pearleus

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

มองเกมส์ประเทศไทย ยาวปายย ...ประเทศทายยยย..

            อย่างที่รู้กันดีว่า วันที่ 6 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้มีการประชุมนัดพิเศษ ซึ่งมีวาระสำคัญในการลงมติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเสียงในที่ประชุมมีทั้งหมด 247 เสียง  ปรากฏว่ามีผู้ไม่รับร่างจำนวน 135 เสียง และรับร่าง 105 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง
                มาดูชื่อเสียงเรียงนามกันว่า กลุ่มที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมีทั้งหมด 135 เสียง มีใครบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น สปช. สายข้าราชการทหาร, นักวิชาการสาย นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ปรธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง, สปช. สายจังหวัด และ สปช. กลุ่มตัวแทนของพรรคการเมือง ดังนี้
          สายทหาร เช่น พ.ต.อ. จรุงวิทย์ ภุมมา, พล.อ. จิระ โกมุทพงศ์พล.ท. ฐิติวัจน์ กำลังเอก, พล.ท. เดชา ปุญญบาล, พล.อ. พอพล มณีรินทร์, พล.อ. มนัส รูปขจร, พ.ต.ต. ยงยุทธ สาระสมบัติ ที่น่าสนใจรายชื่อหนึ่งคือ พล.ท. นาวิน ดำริกาญจน์ ซึ่งเป็น สปช. ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมาธิการยกร่างฯ ในครั้งนี้ กลับงดลงมติกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว
          สายการเมือง เช่น นายชัย ชิดชอบ, พล.อ. ธวัชชัย สมุทรสาคร, พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา, นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์, นายดำรงค์ พิเดช 
          นักวิชาการสาย อ.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เช่น นายอมร วาณิชวิวัฒน์, นายนิรันดร์ พันทรกิจ, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายบุญเลิศ คชายุทธเดช, นายนิมิต สิทธิไตรย์, นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
          สปช. สายจังหวัด เช่น นายเอกราช ช่างเหลา สปช. จ.ขอนแก่น, นายทิวา การกระสัง สปช. จ.บุรีรัมย์, พ.ต.ท. จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ สปช. จ.มุกดาหาร
          ส่วน สปช. สายที่รับร่างฯ 105 เสียง ส่วนใหญ่ก็เป็นนักวิชาการสายเอ็นจีโอ รวมถึงสายสื่อมวลชน และด้านศิลปินแห่งชาติ รวมไปถึง สปช. ที่นั่งเก้าอี้คณะกรรมการยกร่างฯ จำนวน 20 คน ได้แก่   สายเอ็นจีโอ น.ส.รสนา โตสิตระกูล, นายดุสิต เครืองาม, นางสารี อ๋องสมหวัง, นพ.พลเดช ปิ่นประทีป, นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์   สายศิลปินและสื่อมวลชน นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์, นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด, นายจุมพล รอดคำดี
                 ขณะที่ สปช. ที่งดออกเสียง มี 7 คน คือ นางกูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี, นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, น.ส.ทัศนา บุญทอง, นายเทียนฉาย กีระนันทน์พล.ท. นาวิน ดำริกาญจน์, พล.อ. เอกชัย ศรีวิลาศ
                เมื่อผลออกมาอย่างนี้ก็ยาวกันเลยประเทศไทย  อันดับแรก กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ (ที่ฉลาดที่สุดในประเทศไทย) ต้องสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ตามไปปริยาย ทั้งนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติของบิ๊กตู่ จะทำการเลือกกรรมการขึ้นมาใหม่เพื่อยกร่างฯ โดยมีระยะเวลา 180 วัน ในการร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการทำประชามติของประชาชนภายใน 45 วัน หากผ่านก็จะเข้าสู่ช่วงการจัดการเลือกตั้ง แต่หากไม่ผ่านก็จะต้องตั้งกรรมาธิการยกร่างฯ ขึ้นมาใหม่วนไปจนกว่าจะประชามติจะผ่าน.........ก็ถือว่า ยาวป่ายยย...ประเทศทายยยยย....
                สำหรับคณะกรรมาธิการยกร่างชุดใหม่ที่ต้องเร่งจัดตั้งนั้น ได้มีการคาดการณ์บุคคลกันมาบ้างแล้ว อาทิ  อดีตกรรมาธิการยกร่างฯ เช่น นายชูชัย ศุภวงศ์, นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์, นายบรรเจิด สิงคเนติ, นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และอดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เช่น นายสุพจน์ ไข่มุกด์, นายวิชา มหาคุณ อาจเข้ามารับหน้าที่กรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่   นอกจากนี้อาจต้องมีนายทหารรวมอยู่ด้วยจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นจุดยึดโยงกับ คสช. อย่างเช่น พล.ท.นาวิน ดำริกาญจน์, พล.ท.นคร สุขประเสริฐ, พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช และอาจเป็นไปได้ที่จะมีตัวแทนจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าร่วมด้วย ได้แก่ นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์     ขณะที่บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมและเป็นที่คาดการณ์นั้น ได้ปฏิเสธการเข้ารับหน้าที่นี้แล้ว เช่น นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ และนายนรนิติ เศรษฐบุตร   เป็นต้น
                การรับไม่รับร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีนัยยะและประเด็นให้ต้องนำมาขบคิดหลากหลายแง่มุม  บ้างก็เป็นหนังหลอกเด็ก ต้มคน (ไทย) ดู  เตี้ยมกันชัด ๆ  เลยเถิดไปถึงขั้นเป็นเกมส์ของกปปส. ที่ต้องการดึงเกมส์ให้ปฎิรูปก่อนการเลือกตั้ง เพราะถ้าขืนปล่อยไปตอนนี้ เกรงว่ากลุ่มอำนาจเก่าจะกลับมายึดคืนประเทศไทย
                ว่ากันจริง ๆ แล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ใช่ว่าจะดีเด่  อ่านดี ๆ จะเป็นฉบับที่ห่างไกลประชาธิปไตยซะด้วยซ้ำ เพราะมีสิ่งที่ภาษารัฐศาสตร์เขาเรียกว่า รัฐซ้อนรัฐ มีอำนาจซ้อนอำนาจ ที่อยู่เหนืออำนาจประชาชนอีกที ซึ่งที่ถกเถียงกันมากก็คือ  คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ (มาตรา 279) ที่ยังขาดความชัดเจนว่า มีเจตนาเพื่อปฎิรูปประเทศ หรือ ขจัดคู่แข่งทางการเมือง

                อย่างไรก็ตาม ก็ในเมืองเกมส์เดินทางมาถึงขนาดนี้ แป๊ะว่าไง ก็ต้องว่าตามกัน ก็เอาปืนมาจี้กระบาลและนิ แล้วแต่ท่านเถิด  ประชาชนคนไทย คงทำอะไรไม่ได้ไปกว่า wait and see ให้เลือกตั้งเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น เข้าใจว่าน่าจะเลยไปปี 60 เลยนั้น  ก็หวังว่ารัฐธรรมนูญจะทันสมัยเป็นฉบับ 2560 น่ะ ไม่ใช้ ถอยหลังเป็น 1960 ล่ะ 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น