รู้กันหรือยังว่า ประเทศไทยเรามียอดคนตายด้วยอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดในโลก
คือ 18,000 คนต่อปี
หรือวันละ 50 คน ไม่นับที่บาดเจ็บและพิการ
ยังมีประเด็นที่น่าสลดหนักกว่านั้นอีก คือ มีเด็กและเยาวชนตายเฉลี่ยปีละ
2,510 คน เป็นวัยรุ่นอายุระหว่าง
15-25 ปีตายมากที่สุดด้วย
งานนี้ร้อนถึง คุณหมอแท้จริง ศิริพานิช เลขาฯ มูลนิธิเมาไม่ขับ
และอาจารย์พูลพร แสงบางปลา ประธานสาขายานยนต์ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ออกมารณรงค์ให้คนทั้งประเทศลุกขึ้นมาตระหนักถึงปัญหาที่หนักหน่วงนี้เสียที
ที่ผ่านมานโยบาย 7 วันอันตรายนี้ถือว่า น้อยไปแล้ว เนื่องจากทุกวันนี้ 365 วันอันตรายหมด" ก็คิดดูแล้วกัน คนไทยตายบนท้องถนนเฉลี่ยวันละ 50
คน หรือปีละเกือบ 20,000 คน สูงว่าเครื่องบินตก
สูงกว่าสงครามกลางเมืองทั่วโลกร่วมกันอีกเสียด้วยซ้ำ
เป็นสงครามกลางถนนที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศนี้ยังมองไม่เห็น
และไร้การเหลี่ยวแลอย่างสิ้นเชิง
กลับมาที่อาจารย์พูลพร ซึ่งท่านได้ทำจดหมายถึงอธิการบดีทุกมหาวิทยาลัย
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคทั่วประเทศ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมทั้งหลายทั้งปวง และผู้จัดการโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ขอให้ช่วยกันรณรงค์ดังนี้ โดยแยกไว้เป็นข้อ
ๆ ดังนี้
๑.ดูแลบุคลากรที่ขับขี่จักรยานยนต์ในหน่วยงานให้ถูกกฎหมายและกฎจราจร เมาไม่ขับ ต้องสวมใส่หมวกกันน็อกที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม ไม่ขับขี่รถสวนทาง รวมถึงต้องมีใบอนุญาตขับขี่
๒.บำรุงรักษาให้ปลอดภัยในการใช้งาน ต้องมีไฟหน้า ไฟท้าย รวมทั้งของที่วางในตะกร้าหน้ารถต้องไม่บังไฟ
๓.ควบคุมความเร็วของรถให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
๔.ตรวจสอบสภาพถนนและขับขี่อย่างระมัดระวัง
๕.ตั้งชมรมขี่จักรยานยนต์ในองค์กรของท่าน เพื่อทำหน้าที่รณรงค์และดูแลให้ลดอุบัติเหตุในหน่วยงานของท่าน รวมทั้งเก็บข้อมูลอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์ด้วย
๖.ทางสมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ยินดีส่งวิทยากรไปให้ความรู้ การขับขี่ที่ถูกต้องและปลอดภัย
คุณหมอแท้จริงบอกว่าคนไทยขาดวินัย และเจ้าหน้าที่ไม่บังคับใช้กฎหมาย เราจึงตกอยู่ในสภาพที่คนตายเกลื่อนถนนอย่างที่เป็นอยู่ แม้จะมีการรณรงค์ "7 วันอันตราย" มาหลายปี แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้น เพราะทั้งรัฐบาลและเอกชนสนใจแต่เพียง "เทศกาล" ต่างๆ ที่มีคนตายมากกว่าปกติเท่านั้น
๑.ดูแลบุคลากรที่ขับขี่จักรยานยนต์ในหน่วยงานให้ถูกกฎหมายและกฎจราจร เมาไม่ขับ ต้องสวมใส่หมวกกันน็อกที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม ไม่ขับขี่รถสวนทาง รวมถึงต้องมีใบอนุญาตขับขี่
๒.บำรุงรักษาให้ปลอดภัยในการใช้งาน ต้องมีไฟหน้า ไฟท้าย รวมทั้งของที่วางในตะกร้าหน้ารถต้องไม่บังไฟ
๓.ควบคุมความเร็วของรถให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
๔.ตรวจสอบสภาพถนนและขับขี่อย่างระมัดระวัง
๕.ตั้งชมรมขี่จักรยานยนต์ในองค์กรของท่าน เพื่อทำหน้าที่รณรงค์และดูแลให้ลดอุบัติเหตุในหน่วยงานของท่าน รวมทั้งเก็บข้อมูลอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์ด้วย
๖.ทางสมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ยินดีส่งวิทยากรไปให้ความรู้ การขับขี่ที่ถูกต้องและปลอดภัย
คุณหมอแท้จริงบอกว่าคนไทยขาดวินัย และเจ้าหน้าที่ไม่บังคับใช้กฎหมาย เราจึงตกอยู่ในสภาพที่คนตายเกลื่อนถนนอย่างที่เป็นอยู่ แม้จะมีการรณรงค์ "7 วันอันตราย" มาหลายปี แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้น เพราะทั้งรัฐบาลและเอกชนสนใจแต่เพียง "เทศกาล" ต่างๆ ที่มีคนตายมากกว่าปกติเท่านั้น
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า มีเรื่องเล่ากันว่า ที่ประเทศญี่ปุ่น
ประชาชนมีวินัยในการขับขี่มาก
ถ้าดื่มเหล้าแล้วจะอยู่กับบ้านหรือกลับแท็กซี่อะไรประมาณนั้น
ไม่เหมือนคนไทยที่ดื่มกันเต็มอัตรา เมาได้ที่ก็คว้ากุญแจขับรถกลับบ้านเฉยเป็นเรื่องปกติ
เก่งหน่อยก็ประคองสติถึงบ้าน
ส่วนที่เมาปริบก็ไปเละกันกลางถนน
ต่อมาเมื่อคนญี่ปุ่นมาทำงานในเมืองไทย ถูกตำรวจจับ ก็สารภาพผิดว่า
ปกติอยู่ญี่ปุ่นก็ไม่ได้เหลวไหลอะไรอย่างนี้ แต่พอมาอยู่เมืองไทย
เห็นเพื่อนร่วมงานคนไทย เมาแล้วขับรถกลับบ้านกันเป็นปกติ
ตนเองก็เลยเคลิ้มตามไปด้วย เรียกว่า ถูกกลืนกินไปกับกระแสไทยแลนด์
โอนลี่ เข้าทำนองเข้าเมืองตาหลิ่ว
ก็ต้องหลิ่วตาตาม ดื่มเสร็จ
ขับรถกลับบ้านเหมือนคนไทยไปเสียฉิบ
พาลทะเลฟันธงไว้ตรงนี้เลยดีกว่า ว่า
สิ่งที่ทำให้คนไทยตายบนท้องถนนมาก นอกเหนือจาก เหล้า ความไร้วินัยแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่
เรามีแต่ไม่แสดงออกมา
คือ ความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง
ใช่ครับ
คนไทยไร้น้ำใจกันบนท้องถนน
แต่เรากลับไปแสดงน้ำใจกันบนโต๊ะ ใต้โต๊ะ และรอบ ๆ โต๊ะ .. เข้าใจนะครับหมายถึงอะไร
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น