pearleus

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

คสช.สตช.ยกระดับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน

คสช.สตช.ยกระดับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานขีดเส้นตาย 26 ก.พ. 2560  นี้ทุกคนต้องมีใบอนุญาตประกอบอาชีพ รปภ. หากไม่มีใบอนุญาต จากผู้บังคับการตำรวจ จะ มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนบริษัทรักษาความปลอดภัยมีโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่สโมสรตำรวจถนนวิภาวดี-รังสิตเมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 20 ก.พ.60 พล.ต.อ.สุวิระ ทรงเมตตา ที่ปรึกษา สบ.10 เป็นประธานการประชุมและชี้แจ้งความเข้าใจให้กับผู้บังคับการตำรวจภูธรทั้ง 76 จังหวัด และเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 400 นาย ตาม พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 ตาม คำสั่ง คสช.ที่ 67/2559 ลงวันที่ 10 พ.ย. 2559 หากผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย และผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต่อไปนี้ให้ยื่นความประสงค์ขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนจังหวัด ณ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดในแต่ละพื้นที่ภายในวันที่ 26 ก.พ. 2560 นี้
พล.ต.อ.สุวิระ เปิดเผยว่าวันนี้ได้ประชุมและชี้แจ้งความเข้าใจให้กับผู้บังคับการตำรวจภูธรทั้ง 76 จังหวัด ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9  และเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 400 นาย มารับฟังชี้แจง อำนาจหน้าที่และแนวทางการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วประเทศเนื่องจากว่า พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 ต.ค.2558 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2559 ให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย และผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต่อไปนี้ให้ยื่นความประสงค์ขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนจังหวัด ณ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ในพื้นที่ของตน ภายในวันที่ 26 ก.พ. 2560 นี้ตามคำสั่งของ คสช.ที่ 67/2559 ลงวันที่ 10 พ.ย. 2559โดยมี พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการกำกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย ได้มอบหมายให้ผมทำหน้าที่หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนการบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยธุรกิจรักษาความปลอดภัย ดังนั้นในวันนี้จึงได้เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับผู้บังคำการตำรวจภูธรจังหวัดผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9 ที่จะต้องทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนจังหวัด และ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมามารับฟังชี้แจงอำนาจหน้าที่และแนวทางการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
พล.ต.อ.สุวิระ กล่าวต่อว่า เหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายคือธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน และส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมในปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยเป็นจำนวนมาก แต่มีมาตรฐานในการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน สมควรกำหนดมาตรฐานของธุรกิจรักษาความปลอดภัยและมาตรฐานของพนักงานรักษาความปลอดภัยเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานธุรกิจรักษาความปลอดภัยและเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานรักษาความปลอดภัยอันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการและช่วยเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยของสังคมจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ขีดเส้นตาย ต้องไปยื่นภายในวันที่ 26 ก.พ.2560 นี้ นับถอยหลัง 6 วันไปนี้ หากผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย และผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต่อไป ให้ยื่นความประสงค์ขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนจังหวัด หรือผู้บังคับการตำรวจภูธร ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9 ในพื้นที่ของตนเองภายในวันที่ 26 ก.พ. 2560 นี้
พล.ต.อ.สุวิระ กล่าวต่ออีกว่า หากพ้นกำหนดจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทเฉพาะกาลของ คำสั่ง คสช.ที่ 67/2559 ลงวันที่ 10 พ.ย. 2559 และมีบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 ดังนี้ ผู้ใดทำหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อบริษัทธุรกิจรักษาความปลอดภัย มาแจ้งลงทะเบียนแล้วทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็จะทราบว่าว่าภายในบริษัทแต่ละที่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกี่คนประวิติจะถูกจัดเก็บไว้ที่ สตช.หลังจากนั้นผู้ปฏิบัติหน้าที่ รปภ.จะต้องเข้ารับการฝึกอบรบ ที่ศูนย์ฝึกตำรวจตามภูธรต่างๆโดยมีครูฝึกเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ฝึกการฝึกอบรบก็เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นกฎหมายที่เกี่ยวการรักษาความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน การเขียนรายงาน การเตรียมพร้อมกรณีมีเหตุฉุกเฉิน การติดต่อสื่อสาร หลักการใช้กำลังหรือยุทธวิธีตำรวจ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การจัดการจราจร การฝึกภาคสนาม รวมทั้งทฤษฎีและปฏิบัติก็ 40 ชม.เมื่อฝึกจบแล้วทางกองบังคับการตำรวจภูธรจะเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้ท่านสามารถประกอบอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้ก็เหมือนกับใบขับขี่รถยนต์ที่ทุกคนต้องมีถึงจะขับรถได้ นอกจากนี้คุณก็สามารถไปสมัครงานเป็นเจ้าหน้าที่ รปภ.ที่ไหนก็ได้ และยังถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานนอกจากนี้ผู้ที่ทำหน้าที่ รปภ.ก็จะไม่กล้าที่จะก็เหตุที่ผิดกฎหมายอีกด้วย





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น