เมื่อ 28 ก.ค. เวลา 21:00 น. ที่กระทรวงมหาดไทย นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่พยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิ ยมวิทยาแจ้งว่าได้เกิดหย่ อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่ อนกำลังลงจาก พายุดีเปรสชัน “เซินกา” (SONCA) ปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือของประเทศไทย คาดว่าหย่อมความกดอากาศต่ำนี้ จะปกคลุมบริเวณดังกล่าวอย่างต่ อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่จั งหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนื อตอนบนหลายจังหวัด สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรั พย์สินของพี่น้องประชาชนเป็ นจำนวนมาก
กระทรวงมหาดไทย ได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยดั งกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง พบว่ามีบางพื้นที่ไม่สามารถเคลื่ อนย้ายประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ ยงภัยได้ทัน ทำให้เกิดความเสียหายมากกว่ าปกติ ดังนั้น กระทรวงมหาดไทย จึงสั่งการให้ทุกจังหวัดที่ ประสบอุทกภัยเร่งทบทวนและปรั บปรุงระบบการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัย 4 มาตรการ ดังนี้
1. ขอให้จังหวัดที่อยู่ในแนวร่ องอากาศแปรปรวนพัดผ่าน เช่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนื อและภาคเหนือ จะต้องกำหนดเจ้าหน้าที่ที่มีหน้ าที่ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุ นิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกั บการรายงานสภาพอากาศอย่างใกล้ชิ ดต่อเนื่อง และนำระบบสารสนเทศ (IT) ที่สามารถติดตามข้อมูลต่าง ๆได้อย่างแม่นยำถูกต้อง มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่ อประชาชนในพื้นที่ให้ได้ด้วย
2. ขอให้จังหวัดนำข้อมูลสภาพภูมิ ประเทศและภูมิสังคมของพื้นที่ จริงมาประเมินหรือคาดการณ์ว่า ถ้ามีฝนตกหนักปริมาณเท่าใดจะสร้ างความเสียหายให้พื้นที่ใดบ้าง รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงจะต้ องติดตามว่าปริมาณน้ำจะไหลหรื อระบายมาถึงพื้นที่ตนเองเมื่อไร และให้คาดคะเนปริมาณน้ำไว้ด้ วยว่า หากมีน้ำท่วมนั้น ปริมาณน้ำจะสูงขึ้นและมีปริ มาณน้ำขยายไปถึงพื้นที่ใดบ้าง เพื่อกำหนดแผนอพยพประชาชนไปอยู่ ในพื้นที่ปลอดภัยได้ถูกต้ องรวดเร็ว
3.ให้จังหวัดกำหนดแนวทางแจ้ งเตือนหรือช่องทางในการประชาสั มพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้ าใจให้ประชาชนทราบไว้หลาย ๆช่องทาง รวมทั้งกำหนดแนวทางและวิธี การให้กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่นในพื้นที่ เป็นหน่วยปฏิบัติการเฝ้าระวังติ ดตามสภาพอุทกภัยหรือสาธารณภั ยประจำพื้นที่ และรับผิดชอบดูแลการแจ้งเตื อนประชาชนแบบเข้าถึงพื้นที่ระดั บครัวเรือนไว้ด้วย พร้อมทั้ งหามาตรการและแนวทางการแก้ไขปั ญหาสำรองหรือแผน 2 เพื่อเตรียมพร้อมกรณีแผนหรื อมาตรการตามแผนปฏิบัติการฉบั บแรกไม่สามารถปฏิบัติได้ด้ วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่าที่ คาดการณ์ หรือเกิดอุบัติเหตุที่กักเก็บน้ำ พังลงมาทำให้มีปริมาณน้ำ สะสมมาเพิ่มขึ้น เป็นต้น
4.ให้จังหวัดนำแนวทางแก้ไขปั ญหาและป้องกันสาธารณภั ยของกระทรวงมหาดไทยที่ได้แจ้ งไปแล้วหลายครั้งมาทบทวนและซั กซ้อม/ทดลองปฏิบัติเพื่อหาข้ อบกพร่องหรือจุดอ่อนในการปฏิบั ติไว้ล่วงหน้าด้วย
สุดท้าย ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยมีความห่วงใยพี่ น้องประชาชนผู้ประสบอุทกภัย โดยเฉพาะผู้ที่ตกค้างในพื้นที่ วิกฤต จึงได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจั งหวัดเร่งลำเลียงน้ำดื่มขวด และอาหารจำพวกไข่ต้ม ไก่ทอด ข้าวเหนียว เพื่อง่ายต่อการขนส่ง และรับประทานเป็นการชั่ วคราวระหว่างรอการอพยพไปยังจุ ดปลอดภัย และหากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ใดยังไม่ได้รับการช่วยเหลื อจากทางราชการ กรุณาแจ้งมายังสายด่วนศูนย์ ดำรงธรรม 1567 หรือสายด่วนสาธารณภัย 1784 เพื่อชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่ เร็วเข้าช่วยเหลือต่อไป
และล่าสุดเมื่อเวลา 21:00 น. จากเรดาห์สกลนคร พบกลุ่มฝนยังคงปกคลุมภาคตะวั นออกเฉียงเหนือตอนบน โดยจะมีฝนตกชุกต่อเนื่องบริ เวณตอนบนของอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี ซึ่งคาดการณ์ว่าคืนนี้จะมี ฝนตกหลายชั่วโมง จึงขอให้พื้นที่ดังกล่าว เฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์ อย่างใกล้ชิดเพื่อแจ้งเตื อนประชาชนในพื้นที่โดยเร็ว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น