เมื่อ 5ก.พ.60 นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้ออกประก าศกระทรวงมหาดไทย จำนวน 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 เพื่อผ่อนผันให้ผู้เสียหายและพย านในคดีค้ามนุษย์อยู่ในราชอาณาจั กรได้เป็นการชั่วคราว และได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ตามก ฎหมายได้ไม่เกิน 1 ปี และสามารถขอขยายได้อีกครั้งละไม่ เกิน 1 ปี โดยให้ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันต้ องจัดทำทะเบียนประวัติ และบัตรประจำตัวสำหรับคนไม่มีสั ญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยการทะเ บียนราษฎร และได้รับการให้ความช่วยเหลือด้ านมนุษยธรรม การดูแล คุ้มครอง อาทิเช่น การบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ และการขออนุญาตทำงาน เป็นต้น
กระทรวงมหาดไทยขอเรียนว่าเพื่อ ประโยชน์ในการคุ้มครองและช่วยเห ลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้เสียหายแ ละพยาน ในคดีค้ามนุษย์ และการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด กระทรวงมหาดไทยจึงได้อาศัยอำนาจ ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559 ที่ได้ให้ความเห็นชอบ เรื่อง การผ่อนผันให้ผู้เสียหายและพยาน ในคดีค้ามนุษย์อยู่ในราชอาณาจั กรเป็นการชั่วคราว และได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ตามก ฎหมายหลังสิ้นสุดคดี ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย จำนวน 2 ฉบับ คือ
1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็น พยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดี หรือระหว่างการดำเนินคดีกับผู้ก ระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป้อ งกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560
2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวก อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับผู้เสียหายจากการกระทำผิด ฐานค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560
โดยมีสาระสำคัญเพื่อผ่อนผันให้ผู้ เสียหายและพยานในคดีค้ามนุษย์ อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคร าวและทำงานได้ตามกฎหมายเป็นเวลา 2 ปี หลังคดีสิ้นสุด และให้รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุ ตรของคนต่างด้าวดังกล่าวด้วย โดยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณ าอนุญาตและกำหนดระยะเวลาให้คนต่ างด้าวผู้นั้นอยู่ในราชอาณาจั กรเพื่อการทำงานต่อไป และให้ไปรายงานตัวต่อนายทะเบียน อำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อจัดทำหรือปรับปรุงแก้ไขทะเ บียนประวัติและ บัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยกา รทะเบียนราษฎร พร้อมทั้งไปขอรับใบอนุญาตการทำง านกับนายจ้างต่อนายทะเบี ยนตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของต่ างด้าวตามเงื่อนไขที่ กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ เมื่อการอนุญาตครบกำหนด 2 ปี หากคนต่างด้าวดังกล่าวไม่มีพฤติ การณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือความมั่นคงของราชอาณาจักร หากประสงค์จะทำงานกับนายจ้างต่อ ไปอีกอาจขออยู่ในราชอาณาจักรได้ อีกคราวละ 1 ปี โดยการขออนุญาตให้ดำเนินการตามขั้ นตอนและวิธีการที่กำหนดในกฎกระท รวงฯ
ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า การคุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสีย หาย หรือพยานในคดีค้ามนุษย์ ถือเป็นอีกมาตรการสำคัญที่จะช่ว ยแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ตามนโยบายข องรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย โดยยึดหลักการปฏิบัติตามกฎหมายแ ละปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกั บมาตรฐานสากล คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยธรรม และลดปัจจัยเสี่ยงของการตกเป็นเ หยื่อในขบวนการค้ามนุษย์ในทุกๆ ด้าน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น