เจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ลงตรวจที่เก็บกองขยะอิเล็กทรอนิกส์ในตำบลนาโคก
หลังจากที่ผู้ใหญ่บ้านเจ้าของพื้นที่พบว่ามีการเตรียมเคลื่อนย้ายออกจากที่เก็บเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 ตุลาคม ทางเจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ได้ลงตรวจสถานที่เก็บกองขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่หมู่ 2
ตำบลนาโคก
พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร
ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองสมุทรสาคร รองปลัด อบต.นาโคก กำนันตำบลนาโคก ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบลนาโคก
ซึ่งการตรวจครั้งนี้เป็นการตรวจครั้งที่
2 ซึ่งครั้งแรกได้ตรวจไปเมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา
และได้มีการขอความร่วมมือกันแบบปากเปล่าว่าอย่าเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่
เพราะต้องรอการตรวจพิสูจน์ก่อนว่าขยะพวกนี้เข้าข่ายขยะอันตรายหรือไม่ และหลังจากนั้น ทางผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบลนาโคก
พบว่ามีการเตรียมลำเลียงถุงบิ๊กแบ๊กบรรจุวัตถุเหล่านี้ออกนอกพื้นที่
จึงขอระงับไว้เพื่อการตรวจสอบก่อน
สำหรับการตรวจในครั้งนี้
ทางเจ้าหน้าที่ของกรมโรงงานได้มีการเดินตรวจสอบวัตถุจากถุงต่างๆ
โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเศษที่บดละเอียดมาแล้ว มีทั้งชิ้นส่วนพลาสติก และแผงวงจร
บางถุงพบชิ้นส่วนแบตเตอรี่
ส่วนทางฝ่ายเจ้าของพื้นที่ ซึ่งบอกว่าเป็นชื่อของนายเหลียง ชาวจีน
มาเป็นผู้เช่าต่อจากเจ้าของรายเดิม
(โดยเจ้าของรายเดิมประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการทำสแตนเลศ เจ้าของเป็นตนไทย) ตอนนี้มีการทำสัญญาเช่าแล้ว แต่ยังไม่มีการขออนุญาตประกอบกิจการแต่อย่างใด
และจากการตรวจสอบบัตรประจำตัวคนต่างชาติก็พบว่า
เป็นวีซ่าท่องเที่ยวที่จะหมดอายุวันที่ 8
พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ซึ่งถือว่าเป็นความผิด เพราะไม่ได้ขออนุญาตเข้ามาเพื่อทำงาน
แต่อย่างไรก็ต้องตรวจสอบไปยัง ตม.ว่ามีการขอเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และจากการสอบถามถึงที่มาของวัตถุเหล่านี้
นายเทพ ยิ้มพาย ผู้ทำหน้าที่ช่วยประสานเรื่องต่างๆของสถานที่แห่งนี้ และนายบูรพา
ทิมแจ ซึ่งเป็นผู้ดูแลสถานที่ ชี้แจงว่า มีการรับมาจากผู้ที่นำมาส่งหลายคน
ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นใครบ้างและเอาจากที่ไหน บอกว่าเป็นการซื้อแบบไม่มีลายลักษณ์อักษร
เหมือนการซื้อขายแบบชาวบ้านทั่วไป
และบอกว่าทำไปโดยไม่รู้ว่าที่ถูกต้องต้องทำอย่างไร ส่วนนายเหลียง ชาวจีน
ผู้เช่ากิจการ ซึ่งได้อธิบายผ่านล่าม บอกว่า
ส่วนใหญ่วัตถุนั้นจะมาจากจังหวัดระยองและชลบุรี
ซึ่งคนที่นำมาส่งเหมือนกับเป็นพ่อค้าคนกลางอีกที แต่ยืนยันว่าไม่ได้นำเข้ามาจากต่างประเทศ
และจะนำเอกสารการซื้อขายเท่าที่มีมายืนยันกับเจ้าหน้าที่ภายในสิ้นเดือนนี้
ส่วนการดำเนินการกับวัตถุเหล่านี้
ทางเจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานให้ทางเจ้าของแบ่งการเก็บกองระหว่างเศษพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกออกจากกัน
และให้ใช้พลาสติกคลุมป้องกันการชะล้างปนเปื้อน
และห้ามไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายเข้าและออก จนกว่าจะทราบผลการตรวจพิสูจน์
ส่วนสถานที่แห่งนี้จะสามารถขอเปิดดำเนินการแบบถูกต้องได้หรือไม่ ก็ต้องรอหลักฐาน
ว่าวัตถุเหล่านี้เป็นขยะอันตรายหรือไม่ นำเข้ามาจากที่ใด และจะขออนุญาตทำในรูปแบบใดด้วย
และจากการสำรวจภายในสถานที่พบว่ามีการก่อสร้างอ่างร่อนกากขยะเหล่านี้แล้ว
แต่การตรวจครั้งแรกนั้นยังสร้างไม่เสร็จ โดยมีทั้งหมดราว 4 เครื่อง
และจากการสังเกตพบว่ามีชิ้นส่วนพลาสติกยังกองอยู่ที่เครื่อง
คล้ายว่ามีการคัดแยกแล้ว ซึ่งผู้ดูแลสถานที่บอกว่า มีการทดลองเปิดเครื่องอยู่บ้าง
ส่วนระบบบำบัดน้ำนั้น เท่าที่สังเกตยังไม่แล้วเสร็จ
มีการสูบน้ำจากบ่อด้านข้างมาใช้แล้วก็ปล่อยออก แต่ทางผู้ดูแลสถานที่บอกว่า
บ่อบำบัดจะอยู่อีกฝากฝั่งของโกดังนี้ เป็นระบบกรองน้ำแบบตู้ปลา
ส่วนแรงงานคนอื่นที่พบจากการตรวจครั้งแรก ไม่พบคนอื่น นอกจากนายเหลียง
ซึ่งครั้งนี้ บอกว่าตัวเองเป็นผู้มาเช่ากิจการต่อ
ซึ่งตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่ที่ลงตรวจได้ให้ผู้นำชุมชนช่วยกันเฝ้าระวังไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายออกและเข้า
จนกว่าจะมีการพิสูจน์เป็นที่เรียบร้อย
อย่างไรก็ตามก็ต้องขอฝากไปยังเจ้าหน้าที่ให้ช่วยตรวจสอบแหล่งที่มาที่ไปของวัตถุเหล่านี้ด้วยว่ามาจากที่ใดกันแน่
มีอันตรายหรือไม่ และที่สำคัญนำเข้ามาจากต่างประเทศหรือเปล่า
โดยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561 ดร.พสุ โลหารชุน
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แถลงข่าวถึงแนวทางการจัดการซากอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่
พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
ประธานที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2561 ได้มีข้อสั่งการ “ห้ามการนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติก” โดยกระทรวงอุตสาหกรรม
เตรียมยกร่างคำสั่ง ห้ามใช้วัตถุดิบ
ประเภทซากอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยอาศัยอำนาจ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 32 (2) ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศ หรือสาธารณชน
ส่วนกรณีของการนำเข้าเศษพลาสติกนั้นอยู่ภายใต้
พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ของกระทรวงพาณิชย์ แต่ได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)
ดำเนินการออกใบอนุญาตนำเข้า
ในส่วนนี้ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมก็จะใช้วิธีการออกคำสั่งกรมฯ
ระงับการพิจารณาการออกใบอนุญาตให้ผู้นำเข้า
โดยที่ผ่านมา
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินมาตรการเร่งด่วน ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ
ไปแล้วมี 3 แนวทาง คือ 1.
ระงับการอนุญาตนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์ของโรงงานที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามอนุสัญญาบาเซลจำนวน
5 ราย เวลา 1 ปี ซึ่งเป็นโทษสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด
2. ผลักดันให้นำซากอิเล็กทรอนิกส์ส่งกลับโรงงานต้นทาง และ 3.
กรณีนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกส่งต่อไปยังโรงงานที่ไม่ถูกต้องตามใบอนุญาต
กรณีนี้หากตรวจพบให้ส่งกลับโรงงานที่ได้รับอนุญาต
รวมทั้งสั่งให้ผู้ประกอบการติดตั้งระบบ GPS และจัดส่งบันทึกเส้นทางการเดินรถ
ตั้งแต่ต้นทางจนถึงบริษัทผู้นำเข้า
เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งระหว่างทางขนส่งอย่างเข้มงวด
รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้เป็นไปตามข้อสั่งการของคณะกรรมการต่อไป”
ส่วนทางนายมงคล พฤกษ์วัฒนา
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า
การสั่งห้ามนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกครั้งนี้เป็นมาตรการถาวร
ตามนโยบายรัฐบาลครั้งนี้มี 2
ส่วน คือ ในส่วนของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ก็จะออกประกาศระงับการพิจารณาขอใบอนุญาตนำเข้า ทั้งซากอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติก
ส่วนที่ 2 เป็นประกาศกระทรวง ห้ามใช้วัตถุดิบ
ซากอิเล็กทรอนิกส์ และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น