เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 17 พ.ย.59 สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้จัดการประชุมสมาชิกชาวประมงเพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อน และเสนอขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหา ณ ห้องประชุมตลาดทะเลไทย อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน ประกอบด้วยนายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และสมาชิกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย 22 จังหวัดชายทะเล ส่วนราชการ/ผู้แทน อาทิ
- นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง
- พล.ท.ชวลิตร พงษ์พิทักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
- พล.ต.วสันต์ ทัพวงศ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 16
- พล.ร.ท.วรรณพล กล่อมแก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ
- ผศ.ธนพร ศรียากูล คณะทำงาน รมว.กษ
- จัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร
- ผู้แทนกรมชลประทาน
สรุปรายละเอียดการประชุมได้ ดังนี้
- สมาคมประมงฯ มีแนวคิดว่าชาวประมงจะมีการรับซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อช่วยเหลือชาวนา
- นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และนายบรรจง นะแสเสนอให้ยกเลิกโรงงานปลาป่น โรงงานอวนราก ครึ่งหนึ่ง โดยไปพูดในเวทีเสวนาวิชาการ 3 เวทีหลักๆ และมีการเสนออียูว่าให้ลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวในอาชีพประมง สมาคมประมงฯ อาจจะต้องมีมาตการตอบโต้บ้าง โดยนายสุรเดช นิลอุบล รองนายกสมาคมประมงจังหวัดสงขลาได้แจ้งในที่ประชุมว่ามีฉันทามติในประมงจังหวัดสงขลาว่าหลังจากกลับไปที่สงขลาจะไปปิดบ้านนายบรรจง นะแส (ไปอย่างสุภาพ) และถ้าปลาทูน่าเข้าท่าเทียบเรือจังหวัดสงขลาเมื่อไหร่จะถูกปิดล้อม
- สมาคมประมงฯ เสนอปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาเรือประมงที่ตกสำรวจที่ไม่สามารถออกทำการประมงได้สมาคมฯ เสนอให้มีการเยียวยาและช่วยเหลือเรือประมง โดยการจัดตั้งกองทุนบริหารจัดการประมงโดยมีแหล่งที่มาจาก
1) เงินค่าธรรมเนียมการนำเข้าทูน่าที่ผลิตเพื่อการส่งออก 10%
2) เงินค่าใบอนุญาตทำการประมงฯ
3) เงินค่าภาคหลวง หรือเงินค่าสัมปทาน
2. เรือที่ไม่มีใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ เสนอให้เร่งคำนวณค่า MSY เพื่อนำมาประเมินศักยภาพสัตว์น้ำ เพื่อพิจารณาจำนวนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ที่จะดำเนินการต่ออายุทุก 2 ปี โดยอาศัยอำนาจอธิบดีกรมประมง ตามกฏกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ.2559
3. เรือที่ถูกล็อคพังงา ขอให้มีการแก้ไขวิธีการควบคุมเรือประมงที่จอดอยู่โดยเปลี่ยนเป็นวิธีอื่นที่นอกเหนือจากการล็อคพังงาเรือ
4. ปัญหากฎหมาย พรก.ประมง ระเบียบ ประกาศ ที่เป็นปัญหาต่อการประกอบอาชีพฯ ขอให้มีการแก้ไข ดังนี้
1) ประเด็นปัญหาการลิดรอนสิทธิในการประกอบอาชีพ
มาตรา 44
2) ประเด็นปัญหาที่มีการลงโทษเกินกว่าเหตุ แม้แต่ขาดเจตนา มาตรา 11 มาตรา 39 (1)-(5) (7) มาตรา 169
3) ประเด็นปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมาย
(1) คำนิยาม ทะเลชายฝั่ง
(2) มาตรา 34 มาตรา 57 มาตรา 81 (1)-(3) มาตรา 113 (1) (2) (5) มาตรา 114 (2)-(6) (8) (13) (14)
4) ประเด็นปัญหาความยุ่งยากในทางปฏิบัติและเป็นการลงโทษเกินกว่าเหตุ มาตรา 83 ประกอบมาตรา 153 มาตรา 84,85 ประกอบมาตรา 154
5) ประเด็นปัญหาโครงสร้างคณะกรรมการการประมงแห่งชาติ มาตรา 13,14 ที่กำหนดโดยไม่มีประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมนอกน่านน้ำไทยเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
6) ประเด็นปัญหาบทลงโทษทั้งหมดที่มีความรุนแรงเกินไป
7) ขอให้ยกเลิกประกาศจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดเครื่องมืออวนลากคานถ่างหรืออวนลากแขกที่ใช้ประกอบกับเรือยนต์ทำการประมงในท้องที่จังหวัดชลบุรี ประกาศ ณ วันที่ 23 มี.ค.42
8) ขอให้มีการประกาศเขตทะเลชายฝั่งอันดามัน ตามความเห็นชอบคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด
5.แรงงานต่างด้าวที่ไม่สามารถทำบัตรใหม่ได้ เสนอให้
1) เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวเฉพาะกิจการประมงทะเล ปีละ 2 ครั้ง ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 6 ส.ค.56
2) ขอให้มีการจัดทำ one stop service บริเวณชายแดนเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลน
3) ขอให้อธิบดีกรมประมง เสนอ ครม. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการจะทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมง ตามมาตรา 83 พรก.ประมง 2558
- ขอให้เร่งบังคับใช้ร่างข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งผู้ทำการในเรือฯ โดยเร็ว เพื่อแก้ปัญหาการทำงานบนเรือประมง เนื่องจากคนไทยที่ทำงานบนเรือประมงมีน้อยทำให้ไม่ครบตำแหน่งตามระเบียบของกรมเจ้าท่า แต่ร่างข้อบังคับนี้จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
- ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอว่าทำไมไม่มีการใช้แรงงานบังคลาเทศ อยากให้มี พ.ร.บ.คุ้มครองนายจ้าง
- อธิบดีกรมประมงแจ้งว่าให้เสนอปัญหาต่างๆ ผ่านสมาคมฯ มาถึงกรมประมง
- ผศ.ธนพรฯ แจ้งว่าในวันที่ 19 ธ.ค.59 และ วันที่ 22 ธ.ค.59 จะมีการประชุมในเรื่องแก้กฎหมายที่ กทม.และ จังหวััดสงขลา ตามลำดับขอให้ไปร่วมกัน โดยจะประสานทางประธานสมาคมประมงฯ อีกครั้ง
- จัดหางานจังหวัดสมุทรสาครชี้แจงว่าเรื่องแรงงานบังคลาเทศ รัฐบาลอาจจะต้องขอดูอีกสักระยะเนื่องจากอาจจะมีปัญหาด้านความมั่นคงบางประการ เช่น ปัญหาชาวโรฮิงญา สำหรับการอยากให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวนั้น รัฐก็ต้องรอดูอีกสักพักเพราะการจดทะเบียนฯ อาจเป็นบ่อเกิดของการลักลอบนำคนมาสะสมเพื่อจดทะเบียน
ก่อนยุติการประชุมมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองสมุทรสาคร มาร่วมสังเกตุการณ์และรักษาความเรียบร้อยจนกระทั่ง เวลา 17.35 น. กลุ่มชาวประมงได้แยกย้ายกันกลับ เหตุการณ์ทั่วไปปกติ.
เงาพญาราหู รายงาน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น