เมื่อ
10 มี.ค.
59 นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ด้วยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาแล้วเห็นว่าปัจจุบัน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งมีเงินสะสมหลังจากที่ได้สำรองเป็นรายจ่ายที่จำเป็นไว้แล้ว
เพียงพอที่จะนำมาใช้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนตามอำนาจหน้าที่
และสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลได้โดยไม่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินการคลังในระยะยาว
ดังนั้น
เพื่อให้การใช้จ่ายเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ
ภายใต้กรอบวินัยทางการเงินการคลังที่ดี
และสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและสภาพสังคมในปัจจุบัน ในฐานะปลัดกระทรวงมหาดไทยจึงอาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน
และการตรวจเงินขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 (ข้อ 4 ) กำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
1. ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินสะสมตามระเบียบดังกล่าว
โดยตระหนักถึงเจตนารมณ์ของการกำหนดให้มีเงินสะสมนั้น
ก็เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีฐานะการเงินการคลังที่มั่นคง
พร้อมที่จะรับภาระในการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในอนาคตที่ไม่อาจคาดการณ์ได้
หรือ นำไปใช้เพื่อการจัดบริการสาธารณะแก่ประชาชนให้ทั่วถึงและมีคุณภาพดังนั้น จึงเห็นควรพิจารณาใช้จ่ายเงินสะสมอย่างระมัดระวังเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารงานตามอำนาจหน้าที่
2. หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินสะสมเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
และสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ให้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติในปีงบประมาณ 2559ดังนี้
1) การขออนุมัติใช้จ่ายเงินสะสมให้ตรวจสอบยอดเงินสะสมที่นำไปใช้ได้ ณ ปัจจุบัน โดยหักเงินสะสม ที่ส่งฝากเงินทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล (ก.ส.ท.) หรือเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.ส.อ.) แล้วนำไปหักรายการเงินสะสมที่มีภาระผูกพันแล้วแต่ยังไม่ได้ดำเนินการ หรืออยู่ระหว่างดำเนินการ และยังไม่ได้เบิกจ่ายเพื่อพิสูจน์ยอดเงินสะสมคงเหลือ ณ ปัจจุบันที่สามารถนำไปใช้ได้
2) เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมียอดเงินสะสมคงเหลือเพียงพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายประจำ และกรณีฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้น ดังนั้น ก่อนจะนำเงินสะสมไปใช้ให้สำรองเงินสะสมไว้เพื่อใช้จ่ายในกรณี สำรองเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร สำรองจ่ายกรณีที่ยังไม่ได้รับงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไป และสำรองจ่ายกรณีสาธารณภัย
1) การขออนุมัติใช้จ่ายเงินสะสมให้ตรวจสอบยอดเงินสะสมที่นำไปใช้ได้ ณ ปัจจุบัน โดยหักเงินสะสม ที่ส่งฝากเงินทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล (ก.ส.ท.) หรือเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.ส.อ.) แล้วนำไปหักรายการเงินสะสมที่มีภาระผูกพันแล้วแต่ยังไม่ได้ดำเนินการ หรืออยู่ระหว่างดำเนินการ และยังไม่ได้เบิกจ่ายเพื่อพิสูจน์ยอดเงินสะสมคงเหลือ ณ ปัจจุบันที่สามารถนำไปใช้ได้
2) เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมียอดเงินสะสมคงเหลือเพียงพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายประจำ และกรณีฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้น ดังนั้น ก่อนจะนำเงินสะสมไปใช้ให้สำรองเงินสะสมไว้เพื่อใช้จ่ายในกรณี สำรองเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร สำรองจ่ายกรณีที่ยังไม่ได้รับงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไป และสำรองจ่ายกรณีสาธารณภัย
3. ลักษณะและประเภทโครงการที่สามารถนำเงินสะสมไปใช้จ่ายได้ จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์และตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
โดยนำข้อมูลปัญหาและความต้องการพื้นฐานจาก “แผนพัฒนาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดทำโครงการ” ทั้งนี้ ไม่ให้นำเงินสะสมไปใช้จ่ายในโครงการหรือกิจกรรมที่ฟุ่มเฟือย
หรือไม่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงกับประชาชน เช่น การก่อสร้างปรับปรุงอาคารที่ทำการ
การจัดหารถส่วนกลางหรือรถประจำตำแหน่ง การจัดหาครุภัณฑ์สำนักงาน การศึกษาดูงาน
เป็นต้น
โดยให้กระทำได้เฉพาะโครงการหรือกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ในด้านการบริการชุมชนและสังคม
กิจการที่เป็นการเพิ่มพูนรายได้หรือกิจการที่จัดขึ้นเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของประชาชนตาม
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยโดยให้ความสำคัญในด้านต่างๆ
เช่น การสนับสนุนการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการเกี่ยวกับการปรับปรุงหรือจัดให้มีแหล่งน้ำด้านการเกษตร
แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น ประปาหมู่บ้าน บ่อบาดาล เป็นต้น
หรือโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาล เช่น การปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว
สิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว จัดให้มีไฟฟ้าและแสงสว่าง โครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศ
โครงการหรือกิจกรรมตามอำนาจหน้าที่ซึ่งเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชน
ทั้งนี้ ในการจัดทำโครงการให้เป็นไปตามศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง
โดยพิจารณาจากยอดเงินสะสมที่เหลืออยู่หลังจากได้สำรองไว้สำหรับรายจ่ายที่กำหนด
และต้องมีความพร้อมทั้งด้านสถานที่โครงการหรือกิจการ ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่ได้ทำไว้แล้ว
หรือที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐได้ดำเนินการแล้ว
รวมทั้งสามารถดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณ 2559
สำหรับกรณีโครงการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะดำเนินการเอง หรือ โครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อื่นร้องขอให้ดำเนินการ จะต้องเป็นโครงการที่เป็นภาพรวมของจังหวัด
มุ่งเน้นประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม
มีผู้ได้รับประโยชน์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า 1 แห่ง และเป็นโครงการที่เกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
โดยถือปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เรื่อง กำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ลงวันที่ 13 สิงหาคม2546
ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า
กระทรวงมหาดไทยได้กำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินสะสมให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบของทางราชการ
โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
โดยถือปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 104/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557เรื่อง การกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า มีความโปร่งใส
และอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินและการคลังที่ดี และให้มีการรายงานผลการใช้จ่ายเงินสะสมเมื่อได้มีการอนุมัติแล้วให้กระทรวงมหาดไทยทราบอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ
ซึ่งกระทรวงมหาดไทย
ได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ท้องถิ่นจังหวัด ท้องถิ่นอำเภอ สนับสนุนการทำงาน
ของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ
และให้ติดตามตรวจสอบการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไป
ตามแนวทางปฏิบัติข้างต้นโดยเคร่งครัด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น