ต้องยอมรับปัญหาน้ำเสีย
จ.สมุทรสาคร ว่าเป็นที่น่าสนใจจนถูกจับตามองอย่างต่อเนื่องสำหรับมาตรการแก้ไขในขณะนี้
โดยเฉพาะปัญหาคลองภาษีเจริญ อ.กระทุ่มแบน เกิดเสื่อมโทรมเรื้อรังยาวนานจนใช้การไม่ได้ ส่งผลให้ช่วงย่างเข้าสู่ยุค ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัต อดีต ผวจ.สมุทรสาคร
จึงเล็งเห็นปัญหาความสำคัญฐานะคลองประวัติศาสตร์จึงมีประกาศขึ้นบัญชีฐานะคลองวิกฤติเป็นวาระสำคัญของจังหวัด
ก่อนกำหนดให้หน่วยงานต่างๆเร่งจัดการแก้ไข ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม
และสภาองค์กรชุมชนต่างๆ
ร่วมด้วยช่วยกันออกแรงขับเคลื่อนเร่งฟื้นฟูคุณภาพเพื่อให้คืนสู่สภาพเดิม
เพราะถูกปล่อยละเลยขาดการเยียวยายาวนานนับ 10 ปี
กล่าวคือสาเหตุสำคัญที่พบมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากตั้งลายล้อมคลอง ทั้งบ้านเรือน
ปล่อยน้ำทิ้งที่ปนสารเคมีปนเปื้อนออกสู่แหล่งน้ำเป็นเหตุให้ล่าสุดสีดำคล้ำ สลับวัชพืชขยะมูลฝอย
และกลิ่นเหม็นรบกวน จากอดีตเมื่อ 30 ปีก่อนคลองภาษีเจริญเคยสะอาดใสทุกคนได้ใช้ประโยชน์ ต่อมาจึงมี"โครงการสมุทรสาครโมเดล เพื่อคืนคลองสวยน้ำใส" นำโดย ร.ต.ท.อาทิตย์ อดีต ผู้ว่าฯสมุทรสาคร
(อธิบดีกรมการปกครอง)
ผู้จุดประกายตื่นตัวที่เริ่มต้นมาราว 2 ปี ปรากฏว่า
ปัจจุบันภาพรวมถือว่าสะอาดขึ้นบ้างแต่ทว่าค่าคุณภาพน้ำยังอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมน่าห่วง
"ต้องเฝ้าระวังสานต่อโครงการต่อไปทุกระยะ"
นายณัฐธัญ
พลังจุนันท์ ประธานองค์กรชุมชนตำบลตลาด อ.กระทุ่มแบน เผยว่า เมื่ออดีตราว 30 ปีก่อนช่วงนั้นผมอายุประมาณ 10 ขวบ เห็นสภาพน้ำคลองภาษีเจริญใสสะอาดมาก มีทั้งกุ้งหอย-ปูปลา
จับขึ้นมากินได้ จู่ๆต่อมาก็ค่อยๆเสื่อมลง ค่อยๆเน่าเสียสะสมมาเรื่อยๆ
กระทั่งน้ำเสียอย่างหนัก กระทั่งในปี 2556 เมื่อมี"โครงการสมุทรสาครโมเดล"
ออกมาทางสภาองค์กรชุมชนต่างๆจึงเกิดแนวคิดร่วมมือร่วมใจกันออกมาเร่งแก้ปัญหา จึงขอความร่วมมือสนับสนุนภาคประชาชนจากหน่วยงานราชการ
และองค์กรส่วนท้องถิ่นที่คาบเกี่ยวข้อง ตลอดจน สส.และ ส.อบจ. ให้เล็งเห็นความสำคัญคลองสาธาณะ ในฐานะภาคประชาชนมาช่วยขับเคลื่อนแก้ไขตามรูปแบบต่างๆ
และช่วยเก็บขยะ
“ความเสื่อมของคลองภาษีเจริญขั้นแย่ที่สุดคือเคยมีเด็กพลัดตกลงไปแล้วต่อมาก็ติดเชื้อในปอดจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตามหลังมีการรณรงค์นำชาวบ้านออกร่วมด้วยช่วยกันรักษาฟื้นฟูคุณภาพน้ำ แม้ล่าสุดยังไม่สวยใสเหมือนยุคก่อนแต่ก็จัดว่าค่อยๆดูดีขึ้นกว่าอดีตตามลำดับ”
ด้านสมพร
อ่วมประทุม ปธ.คณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคม
จ.สมุทรสาคร ให้ทัศนะว่า เรื่องปัญหาน้ำเสียของแหล่งน้ำนี้
ต้องแยกความแตกต่างกันระหว่าง 3 อำเภอ เช่น อ.บ้านแพ้ว มีปัญหาออกจากภาคการทำเกษตรกรรม, อ.เมืองฯ
พบปัญหามาจากภาคอุตสาหกรรมหรือประมงต่อเนื่อง ขณะที่ อ.กระทุ่มแบน
มีลักษณะใกล้เคียงกับอำเภอเมือง ส่วนเรื่องการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ต้องให้ความสำคัญคือร่วมมือร่วมใจอย่างมีส่วนร่วมเพื่อเป้าหมายไปสู่ทิศทางเดียวกัน
จากนั้นค่อยสำรวจมาตรการทำงานและประมวลความสำเร็จตามนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ขณะที่สมบัติ
ศิริพงษ์เวคิณ กำนันตำบลสวนหลวง อ.กระทุ่มแบน ยีนยันด้วยว่า
คลองภาษีเจริญถือว่าสะอาดขึ้นมาบ้างจากก่อนหน้านี้น้ำมีสภาพเน่าเสียค่อนข้างหนัก
จนมีสีดำจัดใกล้เคียงสีน้ำกาแฟ เนื่องจากมีสารเคมีเจือปนอยู่จำนวนมาก
ส่งผลให้ก่อความเดือดร้อนรำคราญและส่งกลิ่นเหม็นด้วย ดังนั้นจึงได้ร่วมกับชาวบ้านให้สนใจถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนริมฝั่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรก็ตามจึงแนะนำให้มีการนำมาตรการทางกฎหมายมาบังคับควบคุมและจับกุมบรรดาโรงงานโดยเฉพาะตั้งอยู่ใกล้คูคลองและคลองภาษีเจริญ
ที่ทิ้งน้ำเสียโดยไม่สนใจแหล่งน้ำสาธารณะอย่างไม่สนใจต่อไป
นายบัญชา ช่อสุวรรณ ฐานะชาวริมฝั่งคลองภาษีเจริญวัยกลางคน ยอมรับว่า คุณภาพคลองภาษีเจริญไม่สามารถนำมาใช้อะไรได้เป็นมาเกือบ 10 ปีแล้ว
กระทั่งเราเคยชินแล้วกับสีน้ำดำและกลิ่นเหม็น
อันเป็นผลพวงมาจากโรงงานที่แอบปล่อยน้ำเสียมานาน อย่างไรก็ตามยังลุ้นหน่วยงานช่วยบำบัดให้คืนกลับสู่สภาพปรกติอันทำให้ชาวริมฝั่งไม่ต้องมาทนกันสูดดมสารพิษในชีวิตประจำวันต่อไป เช่นเดียวกับ นเรศ แก้วชิงดวง ประธานสภาองค์กรชุมชน
ต.สวนหลวง ชาวสวนหลวงมีบ้านเกิดข้างริมคลองภาษีเจริญ ฐานะ 1 ในแกนนำกลุ่มผู้ผลักดันโครงการ “โครงการ 1ไร่ 1พัน 1เดือน” เพื่อพึ่งพาตนเองด้านของชาวบ้าน
ยืนยันด้วยว่า
ได้เห็นสภาพน้ำจากใสสะอาดดีจนมาเกิดปัญหาวิกฤติจึงมีแนวคิดขอสนับสนุนงบประมาณจากทางเทศบาลตำบลสวนหลวง มาช่วยแก้ไขทั้งช่วยรณรงค์อนุรักษ์ฟื้นฟู โดยดึงนำเด็กๆนักเรียนออกในฐานะ
"กลุ่มมดเขียว"
พากันออกเก็บขยะและผักตบตามคูคลองในช่วงของวันหยุดโดยเฉพาะทุกวันอาทิตย์
ซึ่งก็มีเบี้ยเลี้ยงให้บ้างเล็กน้อย ขณะที่ชาวบ้านก็นำข้าวปลาอาหารมาช่วยสมทบเช่นกันโดยมีผู้ปกครองเห็นดีเห็นงามด้วย
ซึ่งฐานะแกนนำเครือข่ายองค์กรชุมชนสวนหลวงคงยืนยันจะติดตามดูเรื่องนี้เรื่อยๆต่อไป
(มานพ พฤฒิวโรดม -รายงาน /087-151 2525)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น