรุงโซลประเทศเกาหลีใต้
ซึ่งได้แยกเป็นการประชุมด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและด้านครอบครัวออกจากกัน
แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ให้มีการรวมการประชุมทั้งสองอย่างไว้ด้วยกัน
เนื่องจากหลายประเทศรับผิดชอบงานด้านความเสมอภาพและครอบครัวกระทรวงเดียวกันและเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
อธิบดีกรมสตรีฯกล่าวต่อว่า สำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ข้อมูลนโยบาย การสร้างกรอบดำเนินงาน
รวมถึงการพัฒนาและการประยุกต์การทำงานแห่งสตรีและสถาบันครอบครัวเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับที่ดีขึ้น
โดยเบื้องต้นมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 ท่าน แยกเป็น
เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส 25 ท่าน ระดับรัฐมนตรี 25 ท่าน จาก 17 ประเทศ ประกอบด้วย
ประเทศที่ดูแลด้านครอบครัวและสตรี อยู่ในกระทรวงเดียวกัน มี 9 ประเทศ ได้แก่ ไทย บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา
ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์
สาธารณรัฐเกาหลี ไทย และประเทศที่มีกระทรวงด้านครอบครัวและสตรีแยกจากกันอีกจำนวน 8
ประเทศ ได้แก่ เครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน
สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐติมอร์-เลสเต
และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
สำหรับหัวข้อหลักของการประชุม คือ สังคมที่เป็นมิตรกับครอบครัว :
การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่าน
สถาบันครอบครัวและส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ” “A Family - Friendly Society : A contribution to the Achievement of SDGs through
Families and Gender Equality”
อย่างไรก็ตามการประชุมครั้งนี้
ไทยจะมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติหรือแบบอย่างที่ดีในการดำเนินงานด้านครอบครัวและด้านความเสมอภาคระหว่างเพศของประเทศในแถบเอเชียตะวันออก
ซึ่งอาจนำมาปรับใช้กับการทำงานของประเทศไทย
อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยต่อไป
อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศที่จะได้ทำงานด้านครอบครัวและความเสมอภาคระหว่างเพศร่วมกัน
โดยรูปแบบการประชุมประกอบด้วย : การประชุมระดับรัฐมนตรี
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลรายประเทศ (Country
Presentation) การพิจารณาและรับรองปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok
Declaration) การศึกษาดูงานในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
รัฐมนตรีหรือหัวหน้าคณะผู้แทน 16 ประเทศเข้าพบเพื่อหารือกับนายกรัฐมนตรี
พร้อมกันนี้ได้จัดบรรยายพิเศษเรื่อง “สถาบันครอบครัวและความเสมอภาคระหว่างเพศบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
“Challenges to Reaching A Family-Friendly Society and Gender Equality”โดย อจ.นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ
นายเลิศปัญญา กล่าวด้วยว่า เนื่องจากช่วงนี้
ประเทศไทยของเราอยู่ในช่วงของความเศร้าโศกจากการเตรียมความพร้อมในการจัดการประชุมมีความคืบหน้าไปค่อนข้างมาก
ขอให้สื่อมวลชนประชาสัมพันธ์การจัดประชุมนี้
รวมถึงเชิญชวนให้คนไทยร่วมกันเป็นเจ้าภาพ
"ก่อนเริ่มการประชุม
ได้กำหนดให้มีการยืนถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
นอกจากจะเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านแล้ว
ยังเป็นที่ทราบกันดีว่าพระองค์ท่านเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนามนุษย์"
นายเลิศปัญญา ระบุและว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 หรือเมื่อ 10 ปีผ่านมา นายโค
ฟีอันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ในขณะนั้น ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล
"ความสำเร็จสูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP Human Development
Lifetime Achievement Award)ซึ่งเป็นรางวัลชิ้นแรกของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ
60 ปี
นอกจากนี้สัญลักษณ์การจัดการประชุมครั้งนี้
ยังมีการนำเครื่องทองน้อยมาประดับไว้บน โลโก้การจัดประชุม
เพื่อเป็นการแสดงความอาลัยต่อพระองค์ท่าน ในส่วนของกรมฯซึ่งเป็นเจ้าภาพ
ได้เตรียมความพร้อมในทุกด้านและติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ได้ย้ำและเน้นด้านการต้อนรับและการดูแลด้านความปลอดภัย
ซึ่งได้รับการตอบรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น