ธ.ก.ส. พร้อมเดินหน้านโยบายรับจำนำข้าว
และพักชำระหนี้ต่ำกว่า 5 แสนให้เกษตรกร 3 ปี
ธ.ก.ส. พร้อมควัก 90,000 ล้านบาท และกู้อีก 320,000 ล้านบาท เดินหน้านโยบายรับจำนำข้าวเปลือก และพักชำระหนี้ครัวเรือนที่มีหนี้ค้างต่ำกว่า 5 แสนบาท 3 ปี ควบคู่กับการฟื้นฟูอาชีพ พร้อมทั้งจัดทำประกันชีวิตวงเงิน 100,000 บาทให้กำลังใจลูกค้าชั้นดี
นายสุภชัย งามสม ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลให้ ธ.ก.ส.ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ภายในวงเงิน 410,000 ล้านบาท นั้น ขณะนี้ ธ.ก.ส.
มีความพร้อมที่จะดำเนินโครงการโดยใช้เงินทุน ธ.ก.ส.สนับสนุนดำเนินงานตามโครงการไม่เกิน 90,000 ล้านบาท และกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างๆ ภายในวงเงิน 320,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
มีความพร้อมที่จะดำเนินโครงการโดยใช้เงินทุน ธ.ก.ส.สนับสนุนดำเนินงานตามโครงการไม่เกิน 90,000 ล้านบาท และกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างๆ ภายในวงเงิน 320,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
สำหรับกรอบแนวทางการดำเนินโครงการ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกแต่ละชนิด ณ ความชื้น 15% ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานีและข้าวเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้นและข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท และข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท ซึ่งจะปรับลดราคาตามชั้นคุณภาพหรือตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท โดยไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำและไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำ แต่ต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลงชื่อรับรองด้วย
ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2554 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2555 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 กรกฎาคม 2555 ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือนนับถัดจากเดือนที่รับจำนำ วิธีการรับจำนำจะรับเฉพาะใบประทวนโดยให้ อคส .และ อตก. รับสมัครโรงสีและตลาดกลางเข้าร่วมโครงการเป็นจุดรับฝากข้าวเปลือกและจ่ายใบประทวนให้เกษตรกร จากนั้นโรงสีที่รับข้าวเปลือกไว้จะสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสารส่งมอบโกดังกลางที่ อคส. หรือ อตก. กำหนดไว้ ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะจ่ายเงินให้กับเกษตรกรโดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของเกษตรกรแต่ละรายโดยตรง เพื่อป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์
ด้านแนวทางการบริหารและติดตามกำกับดูแลโครงการ ธ.ก.ส. ได้ตั้งคณะกรรมการ 3 คณะ ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานโครงการ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กลยุทธ์และแนวทางการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล 2.คณะกรรมการบริหารโครงการ ทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามนโยบาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์และแนวทางที่กำหนด และ 3.คณะกรรมการประสานงานและติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ ทำหน้าที่ติดตามกำกับดูแลการดำเนินงานตามโครงการในภาคสนาม ซึ่งจะมีชุดปฏิบัติการอีก 9 ชุดย่อย ประจำฝ่ายกิจการสาขาของ ธ.ก.ส. 9 ฝ่าย นอกจากนี้ คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ยังเห็นชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการติดตามกำกับและบริหารความเสี่ยงจากการดำเนินโครงการรับจำนำของ ธ.ก.ส. โดยมีกรรมการ ธ.ก.ส. 3 ท่าน เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการด้วย
ส่วนนโยบายพักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้มีหนี้เกิน 500,000 บาท ธ.ก.ส. พร้อมดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลเช่นกัน โดย ธ.ก.ส. จะพักชำระหนี้ให้แก่ลูกค้าโดยไม่ต้องชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลา 3 ปี
เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึง 30 กันยายน 2557 พร้อมกันนี้ ธ.ก.ส. ได้จัดทำโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรพักหนี้อย่างครบวงจร เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต และพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพ ให้มีความเข้มแข็งและมีรายได้ที่มั่นคง ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึง 30 กันยายน 2557 พร้อมกันนี้ ธ.ก.ส. ได้จัดทำโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรพักหนี้อย่างครบวงจร เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต และพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพ ให้มีความเข้มแข็งและมีรายได้ที่มั่นคง ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับเงื่อนไขผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นเกษตรกรที่มีปัญหาหนี้สินค้างชำระหรือหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เกิดจากเหตุสุจริตและจำเป็น หรือลูกค้าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีภาระหนี้ค้างรายละไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งขณะนี้มีจำนวน 639,589 ราย ต้นเงินกู้คงเป็นหนี้ 77,753.17 ล้านบาท โดยช่วงที่พักชำระหนี้ลูกค้าไม่มีสิทธิ์ขอกู้เงิน รวมทั้งจะได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ตามศักยภาพตลอดระยะเวลาการพักหนี้ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวตลอดระยะเวลา 3 ปี จำนวน 14,194.61 ล้านบาท ธ.ก.ส. จะนำเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในการอนุมัติค่าใช้จ่ายและวงเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนเกษตรกรต่อไป
นอกจากนี้ ธ.ก.ส. จะดำเนินโครงการสวัสดิการลดภาระหนี้ให้แก่ลูกค้าที่ดี ตามมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมลูกค้าชั้นดีของ ธ.ก.ส. โดยจัดทำประกันชีวิตให้แก่ลูกค้าชั้นดีที่มีหนี้ปกติ วงเงินประกันรายละไม่เกิน 100,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ค่าเบี้ยประกันรวมประมาณ 3,600 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2554 ทั้งนี้เพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่ลูกค้าที่ดีของ ธ.ก.ส. และแบ่งเบาภาระหนี้สินให้แก่ครอบครัวกรณีลูกค้าเสียชีวิต ซึ่งการดำเนินโครงการในปีแรกจะมีลูกค้าที่ได้รับการคุ้มครอง จำนวน 2.5 ล้านราย ค่าเบี้ยประกันปีแรกประมาณ 1,045 ล้านบาท ส่วนในปีต่อไปคาดว่าจะมีการเพิ่มของลูกค้าในโครงการเฉลี่ยร้อยละ 5
สำหรับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร นายสุภชัย งามสม กล่าวว่ามีเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.ที่จะเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ประมาณ 1,898ราย ยอดเงินค้างชำระ 123,541,838 บาท และเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการจำนำข้าวประมาณ 520 ราย เป็นลูกค้าในเขตอำเภอเมือง 23 ราย อำเภอบ้านแพ้ว 305 ราย อำเภอกระทุ่มแบน 195 ราย
ธ.ก.ส. ทุ่มงบ 1,008 ล้าน เฟ้นหาบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบบัตรเครดิต หวังเปิดให้บริการแก่เกษตรกรได้ ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ วางเป้าหมายลูกค้า 3 ล้านราย วงเงินสินเชื่อปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท พร้อมประสานงานร้านค้าจัดกิจกรรมมอบสิทธิประโยชน์พิเศษให้กับเกษตรกรผู้ถือบัตร
นายสุภชัย งามสม ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดสมุทรสาครเปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดทำบัตรเครดิตเกษตรกรว่า คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ได้มีมติให้ดำเนินการเช่าเหมาบริการระบบงานบัตรเครดิต โดยให้ผู้บริการเป็นผู้ออกแบบระบบพร้อมจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ ให้ ธ.ก.ส. เช่า เป็นระยะเวลา 3 ปี วงเงินงบประมาณจำนวน 1,008 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเช่าระบบ 648 ล้านบาท และค่าจัดทำบัตรจำนวน 3 ล้านใบ วงเงิน 360 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการ เน้นกระบวนการที่ชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้ได้ผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ มีระบบเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความต้องการ รวมถึงสามารถรองรับการขยายตัวของธุรกิจธนาคารในอนาคต สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกครั้งนี้กำหนดแนวทางพิจารณาจากด้านเทคนิค มีการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในด้านต่างๆ ซึ่งผู้ที่ได้รับการคัดเลือกต้องมีคะแนนทุกข้อรวมกันไม่ต่ำกว่า 80 คะแนน จึงจะผ่านเกณฑ์และได้รับการพิจารณาข้อเสนอด้านราคา จากนั้นจะพิจารณาคัดเลือกจากผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในวันที่ 29 กันยายนนี้ เพื่อดำเนินการจัดทำระบบ ให้สามารถออกบัตรเครดิตเกษตรกรได้ ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน นี้
นายสุภชัย งามสม กล่าวต่อไปว่า เทคโนโลยีของบัตรเครดิตเกษตรกรจะเป็นแบบ Smart Card เพื่อความปลอดภัย โดยมีการเก็บข้อมูลที่ใช้พิสูจน์ตัวลูกค้าไว้ในบัตรและสามารถรองรับการขยายผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ส่วนในด้านระบบจะครอบคลุมในด้านการบริหารจัดการบัตร เช่น ระบบทะเบียนสมาชิก ระบบการจัดทำบัตรเครดิต ด้านการบริหารจัดการร้านค้าคู่สัญญา เช่น ระบบทะเบียนร้านค้า ระบบบริหารค่าธรรมเนียม ระบบบริหารจัดการรหัส ระบบการจัดการเครื่อง EDC ด้านการบริหารจัดการวงเงินบัตรเครดิต เช่น การควบคุมไม่ให้ใช้เกินวงเงิน การเพิ่ม-ลดวงเงินตามเงื่อนไข และด้านการบริหารจัดการลูกหนี้และการชำระหนี้ เช่น ระบบการเตือนหนี้ เป็นต้น บัตรเครดิตเกษตรกร ธ.ก.ส. ในระยะเริ่มแรก จะจำกัดการใช้เฉพาะการชำระค่าปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรซื้อจากสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.(สกต.) และร้านค้าเครือข่าย จำนวนกว่า 3,000 ร้านค้า และเพิ่มเป็น 5,000 ร้านค้า ในปีต่อๆไป และในโอกาสต่อไปจะขยายวัตถุประสงค์ให้สามารถกดเงินสดและชำระค่าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค ตลอดจนขยายธุรกิจให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและมีบริการที่ทัดเทียมกับผู้ให้บริการรายอื่น
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นของการเปิดให้บริการบัตรเครดิตเกษตรกร ธ.ก.ส. ได้กำหนดเงื่อนไขพร้อมจัดทำสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น กำหนดวงเงินกู้ในบัตรไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าผลผลิตส่วนเหลือเพื่อขายของเกษตรกรผู้กู้แต่ละราย อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 7) หรือ 0 % กรณีรัฐบาลอุดหนุน ฟรีค่าทำบัตร ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี ปลอดดอกเบี้ย 30 วัน ฟรีประกันชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท กำหนดวงเงินกู้ฉุกเฉินให้รายละไม่เกิน 10,000 บาท และได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษกรณีฝากเงิน นอกจากนี้ยังประสานงานกับร้านค้าที่เป็นเครือข่ายจัดทำโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์กับผู้ถือบัตร เช่น ส่วนลดค่าสินค้า การสะสมแต้มเพื่อรับของสมนาคุณ เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่าในปีแรกจะมีปริมาณการใช้สินเชื่อผ่านบัตรเครดิตประมาณ 20,000 ล้านบาท ปีที่ 2 ประมาณ 44,600 ล้านบาท และปีที่ 3 ประมาณ 70,000 ล้านบาท โดยในการแถลงข่าวครั้งนี้ทางสื่อมวลสมุทรสาครให้ความสนใจเข้าร่วมฟังอย่างมากมายเพื่อประชาชนเราพร้อมตีแผ่ให้ประชาชนได้รู้และทราบนายชัยพร ศิริพงษ์เวคินนายกสมาคมผู้สื่อข่าวสมุทรสาครกล่าว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น