คงทราบกันดีแล้วว่ารัฐธรรมนูญฉบับ
คสช.นั้น ไปไม่รอด จอดที่สปช. คิดเห็นแตกต่างกันอย่างไรก็ว่ากันไป แต่ที่แน่ ๆ
รัฐบาลบิ๊กตู่อยู่ต่อ .... หุยฮา
พูดถึงรัฐธรรมนูญในประวัติศาสตร์ชาติไทยเรานั้น
ฉบับไหนก็ไม่น่าภูมิใจเท่าฉบับ พ.ศ. 2517
ที่ว่ากันว่าเป็นฉบับที่มีความเป็นประชาธิปไตยที่สุดฉบับหนึ่งเลยทีเดียว
ความเป็นมา
ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดหลังจากเหตุการณ์ วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 หลังจากที่จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีได้ลา ออกจาก ตำแหน่ง
โดยมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แต่งตั้ง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นคณะหนึ่งเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ
เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2516 ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 18 คน
โดยคณะกรรมการชุดนี้ได้นำเอารัฐธรรมนูญ ฉบับ 2492 มาเป็นแนวในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใช้เวลาในการยกร่างเพียง
3 เดือนเท่านั้น คณะ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เสนอ
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับปรุงแก้ไข เมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์
2517
จากนั้นจึงส่งร่างรัฐธรรมนูญไปให้นิติบัญญัติแห่งชาติ
พิจารณาและลงมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2517 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่
7 ตุลาคม 2517 เนื่องจากคณะกรรมการได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับ
2492 เป็นแนวทางในการ
พิจารณารัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงวางแนวการปกครองไว้คล้ายกับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2492
คือ ยึดถือหลักการของ "ระบบรัฐสภา" เป็นหลักในการปกครอง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มี สาระสำคัญ คือ รัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา คือ
วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรรัฐสภาจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกันย่อมเป็นไปตามบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 100 คน
ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีอายุไม่ต่ำกว่า 35
ปีบริบูรณ์วาระในการดำรงตำแหน่ง คราวละ 6 ปี
ในวาระแรกเมื่อครบ 3 ปี ให้ออกจากตำแหน่งกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับ
สลากและได้กำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจในการออกกฎหมายและควบคุมการบริหาร
งานของคณะรัฐมนตรีเกือบเท่ากับสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย
สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้ง มีจำนวนไม่น้อยกว่า 240 คน
แต่ไม่เกิน 300 คน จำนวน ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้คำนวณตาม
เกณฑ์ จำนวนราษฎรที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรวาระในการดำรงตำแหน่งคราว
ละ 4 ปี
คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีกไม่เกิน
30 คน
มีหน้าที่ในการบริหาร ราชการแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ทรงตั้ง
นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้
แทนราษฎรและรัฐมนตรีอีกไม่น้อยกว่ากึงหนึ่งของจำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด จะ
ต้องเป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลง
นามรับสนองพระบรมราชโองการตั้ง นายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนด ไว้ว่าห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาโดยเด็ดขาด
ซึ่งเท่ากับมอบอำนาจให้แก่ประชาชนอย่างเต็มที่
นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ยังได้วางหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างกว้างขวาง เช่น บุคคลจะ
ไม่ถูกจับกุมหรือสอบสวน เพื่อให้มีการฟ้องร้องเขาในคดีอาญาโดยเจ้าหน้าที่ของ
หน่วยงานเดียวกัน เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังได้ประกาศอุดมการณ์
ไว้อย่างแจ้งชัดว่ายึดมั่นใน "การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันจะยังผลให้เกิด
ความเป็นธรรมในสังคม ป้องกันคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและรักษาผลประโยชน์ของ
ประชาชนชาวไทย โดยจะดำเนินการให้ความเหลื่อมล้ำในฐานะของบุคคลในทาง
เศรษฐกิจและสังคมลดน้อยลงและส่งเสริมให้ชาวนา และเกษตรกรอื่นมีกรรมสิทธิ์
ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมตามสมควร
ต้องถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เปิดกว้าง
และใจกว้างพอสมควรสำหรับการสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยให้กลับมาอีกครั้ง
ที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญบางฉบับที่ดูเหมือนจะพยายามทำลายบรรยากาศประชาธิปไตยซะอย่างนั้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น