(จากซ้าย) ชุมพฤนท์ ยุระยง กิจธวัช ฤทธีราวี รศ.ดร. ธนพล วีราสา |
แอมเวย์ยืนยันธุรกิจแอมเวย์อนาคตสดใส ลงทุนทำวิจัยทั่วโลกเพื่อค้นหาแนวโน้มความต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจของผู้คน 45 ประเทศ ย้ำแนวคิดธุรกิจแอมเวย์สอดรับกับแนวโน้มของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะคนไทยที่มีศักยภาพสูงที่จะเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง เตรียมแผนรุกหนัก หวังเพิ่มจำนวนนักธุรกิจแอมเวย์ที่ประสบความสำเร็จให้โตเป็นสองเท่าใน 7 ปีข้างหน้า เดินไปตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อประสานความไฮเทค (High-tech) กับไฮทัช (High-touch) ในการอำนวยความสะดวกให้การทำธุรกิจแอมเวย์ง่ายขึ้น
คุณกิจธวัช ฤทธีราวี บจก.แอมเวย์ |
สองเท่าใน 7 ปีข้างหน้านี้
โดยระบุว่า แอมเวย์ยังได้ลงทุนครั้งใหญ่ทำวิจัยใน 45 ประเทศทั่วโลก เพื่อค้นหา ‘ความต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs’ ซึ่งผลสำรวจนี้สนับสนุนความคิดของเราได้เป็นอย่างดีว่า คนไทยมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นเจ้าของธุรกิจ ขณะเดียวกันยังเชื่อว่าตนเองมีศักยภาพมากพอที่จะเริ่มต้นธุรกิจ SMEs ได้สูงถึง 77% การวัดความพร้อมในการเริ่มต้นธุรกิจนั้น เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะที่แอมเวย์ได้พัฒนาขึ้นมา มีข้อกำหนด 3 มิติ ได้แก่ 1) ความต้องการที่จะเริ่มธุรกิจอย่างจริงจัง 2) ความพร้อมที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจ และ 3) ความอดทนต่อแรงกดดันในการเริ่มธุรกิจ
นอกจากนี้ สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เอื้อต่อการเริ่มต้นธุรกิจ รวมทั้งแนวโน้มมุมมองที่มีต่อการใช้ชีวิตและวิถีการทำงาน ทำให้ผู้คนมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว เพื่อได้ใช้ชีวิตในรูปแบบไลฟ์สไตล์ที่ตนเองต้องการ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทำให้ธุรกิจเครือข่ายเป็นอาชีพทางเลือกที่มีโอกาสเติบโตสูงมาก แอมเวย์จึงได้นำจุดเด่นนี้มาประกอบกับเทคโนโลยีที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเดินไปตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อประสานความไฮเทค (High-tech) กับไฮทัช (High-touch) ในการอำนวยความสะดวกให้การทำธุรกิจแอมเวย์ง่ายขึ้น และทำได้ทุกที่ทุกเวลา จึงเชื่อมั่นว่า ด้วยแนวทางนี้จะทำให้ธุรกิจแอมเวย์เติบโตตามที่ตั้งเป้าไว้
ผศ.ดร. ธนพล วีราสา อาจารย์ประจำสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “คนไทยและคนเอเชียมีความต้องการที่จะเริ่มทำธุรกิจสูงกว่านานาชาติ โดยมองว่าทัศนคติเชิงบวกในการเริ่มเป็นเจ้าของธุรกิจของคนไทยที่อายุน้อยกว่า 35 ปีหรือคนรุ่นใหม่นั้น น่าจะเกิดจากการยอมรับและปรับใช้นโยบายของรัฐบาล หรือไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งรัฐบาลต้องการกระตุ้นภาคอุตสาหกรรม โดยเน้นการลงทุนที่จะทำให้องค์กรมีการเติบโต สามารถสร้างประโยชน์ได้สูง ทั้งรัฐบาลยังมีนโยบายส่งเสริมอีกมาก เช่น เงินทุนสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพโดยธนาคารของรัฐ มีการให้ทุนจากองค์กรเอกชนต่างชาติ สิทธิประโยชน์ด้านภาษีกลุ่ม SMEs และโครงการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพประเทศไทย เป็นต้น”
“ผมว่าธุรกิจเครือข่ายเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าจับตามองเช่นกัน เนื่องจากผลวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าคนไทยมีความเชื่อในศักยภาพการเป็นเจ้าของธุรกิจค่อนข้างสูงกว่านานาชาติแล้ว คนไทยยังมีการนำโซเชียลเน็ทเวิร์คมาใช้ในชีวิต ประจำวันค่อนข้างมาก จึงทำให้ธุรกิจเครือข่ายที่อาศัยการติดต่อพุดคุยสามารถทำได้ในกลุ่มที่กว้างขวางยิ่งขึ้นและเร็วขึ้น รวมทั้งมีโอกาสเติบโตสูงตามแนวโน้มในอนาคต” ผศ.ดร. ธนพล กล่าว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น