กิจกรรมสื่อมวลชนเยี่ยมชมหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว... โดยกรมการพัฒนาการชุมชน ในเส้นทางที่6 อันดามัน"สตูล ตรัง กระบี่ ภูเก็ต" สัมผัสบรรยากาศท่องเที่ยววิถีชุมชน วันที่ 26 ต.ค.61 ร่วมกิจกรรม
หมู่บ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จ.ภูเก็ต นั่งสามล้อไปจุดชมเครื่องบินแลนดิ้ง
ชมผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน กิจกรรมสปาทราย ชมการสาธิตวิธีจับจั๊กจั่นทะเล
ชมการสาธิตการทำขนมปังบี่ไท่บัก ร่วมกิจกรรม ณ หมู่บ้านหัวควน
รับชมวิดีทัศน์จากผู้นำชุมชน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ร่วมกิจกรรมแปรรูปส้มควาย
ชมการสาธิตการทำขนมพื้นบ้าน ขนมท่อนใต้ ขนมต้มยอดมะพร้าว การทำปาเต๊ะ
ทำผ้ามัดย้อม หัตกรรมพื้นบ้าน สาธิตการทำปลาดุกร้า
ประวัติของหมู่บ้านไม้ขาว เล่าว่าเมื่อประมาณ 1,000 กว่าปีก่อน ชาวบ้านเรือนที่อยู่ที่ตีนเขาเรียกว่า “บ้านใน” ซึ่งมีบ้านเรือนมากพอสมควร (ใกล้กับบ้านบ่อสอม ในปัจจุบัน) สมัยนั้นยังไม่มีการปลูกยางพาราและการปลูกสับปะรดแดง ต่อมาชาวบ้านเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น จึงเชื่อกันว่าสาเหตุที่เจ็บไข้นั้นเพราะเงาของภูเขามาบังทับบ้านเรือน จึงพากันย้ายมาอยู่บริเวณชายทะเลฝั่งตะวันตกของทะเลอันดามัน เรียกว่าบ้านหัวนอน และ บ้านใต้ตีน พื้นที่มีลักษณะเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีคนจีนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว 5-6 ครัวเรือน หลังจากนั้นมีการขยายบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น และในป่าทึบดังกล่าวนี้เองมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง มีลักษณะสีขาวโพลนทั้งต้น ชาวบ้านจึงตั้งซื้อหมู่บ้านนี้ “หมู่บ้านไม้ขาว” เมื่อครั้งที่ยังไม่มีสะพานสารสิน เมื่อเรือวิ่งข้ามฝั่งเข้ามาจะมองเห็นต้นไม้สีขาวโดดเด่นมาก
ทำผ้ามัดย้อม หัตกรรมพื้นบ้าน สาธิตการทำปลาดุกร้า
ประวัติของหมู่บ้านไม้ขาว เล่าว่าเมื่อประมาณ 1,000 กว่าปีก่อน ชาวบ้านเรือนที่อยู่ที่ตีนเขาเรียกว่า “บ้านใน” ซึ่งมีบ้านเรือนมากพอสมควร (ใกล้กับบ้านบ่อสอม ในปัจจุบัน) สมัยนั้นยังไม่มีการปลูกยางพาราและการปลูกสับปะรดแดง ต่อมาชาวบ้านเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น จึงเชื่อกันว่าสาเหตุที่เจ็บไข้นั้นเพราะเงาของภูเขามาบังทับบ้านเรือน จึงพากันย้ายมาอยู่บริเวณชายทะเลฝั่งตะวันตกของทะเลอันดามัน เรียกว่าบ้านหัวนอน และ บ้านใต้ตีน พื้นที่มีลักษณะเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีคนจีนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว 5-6 ครัวเรือน หลังจากนั้นมีการขยายบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น และในป่าทึบดังกล่าวนี้เองมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง มีลักษณะสีขาวโพลนทั้งต้น ชาวบ้านจึงตั้งซื้อหมู่บ้านนี้ “หมู่บ้านไม้ขาว” เมื่อครั้งที่ยังไม่มีสะพานสารสิน เมื่อเรือวิ่งข้ามฝั่งเข้ามาจะมองเห็นต้นไม้สีขาวโดดเด่นมาก
หมู่บ้านหัวควน ต.กมลา อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต อีกหมู่บ้าน OTOP Village เพื่อการท่องเที่ยว
อีกแห่งหนึ่งที่มีกลิ่นไอของความเป็นพื้นที่บริสุทธิ์
เนื่องจากเส้นทางที่เดินทางมายังหมู่บ้านเป็นที่เชื่อมโยงระหว่างบ้านบางคูกับบ้านหัวควน
จะต้องขึ้นเนินสูงมีลักษณะเป็นควน คำว่าควนในภาษาปักษ์ใต้หมายถึงเนิน ชันมาก
จึงเรียกว่า บ้านหัวควน มีต้นยางใหญ่
อยู่ตรงจุดหัวควน จึงเรียกว่า ควนต้นยาง
คนกลุ่มแรกที่เข้ามา คือ โต๊ะกอหมาด เป็นชาวไทยมุสลิม
เดิมอาศัยที่เกาะปีนัง ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ที่ภูเก็ต ทิศเหนือติดหมู่ 5
บ้านเกาะแก้ว ทิศใต้ติดบ้านบางคู ทิศตะวันออกจดทะเลอันดามัน ทิศตะวันตกติดภูเขาเจ๊ะตา
ภูมิประเทศเป็นสวนยาง
ในปัจจุบันกลายเป็นถนนหนทางและที่พักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวน
นับถือนับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้
มีหน่วยงานบำรุงทางแขวงการทางภูเก็ต โรงเรียนมุสลิมวิทยา มีพื้นที่ใกล้เคียง ทิศเหนือมีภูเก็ตแฟนตาซี
ทิศตะวันออกและใต้เป็นควนเขากมลา ทิศตะวันตกติดบ้านบางหวาน
ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนา เนินเขา สวนทุเรียนและสวนยางพารา
กิจกรรมเด่น ชมการทำ “ ส้มควาย ” ซึ่งเป็นผลไม้รสเปรี้ยว ตระกูลเดียวกับ “ ส้มแขก ” เป็นพืชสมุนไพร พบได้แพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากชาวบ้านนิยมปลูกส้มควายเป็นไม้ผลประจำบ้าน ต้นส้มควายภูเก็ต มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือขนาดผลใหญ่เนื้อมาก ชาวบ้านนิยมนำมาปรุงอาหารสารพัดเมนู ทั้ง แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา
ภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยโบราณ นำส้มควายมาตากแห้ง และบดเป็นผงก่อนนำมาผสมกับน้ำร้อน เพื่อแช่เท้า ลดอาการปวดเมื่อย อาการเท้าบวม และช่วยระงับกลิ่นเท้าได้เป็นอย่างดี ยุคปัจจุบัน ผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า “ ส้มควาย ” เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยในการระบาย และมีกรดผลไม้ ประเภทสาร AHA ช่วยบำรุงผิวพรรณให้กระจ่างใส จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภค อุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง เพราะส้มควายเป็นพืชสมุนไพรที่ไม่มีสารตกค้างในร่างกาย
เชคอิน แชะ ชม ชิม ช้อป แชร์..ไป.แล้วจะ..รัก..สมความตั้งใจจริงๆ
**************
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น