เมื่อ 31 มี.ค. 59 เวลา 10.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต Social
Enterprise (SE ภูเก็ต) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย
กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ มีวัตถุประสงค์
เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับรายได้ของประเทศ
ควบคู่กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
โดยรัฐบาลได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
(Public Private Steering Committee) ขึ้น มีคณะกรรมการบริหารและคณะทำงานร่วมรัฐ-เอกชน-ประชาชน (ประชารัฐ) 12 คณะ และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าทีมภาครัฐของคณะทำงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ
(E3) และคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชน ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนกิจกรรมของคณะทำงานชุดดังกล่าวในวันนี้
สำหรับกิจกรรมในวันนี้ เวลา 10.15 น.
ได้มีพิธีลงนามการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐพื้นที่ โดย นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
ในนามคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัด คุณฐาปน
สิริวัฒนภักดี ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน ลงนามร่วมกับ
กลุ่ม/ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งถือการเปิดตัว บริษัทประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต จำกัด (Social Enterprise : SE ภูเก็ต) อย่างเป็นทางการ โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน
จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ได้กล่าวเปิดกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (SE ภูเก็ต)
และมอบนโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยกล่าวว่า จุดมุ่งหมาย ในการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ คือ
การเสริมสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนและชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความสุข
ซึ่งภายหลังได้รับมอบภารกิจจากรัฐบาล คณะทำงานฯ ก็ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยมีกรอบการขับเคลื่อนงานภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์พระราชทาน “ระเบิดจากข้างใน” ที่ยึดปัญหาความต้องการของประชาชนเป็นตัวตั้ง เน้นการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ ด้านการเกษตร ด้านการแปรรูป SME/OTOP และด้านการท่องเที่ยวชุมชน โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีความเข้มแข็งและเกิดความยั่งยืน
ใน 5 ด้าน คือ 1.การเข้าถึงปัจจัยการผลิต 2.การบริหารจัดการ 3.การสร้างองค์ความรู้ 4.การตลาด และ 5.การสื่อสารสร้างการรับรู้
มีการดำเนินงานในลักษณะหุ้นส่วนภาครัฐ เอกชน และประชาชน (ประชารัฐ) เน้นการขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมที่เป็น Action Agenda ใน 3 ประเด็นหลัก คือ ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนโดยยึดความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้ง พัฒนาคุณภาพคน เน้นสร้างองค์ความรู้ในระดับชุมชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เน้นสร้างขีด
มีการดำเนินงานในลักษณะหุ้นส่วนภาครัฐ เอกชน และประชาชน (ประชารัฐ) เน้นการขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมที่เป็น Action Agenda ใน 3 ประเด็นหลัก คือ ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนโดยยึดความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้ง พัฒนาคุณภาพคน เน้นสร้างองค์ความรู้ในระดับชุมชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เน้นสร้างขีด
ความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
และมีช่องทาง (Platform) กำหนดพื้นที่ดำเนินการใน18 กลุ่มจังหวัดตามศักยภาพและความพร้อมของพื้นที่
โดยระยะที่ 1 จะดำเนินการ 5 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต เพชรบุรี อุดรธานีเชียงใหม่ และบุรีรัมย์
สำหรับการเปิดกิจกรรมครั้งแรกที่จังหวัดภูเก็ต
เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความพร้อม
โดยทีมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดภูเก็ต
ได้ลงพื้นที่ไปพบปะพูดคุยกับประชาชนอย่างใกล้ชิด จนทำให้ทราบปัญหาและความต้องการของประชาชนฐานราก
และนำปัญหาและความต้องการของประชาชนมาสรุป วิเคราะห์
และกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง
กลางทาง และปลายทาง เช่น 1. ด้านการเกษตร ได้แก่ ศักยภาพและปัญหาของสับปะรดภูเก็ต
ผักเกษตรอินทรีย์ นมแพะ และกุ้งมังกร (Lobster) 2. ด้านการแปรรูป SME/OTOP ได้แก่
ผ้าบาติก จากนั้นก็ได้นำข้อมูลทั้งหมดมาสู่การจัดทำโครงการร่วมกับชุมชนในลักษณะ Social
Enterprise กำหนดโครงการ ที่จะดำเนินการหลายโครงการสำคัญ
ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาธุรกิจสับปะรด อย่างครบวงจรทั้งด้านปัจจัยการผลิต โดยการระดมทุนจากภาคเอกชนผ่าน Social Enterprise ภูเก็ต การจัดหาพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณ การผลิต ด้านบริหารจัดการ โดยพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดให้เข้มแข็ง
จัดตั้งศูนย์พัฒนาธุรกิจสับปะรด ส่งเสริมการแปรรูปให้เป็นน้ำสับปะรด
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการดำเนินการจดGI และสิทธิบัตรของสับปะรดพันธุ์ภูเก็ต ด้านการตลาด Farmers’
Market โดยมีเซ็นทรัลรับซื้อผลผลิต
และประสานการจัดซื้อกับกลุ่มโรงแรมในพื้นที่ หรือจำหน่ายในร้านค้าประชารัฐ“สุขใจช้อป” นอกจากนี้ ยังมีโครงการอื่นๆ
ที่จะดำเนินการไปพร้อมๆ กัน เช่น การพัฒนาธุรกิจผักปลอดสารพิษ พัฒนาธุรกิจนมแพะ
พัฒนาธุรกิจกุ้งมังกร (Lobster) และพัฒนาธุรกิจผ้าบาติก
เป็นต้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า
การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดภูเก็ตจะเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของพี่น้องชาวภูเก็ตให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม
สามารถระดมความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนในพื้นที่มาร่วมกันพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถให้กับภาคประชาชน
และร่วมกันสร้างสรรค์พลังแห่งความดี
เพื่อให้จังหวัดภูเก็ตมีความเจริญเติบโตทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและสมดุล มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เหมาะสม และมีขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน
สามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางบริบทและสถานการณ์สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
และจะเป็นการจุดประกายให้จังหวัดอื่นๆ ได้เห็นว่า พลังประชารัฐ
นั้นยิ่งใหญ่และมีความสำคัญมาก เป็นพลังแห่งความดีที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาร่วมมือกันแก้ไขปัญหา
ทุ่มเทสรรพกำลัง และตอบสนองความต้องการของประชาชน
รวมทั้งผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างแท้จริง
อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมของทั้งประเทศเกิดความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนตลอดไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น