pearleus

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คอลัมภ์ ประกันภัยฉบับชาวบ้าน

ประกันภัยฉบับชาวบ้าน เส้นผมบังภูเขา   โดย แว่น มหาชัย
กราบสวัสดีครับท่านผู้อ่านที่เคารพ และแล้ว สายลมแห่งกาลเวลา ก็ได้นำเรามาพบกันอีกเช่นเคยและแน่นอนครับในฉบับนี้ก็มีสาระเกี่ยวกับประกันภัยซึ่งรายละเอียดต่อเนื่องจากฉบับที่แล้วเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเรียนรู้กันต่อจากฉบับที่แล้วเลยดีกว่านะครับในส่วนของตัวบทกฎหมายนั้นเป็นเรื่องยากที่ชาวบ้านอย่างเราๆจะเข้าใจแต่กระผมก็จะพยายามหาข้อมูลรายละเอียดและพยายามทำความเข้าใจไปพร้อมๆกับท่านผู้อ่านแต่ก่อนอื่นเลยเราต้องมาเรียนรู้ในเรื่องของตัวบทกฎหมายกันซะก่อนก่อนที่จะไปขยายความเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไปเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
มาตรา ๘ รถดังต่อไปนี้ไม่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา ๗
(๑) รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และรถสำหรับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(๒) รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
(๓) รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และ ราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
(๔) รถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.๒๕๓๕)
  ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕

---------------------------------------
    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๘(๔) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ออก กฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ รถดังต่อไปนี้ไม่ต้องจัดให้มีประกันความเสียหายตามมา
(๑) รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖
(๒) รถยนต์สามล้อที่แปรสภาพมาจากรถจักรยานยนต์(รถสกายแลป)
(๓) รถใช้งานเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

ข้อ ๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับได้ มีกำหนดหนึ่งปีหกเดือนนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖
(ลงชื่อ) อุทัย พิมพ์ใจชน


นายอุทัย พิมพ์ใจชน
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

หมายเหตุ เหตุผล ในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖ รถยนต์สามล้อที่แปรสภาพมาจากรถจักรยานยนต์และรถใช้งานเกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็น รถที่ผู้มี รายได้น้อยหรือเกษตรกรมีไว้ใช้เพียงเพื่อความสะดวกในการเดินทางหรือเพื่อใช้ ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม หากกำหนดให้เจ้าของรถ ดังกล่าวต้องจัดให้มีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ อาจก่อให้เกิดความ เดือดร้อนเกินสมควร ประกอบกับ บริษัทประกันภัยและสาขาของบริษัทที่มีอยู่ยังไม่พร้อมที่จะให้บริการและไม่ อาจ รองรับต่อปริมาณของรถดังกล่าวที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นสมควรผ่อนผันให้รถดังกล่าวยังไม่ต้อง จัดให้มีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ มีกำหนดเวลาหนึ่งปีหกเดือน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐ ตอน ๑๔๒ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๓๖)
กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๓๕)
                      ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕
---------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๘(๔) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.๒๕๓๕
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖ ไม่ต้องจัดให้มีประกันความเสียหายตาม มาตรา ๗ จนกว่าจะถึงกำหนดเสียภาษีประจำปี ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ครั้งต่อไปของรถจักรยานยนต์ ดังกล่าวแต่ละคัน

ข้อ ๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๓๘ เป็นต้นไป
(๑) รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖
(
๒) รถยนต์สามล้อที่แปรสภาพมาจากรถจักรยานยนต์(รถสกายแลป)
(
๓) รถใช้งานเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

ข้อ ๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับได้ มีกำหนดหนึ่งปีหกเดือนนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๘
(
ลงชื่อ)อุทัย พิมพ์ใจชน


นายอุทัย พิมพ์ใจชน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

หมายเหต เหตุผล ในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖ รถยนต์สามล้อที่แปรสภาพมาจากรถจักรยานยนต์และรถใช้งานเกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็น รถที่ผู้มี รายได้น้อยหรือเกษตรกรมีไว้ใช้เพียงเพื่อความสะดวกในการเดินทางหรือเพื่อใช้ ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม หากกำหนดให้เจ้าของรถ ดังกล่าวต้องจัดให้มีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ อาจก่อให้เกิดความ เดือดร้อนเกินสมควร ประกอบกับ บริษัทประกันภัยและสาขาของบริษัทที่มีอยู่ยังไม่พร้อมที่จะให้บริการและไม่ อาจ รองรับต่อปริมาณของรถดังกล่าวที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นสมควรผ่อนผันให้รถดังกล่าวยังไม่ต้อง จัดให้มีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ มีกำหนดเวลาหนึ่งปีหกเดือน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
เสียดายจังเลยนะครับหน้ากระดาษที่ผมได้รับได้หมดลงไปอีกแล้วแต่แน่นอนครับตัวกระผม แว่น มหาชัย จะพยายามนำความรู้ที่ดีและถูกต้องเก็บมาบอกลอกมาเล่าท่านผู้อ่านในฉบับต่อไปอย่างแน่นอนครับสวัสดี

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น